การออกแบบตราสัญลักษณ์และบรรจุภัณฑ์อย่างมีส่วนร่วม กรณีศึกษา วิสาหกิจชุมชน กลุ่มแม่บ้านแสงตะวัน อำเภอสามโคก จังหวัดปทุมธานี
An Engaging Logo and Packaging Design: The Case Study of Sang Tawan Community Enterprise Group, Sam Khok District, Pathum Thani Province
Keywords:
การออกแบบ, ตราสัญลักษณ์, บรรจุภัณฑ์, Design, Logo, PackagingAbstract
งานวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาประเภทผลิตภัณฑ์จากกระดาษฟางข้าว และทำการคัดเลือกเพื่อนำไปออกแบบบรรจุภัณฑ์ 2) เพื่อออกแบบตราสัญลักษณ์และบรรจุภัณฑ์วิสาหกิจชุมชนกลุ่มแม่บ้านแสงตะวัน 3) เพื่อประเมินความพึงพอใจต่อตราสัญลักษณ์และบรรจุภัณฑ์วิสาหกิจชุมชนแม่บ้านแสงตะวัน โดยกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยคือ ตัวแทนกลุ่มผู้ผลิต ผู้เชี่ยวชาญด้านการออกแบบ ผู้เชี่ยวชาญด้านการตลาด นักพัฒนาชุมชน ผู้ผลิต และผู้บริโภค รวมจำนวน 110 ท่าน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสัมภาษณ์ แบบประเมินโดยผู้ทรงคุณวุฒิ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิจัย คือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย (average) ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D). ผลจากการวิจัยพบว่า การออกแบบตราสัญลักษณ์และบรรจุภัณฑ์อย่างมีส่วนร่วม กรณีศึกษา วิสาหกิจชุุมชนกลุ่มแม่บ้านแสงตะวัน อำเภอสามโคก จังหวัดปทุุมธานี ประกอบด้วย 3 ส่วน คือ ส่วนที่ 1 ประเภทผลิตภัณฑ์จากกระดาษฟางข้าว และการคัดเลือกเพื่อนำไปออกแบบบรรจุภัณฑ์ ได้จากการสำรวจ และสัมภาษณ์ ตัวแทนกลุ่ม และนำข้อมูลที่ได้ไปวิเคราะห์โดยการสนทนาแบบกลุ่ม (Focus Group) เพื่อให้ได้ผลิตภัณฑ์ที่มีความเหมาะสมต่อการนำไปออกแบบบรรจุภัณฑ์ ส่วนที่ 2 การออกแบบตราสัญลักษณ์และบรรจุภัณฑ์วิสาหกิจชุุมชนกลุ่มแม่บ้านแสงตะวัน ในส่วนนี้ผู้วิจัยได้นำ ประเด็นที่ต้องการพัฒนา รวมถึงความต้องการของชุุมชนไปทำการสนทนาแบบกลุ่ม (Focus Group) และนำข้อมูลที่ได้มาสรุุปในรููปแบบ Mood Broad ส่วนที่ 3 การประเมินความพึงพอใจต่อตราสัญลักษณ์ และบรรจุภัณฑ์วิสาหกิจชุุมชนกลุ่มแม่บ้านแสงตะวัน ผู้วิจัยได้แบ่งการประเมินออกเป็น 3 ด้าน ได้แก่ 1) ด้านการใช้งาน 2) ด้านการปกป้อง 3) ด้านการส่งเสริมการขาย โดยภาพรวมของการประเมินความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก (ค่าเฉลี่ย = 4.43) (S.D. = 0.82) This research aims to 1) study the types of products made of straw paper and in - tegrate them into the packaging design process, 2) design the logo and packaging for Sang Tawan Community Enterprise Group, and 3) measure the satisfaction towards the logo and packaging designed for Sang Tawan Community Enterprise Group. A total of 110 group representatives, design experts, marketing experts, community developers, producers, and consumers join this study as a sample group. The research methods employed here are the interview, the evaluation form designed by an expert, and the questionnaire. The statistical results are calculated in percentage, mean (X), and standard deviation. The study of an Engaging Logo and Packaging Design: The Case Study of Sang Tawan Com - munity Enterprise Group, Sam Khok District, Pathum Thani Province consists of three parts. First, the types of products made of straw paper and the selection of products for a pack - aging design are decided by a survey and an interview with group representatives. The results from the survey are analyzed by employing a focus group method in order to select the eligible product to continue to the packaging design phase. The second is a logo and packaging design for Sang Tawan Community Enterprise Group. In this part, the researcher conducts a focus group, taking the needs of the community in mind. The results are translated into a mood board. For the third part, the satisfaction survey on the logo and packaging design for Sang Tawan Community Enterprise Group is divided into three aspects which are 1) the practicality, 2) the protection, and 3) the marketing value. The over - all result of the satisfaction survey is high (average = 4.43) (S.D. = 0.82).References
กองบรรณาธิการ เพชรกะรัต. (2552). แนวคิดการออกแบบบรรจุภัณฑ์, กรุงเทพฯ : เพชรกะรัต
โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี (อพ.สธ). (2560). แผนแม่บท โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี (อพ.สธ). ระยะ 5 ปีที่ 6 (ตุลาคม พ.ศ. 2559 – กันยายน 2564), กรุงเทพฯ : สยามพริ้นท์.
ชลธิศ ดาราวงษ์. (2558). การจัดการผลิตภัณฑ์และการพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่, กรุงเทพฯ : ธนาเพลส.
ชูชัย สมิทธิไกร. (2557). พฤติกรรมผู้บริโภค, กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ณธกร อุไรรัตน์. (2560). การออกแบบบรรจุภัณฑ์สำหรับข้าวเจ๊กเชยเสาไห้ จังหวัดสระบุรี, วารสารวิจิตรศิลป์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, ปีที่ 8 ฉบับที่ 1 (มกราคม – มิถุนายน 2560), หน้า 193.
ภาวนา อรัญญิก และบัณฑิต โชคสิทธิกร. (2551). marketing & strategy. กรุุงเทพฯ : สำนักพิมพ์มติชน
มณฑลี ศาสนนันทน์. (2550). การออกแบบผลิตภัณฑ์เพื่อสร้างนวัตกรรมและวิศวกรรมย้อนรอย, กรุุงเทพ : สำนัก พิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
สมพงษ์ เฟื่องอารมย์. (2550). บรรจุภัณฑ์กับการส่งออก, กรุงเทพฯ : จามจุรี โปรดักท์.
สุุดาพร กุลฑลบุุตร. (2557). หลักการตลาดสมัยใหม่, กรุุงเทพฯ : โรงพิมพ์แห่งจุุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
อารยะ ศรีกัลยาณบุตร. (2550). การออกแบบสิ่งพิมพ์, กรุงเทพฯ : วิสคอมเซ็นเตอร์.
เอลเลน ลัปตัน. (2560). GRAPHIC DESIGN THE NEW BASICS. แปลโดย สหทัศน์ วชิระนภศูล นนทบุรี: ไอดีซีฯ