LOOP : การสร้างสรรค์ละครแนวสืบสวนสอบสวน ในรููปแบบอิมเมอซีฟ เธียเตอร์

LOOP: The Creation of Immersive Theatre on Whodunit

Authors

  • ชัญญาณินท์ ชัชวาลย์
  • พรพิพย์ วงษ์หาแก้ว
  • สัจจาวุธ สุริยะดง
  • ธนพร กิตติก้อง

Keywords:

การแสดงและกำกับการแสดง, งานสร้างสรรค์, อิมเมอซีฟ เธียเตอร์, ศิลปะการแสดง, การอำนวยการผลิต, Acting and Directing, Creative Practice, Immersive theatre, Performance, Production Management

Abstract

บทความนี้เป็นการสะท้อนและถอดองค์ความรู้จากกระบวนการสร้างสรรค์ผลงานละครในรูปแบบอิมเมอซีฟ เรื่อง “LOOP: The Immersive Theatre” ที่มีประเด็นตั้งต้นกับการรับรู้ทางสังคมและการตัดสินจากคนภายนอก โดยอาศัยลักษณะและรูปแบบของละครแนวอิมเมอซีฟ ที่ให้ความสำคัญกับบรรยากาศ สถานที่เฉพาะ ความสัมพันธ์ระหว่างผู้ชมกับเหตุการณ์รอบตัวในฐานะเรื่องราวหรือการแสดง กระตุ้นให้ผู้ชมได้มีปฏิกิริยาทางอารมณ์และความรู้สึกร่วมกับเหตุการณ์นั้น ๆ ให้สามารถตอบสนองต่อสถานการณ์ตามสัญชาตญาณของตนเองและเป็นผลงานที่เอื้อให้ผู้ชมได้มีส่วนร่วมผ่านการค้นหาด้วยตัวเองด้วย โดยเล่าเรื่องสถานการณ์ผ่านการฆาตกรรม ในบาร์ลับแห่งหนึ่งในรูปแบบสืบสวนสอบสวนคลาสสิค (Classical Detective Story) หรืือ Whodunit มีเป้าหมายเพื่อที่จะศึกษาและถอดองค์ความรู้จากกระบวนการสร้างสรรค์ผลงานการแสดงทั้งด้านการจัดการและการอำนวยการผลิต (Production Management) การสร้างสรรค์บทและกำกับการแสดง (Directing) และการแสดง (Acting) ในละครแนวอิมเมอร์ซีฟ  The article reflects on a creative practice and lesson learned from immersive theatre - “LOOP: The Immersive Theater”. This performance’s concept originates with questions upon social perception and judgment of others in the society. Immersive theatre appears as one of many popular techniques in engaging audience with performance. It focuses on atmosphere, emphasizes on site-specific, blurs boundaries between audience and actors, offers audience experience of events around them as a story. This immersive form encourages the audience to interact, engage and immerse with the events emotionally and physically by allowing them to respond to the situations based on their own instincts and interests, letting them choose and search for answers as well as how to perceive the stories. ‘LOOP’ brings out that experiences through a murder situation in a secret bar as in the classical detective story or Whodunit. The goal of this article is to study and extract knowledge from making an immersive theatre in three areas of production management, script creation and directing, and acting in immersive theatre.

References

คันฉัตร รังษีกาญจน์ส่อง. (2555). Immersive Theatre in Thailand. สืบค้นเมื่อวันที่ 5 มีนาคม 2564, จาก https://www.facebook.com/ 203076159740854/photos/a.328942443820891/428700880511713/? type=3

จุฑารัตน์ เอื้ออำนวย. (2553). จิตวิทยาสังคม. พิมพ์ครั้งที่ 4 กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ดวงกมล ทองอยู่. (2559). การรับรู้ทางสังคมกับความเป็นจริงทางสังคม: ความต่างที่พึงระวัง. วารสารวไลยอลงกรณ์ปริทัศน์ (มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์), 6(1), 140.

ธนัชพร กิตติก้อง. (2563). การแสดง/PERFORMANCE: ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับเพอร์ฟอร์มานซ์. ขอนแก่น : โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

สิทธิโชค วรานุสันติกูล. (2546). จิตวิทยาสังคมทฤษฎีและการประยุกต์. กรุงเทพฯ : เม็ดทรายพริ้นติ้ง

สุพรรณี วราทร. (2519). ประวัติการประพันธ์นวนิยายไทยตั้งแต่เริ่มจนถึง พ.ศ.2475. กรุงเทพฯ: มูลนิธิโครงการดำรงสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์.

อังคณา สุขวิเศษ. (2554). นวนิยายสืบสวน : อิทธิพลของชุดเชอร์ล็อคโฮล์มที่มีต่อชุดปัวโรต์และนิทานทองอิน. วิทยานิพนธ์ปริญญาอักษรศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวรรณคดีเปรียบเทียบภาควิชาวิชาวรรณคดีเปรียบเทียบคณะอักษรศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

Adam Alston. (2016). Beyond Immersive Theatre: Aesthetics, Politics and Productive Participation. London: Palgrave Macmillan

Bangkok 1889. (2561). Unless: An immersive theatre experience. สืบค้นวันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2563, http://bangkok1899.org/ projects/curated-programs/unless-a-theatre-piece

FULLFAT Theatre. (2563). SAVE FOR LATER (สูติบัตร). 18 กรกฎาคม 2563, Bacc หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร.

FULLFAT Theatre. (2564). Siam Supernatural Tour 2021. สืบค้นวันที่ 31 มีนาคม 2564, จาก https://www.facebook.com/ fullfattheatre/posts/1774065646100975

Gareth White. (2012). On Immersive Theatre. Theatre Research International, 37(3), 221-235.

Robin Schrorter, (2019). Directing an Immersive Theatre Show in Bangkok. สืบค้นวันที่ 23 กุุมภาพันธ์ 2564, จาก http://actors-thailand.com/2019/02/14/directing-an-immersive-theatre/

Downloads

Published

2022-12-21