ศักยภาพและขีดความสามารถในการรองรับได้ของแหล่งท่องเที่ยวพุน้ำร้อน กลุ่มท่องเที่ยวอารยธรรมล้านนา
The Potential and Tourism Carrying Capacity in Hot Spring of Lanna Tourism Cluster
Keywords:
แหล่งท่องเที่ยวพุน้ำร้อน, อารยธรรมล้านนา, แหล่งท่องเที่ยว, ศักยภาพและขีดความสามารถAbstract
การวิจัยเรื่อง ศักยภาพการท่องเที่ยวและขีดความสามารถในการรองรับได้ของพื้นที่เชิงการท่องเที่ยวในแหล่งพุน้ำร้อนกลุ่มท่องเที่ยวอารยธรรมล้านนา มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาบริบททางการท่องเที่ยวของพุน้ำร้อนในกลุ่มท่องเที่ยวอารยธรรมล้านนา 2) เพื่อศึกษาศักยภาพและรูปแบบการบริหารจัดการพุน้ำร้อน 3) ศึกษาขีดความสามารถในการรองรับได้ของแหล่งท่องเที่ยวพุน้ำร้อน 4) เพื่อศึกษาและพัฒนารูปแบบกิจกรรมท่องเที่ยวสำหรับนักท่องเที่ยวร่วมกับชุมชนในพื้นที่พุน้ำร้อน และ 5) เพื่อขยายผลสู่ข้อเสนอแนะแผนแม่บทการพัฒนาแหล่งพุน้ำร้อนในระดับภูมิภาคภายใต้อัตลักษณ์อารยธรรมล้านนา 3 แห่ง คือ พุน้ำร้อนดอยสะเก็ด จังหวัดเชียงใหม่ พุน้ำร้อนโป่งปูเฟือง จังหวัดเชียงราย และพุน้ำร้อนเมืองแปง จังหวัดแม่ฮ่องสอน เป็นการวิจัยทั้งเชิงคุณภาพ โดยการใช้แบบสัมภาษณ์เชิงลึก ประชุมกลุ่มย่อย กับกลุ่มเป้าหมายผู้มีส่วนได้เสียจากการท่องเที่ยวในแหล่งพุน้ำร้อน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เชิงประเด็น (Content Analysys) เพื่อนำ เสนอข้อมูลด้วยการบรรยาย ผลการศึกษาพบว่า 1) แหล่งท่องเที่ยวพุน้ำร้อนมีศักยภาพด้านกายภาพที่แตกต่างกัน กล่าวคือ มีอัตราการไหลของน้ำร้อนต่อวัน และอุณหภูมิที่สามารถรองรับการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพเพื่อการอาบ แช่ได้ แต่ด้านศักยภาพทางการท่องเที่ยวขึ้นอยู่กับปัจจัยทางการท่องเที่ยว ด้านการเข้าถึงสิ่งอำนวยความสะดวกจุดสนใจทางการท่องเที่ยว และที่พัก ซึ่งพื้นที่ที่พบว่ามีศักยภาพครบ คือ พุน้ำร้อนดอยสะเก็ด 2) รูปแบบการบริหารจัดการการท่องเที่ยวในแหล่งพุน้ำร้อนควรอยู่ภายใต้การบริหารจัดการโดยชุมชน เช่น พุน้ำร้อนดอยสะเก็ด และโป่งปูเฟือง แต่ทั้งนี้จำเป็นต้องอยู่ภายใต้การปรึกษาจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต่าง ๆ เช่น องค์การบริหารส่วนตำบล เป็นต้น 3) จากศักยภาพของพุน้ำร้อนด้านปริมาตรน้ำ และกายภาพ พบว่า 3 แห่งมีขีดความสามารถในการรองรับได้ทางการท่องเที่ยวไม่เกินขีดความสามารถ คือ พุน้ำร้อนดอยสะเก็ดรองรับได้ 1,800 คน ในขณะที่การไหลของน้ำรองรับได้ 3,300 คน พุน้ำร้อนโป่งปูเฟืองรองรับได้ 30 คน ในขณะที่การไหลของน้ำรองรับได้ 2,457 คน และพุน้ำร้อนเมืองแปงรองรับได้ 60 คน ในขณะที่การไหลของน้ำรองรับได้ 39,544 คน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับปัจจัยและสิ่งอำนวยความสะดวกที่รองรับได้ของแต่ละพื้นที่ 4) ด้านกิจกรรมท่องเที่ยวในแต่ละแห่งจำเป็นต้องมี เน้นกิจกรรมเสริมตามบริบทแต่ละแหล่ง เช่นชม วิถีชีวิตชาวไทยลื้อที่ดอยสะเก็ด ชมสวนสมุนไพร และวิถีชนเผ่าที่โป่งปูเฟือง และเดินป่า ล่องแก่งที่เมืองแปง เป็นต้น 5) ผลการศึกษาด้านแนวทางการพัฒนาแผนแม่บทเพื่อการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ จำเป็นต้องเน้น 4 ประเด็นหลัก คือ 1) การบริหารจัดการแหล่งท่องเที่ยวภายใต้การมีส่วนร่วมของชุมชน 2) การสร้างกิจกรรมท่องเที่ยวจำเป็นต้องเกี่ยวข้องกับการใช้ประโยชน์ของทรัพยากรในพื้นที่ และสร้างความหลายหลายภายใต้ขีดความสามารถของทรัพยากรท่องเที่ยวในแต่ละแห่ง 3) การจัดสร้างเขตการใช้ประโยชน์ของพื้นที่จำเป็นต้องจัดทำภายใต้กรอบของพื้นที่ ความเปราะบางของพื้นที่ และ 4) การสร้างสิ่งก่อสร้างใด ๆ ในพื้นที่ จำเป็นต้องศึกษาด้านความเหมาะสม สอดคล้องกับภูมิสถาปัตย์ อัตลักษณ์และวัฒนธรรมของชุมชน จากผลการศึกษาการวิจัยเพื่อพัฒนาศักยภาพและขีดจำกัดความสามารถในการรองรับได้ของพื้นที่เชิงการท่องเที่ยวของพุน้ำร้อนกลุ่มท่องเที่ยวอารยธรรมล้านนา จะสามารถเป็นแหล่งตัวอย่างและแหล่งเรียนรู้สำหรับการเรียนการสอนในด้านการท่องเที่ยว การจัดการการท่องเที่ยว การท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ การท่องเที่ยวเชิงนิเวศ และการจัดการท่องเที่ยว โดยชุมชน ขีดจำกัดการรองรับได้ของพื้นที่เชิงการท่องเที่ยว รวมทั้งการวางแผนด้านกายภาพและทัศนียภาพและการท่องเที่ยวที่ยั่งยืนได้ The research to the potential and tourism carrying capacity in hot spring of Lanna tourism cluster aims were to: 1) study the tourism of hot spring in Lanna: 2) study the potential and patten of hot spring administration; 3) study the hot spring tourism carrying capacity; 4) study and create tourism activities in Lanna and 5) guidelines for policy imprementation for hot spring sites in the Northern Thailand. The study used qualitative techniques. The target group were, stakeholders in and off the sites by questionaires, in-depth interview and focus groups and survey observation. There were 3 hot spring sites: 1) Doi Saket hot spring. Chiang Mai; 2) Pong Poo Fuang hot spring, Chiang Rai and 3) Muang Paeng, Mae Hong Sorn. The data were analysed by content analysys. Then they were all explain as description. The results found that: 1) The potential of hot spring tourism in the 3 areas were difference from their physical attractions, hot spring temperatures and total amount of hot water per day for body treatment. However, the potential of hot spring sites depend on their tourism factors. One of the site was found that Doi Saket had potentially high in tourism destination. 2) The pattern of tourism administration had found that all 2 sites: Doi Saket and Pong Poo Fuang were success for tourism administration as they were in controlled of local community, except Muang Paeang. However, they all needed consultancy by organisers both inside and outside. 3) The study of the carrying capacity of the 3 areas, were one of the site, Doi Saket was faced with tourism carrying capacity of 1,800 people perday while the hot spring can produce the water for 3,330 people. For the Pong Poo Fuang site was found that tourism carrying capacity of 30 people perday while the hot spring can produce the water for 2,457 people. At the Muang Paeng showed tourism carrying capacity of 60 people perday while the hot spring can produce the water for 39,554 people. This capacity depends on their tourism facilities for visitors. 4) For the tourism activities related to hot spring tourism related to their community context. At Doi Saket shows their ethinic tourism. The Pong Poo Fuang focuses on their herbal yard and tribal groups. Whereas, the Muang Paeng bring trekking and rafting to join the hotspring activities. 5) The result of guidelines for hot spring tourism in Lanna had found that there were 4 components had to be focused on: 1) the management of the sites by local 2) the tourism activities should related to the use of hot spring resources and rethinking about biodiversity; 3) the zoning of land use had to be thinking about related resources and the effectiveness to local livelihoods in the site and 4) any construction for tourism in the site must think about landscaping, local culture and ethics. Morerover, the research could be examples of other tourism sites in hot spring in terms of tourism management, health tourism activities, landscaping and also the planning for sustainable tourismReferences
กรมทรัพยากรธรณี. (2562). พุน้ำร้อนในประเทศไทย สืบค้นเมื่อ 10 สิงหาคม 2562 จาก http://www.dmr.go.th/main.php?filename=hotthai
เทศบาลตำบลเวียงสรวย (2562). โป่งปูเฟือง สืบค้นเมื่อ 10 สิงหาคม 2562 จาก http://www.wiangsuai.com/data/page01.php
นิพล เชื้อเมืองพาน และคณะฯ (255). การพัฒนาศักยภาพแหล่งพุน้ำร้อนภาคตะวันตกของประเทศไทยเพื่อการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ รายงานวิจัย 2555
ปทิตตา ตันติเวชกุล (2546). การท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ. จุลสารการท่องเที่ยว. 22(1) มกราคม-มีนาคม: 30-41
ประชาคมอาเซียน (2563). การท่องเที่ยวกับประชาคมอาเซียน สืบค้นเมื่อ 27 มิถุนายน 2562 จาก http://www.thai-aec.com
พจนา สวนศรี (2546). คู่มือการจัดการการท่องเที่ยวโดยชุมชน, กรุงเทพฯ: โครงการท่องเที่ยวเพื่อชีวิตและธรรมชาติ
วิกิพีเดีย (2562). การดำรงวิถีชีวิตและวัฒนธรรม สืบค้นเมื่อ 27 มิถุนายน 2562 จาก http://th.wikipedia.org/wiki/
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช (2552). เอกสารการสอนชุดวิชาทรัพยากรท่องเที่ยวของไทย หน่วยที่ 1-8. นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
สำนักพัฒนาการท่องเที่ยว (2556). แหล่งพุน้ำร้อนธรรมชาติในแหล่งท่องเที่ยว สืบค้นเมื่อ 10 สิงหาคม 2562 จาก http://61.19.236.142/hotspring/index.php
สำนักอุทยานแห่งชาติ. (2551). แนวทางการพัฒนาชุมชนเพื่อรองรับนักท่องเที่ยวเชิงนิเวศ. สืบค้นเมื่อ 22 มิถุนายน 2556. จาก www.dnp.go.th/parkreserve/nationalpark.asp?lg=1
อรรณพ หอมจันทร์ และคณะฯ (2555). การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมพุน้ำร้อนภาคตะวันตกของประเทศไทย รายงานวิจัย 2555
อำเภอปาย (2562). อำเภอปาย สืบค้นเมื่อ 10 สิงหาคม 2562 จาก http://www.อำเภอปาย.com/nampuronpang.htm
BLT Bangkok (2562). รายได้จากการท่องเที่ยว สืบค้นเมื่อ 15 มกราคม 2562 จาก https://www.bltbangkok.com/bangkok-update/ สืบค้นเมื่อ
Cooper P., Cooper M. (2009). Health and /wellness Tourism Spas and Hot Springs. Britol: Channel View Publications.
Duffy, R (2006). The politics of ecotourism and developing world. Journal of Ecotourism, 5(1&2): 1-6.
Hall, C.M. (2000). Tourism Planning: Policies, Processes and Relationships. Harlow: Pearson.
Mowforth, M. and Munt, I. (2003). Tourism and Sustainability: Development and New Tourism in The Third World. London: Routledge.
Thailand Development Research Institute (TDRI). (1997). Thailand Tourism: Vision 2012, 12(2): 14-24.