ความงดงามของความเครียด : เส้น สี ความรู้สึก จากอัตราการเต้นของชีพจรสู่ความงามบนผืนผ้า

The Beauty of Stress: Lines Colors Feelings from Pulse Rate to the Beauty of the Fabric

Authors

  • ธนิกา หุตะกมล
  • ปิติวรรณ สมไทย
  • ภูวษา เรืองชีวิน

Keywords:

ความรู้สึก, เส้นและสี, ผืนผ้า, Stress, Line and Colors, Fabrics

Abstract

ปัจจุุบันมนุุษย์ได้พบเจอกับเรื่องราวและปัญหาต่าง ๆ มากมายที่ผ่านเข้ามาในชีวิต ทั้งเรื่องราวที่ดีน่าจดจำ หรืออาจเป็นเรื่องราวที่ร้ายแรงและน่าหดหู่ เรื่องราวเหล่านั้นสามารถสร้างสภาวะทางอารมณ์แก่มนุษย์ที่แตกต่างกัันออกไป ซึ่งในสังคมปัจจุบันมนุษย์ต้องเผชิญต่ออุปสรรค ปัญหา การดิ้นรน และเรื่องราวต่าง ๆ ของชีวิต ทำให้เกิดสภาวะทางอารมณ์และการสะสมก่อให้เกิดภาวะความเครียดขึ้น ซึ่งปัจจุุบันประชาชนมีภาวะของความเครียดและซึมเศร้าเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องส่งผล ระยะยาวที่ทำให้เกิดการฆ่าตัวตาย โดยองค์การอนามัยโลก (WHO) ระบุ ว่าปัจจุบัน 1 ใน 20 ของประชากรโลกกำลังป่วยเป็นโรคซึมเศร้าและป่วยซ้ำสูงถึงร้อยละ 50-70 และด้วยเหตุนี้ ทางผู้วิจัยเล็งเห็นถึงสภาวะดังกล่าวจึงนำความเครียดของตนมาวิเคราะห์และแปรเปลี่ยนความเครียดที่มีนำมา สร้างสรรค์ลวดลายบนสิ่งทอเพื่อให้เห็นความงามในรูปแบบของความเครียดของผู้วิจัยโดยการเก็บข้อมูลจากอัตราการเต้นของชีพจรตนเองด้วย นาฬิกา Smart Watch จำนวน 9 เดือน ในชวงเวลา ตั้งแต่ 08.30-20.30 น. ของแต่ละวัน จากการเก็บข้อมูลพบว่าอัตราการเต้นของชีพจรสามารถนำมาพัฒนาลวดลายบนสิ่งทอเพื่อให้เกิดความงามทางศิลปะได้ ผลที่ได้จากความเครียดคือ การสร้างลวดลายบนผืนผ้าโดยใช้สีแดง เหลือง ส้ม และสีเทา แทนความรู้สึกของอารมณ์์จากการเต้นของชีพจร และทำให้พบว่า ความเครียด สี และเส้น สามารถถ่ายทอดเป็นผลงานทางศิลปะสู่บนผืนผ้าได้   The current humans encounter a lot of stories and problems that come through their lives, either a memorable or possibly a serious and depressing story. In those stories can create different emotional conditions for human beings, and in today’s society, humans are confronted with obstacles, struggles, and stories in life, causing emotional states and accumulation to stress. Currently, it is found that people are continually experiencing in - creased stress and long-term effects of suicide, and for this reason, the researcher realizes the condition and analyzes their stress and transforms the stress that has been applied to create patterns on textiles to achieve beauty from their stress. The data from the pulse rate is collected with the Smart Watch for 9 months from 8.30 am to 8.30 pm each day. The result of stress is that creating patterns on the fabric using red, yellow, orange and gray colors represents the mood of the pulse and thus the stress, color and lines can be conveyed as artistic works on the fabric.

References

กฤติยา แก้วมณี และเฟืองอรุณ ปรีดีดิลก. (2563 .) แนวทางการจัดกระบวนการเรียนรู้เพื่อแก้ปัญหาความเครียดด้านการเรียนของนักเรียนมัธยมศึกษาในกรุงเทพมหานคร. An Online Journal of Education, 15(1), OJED1501004-12.

จรัสพิมพ์ วังเย็น (2556.) สุนทรียศาสตร์ (aesthetics) มุมมองความคิดนักออกแบบแฟชั่นและสิ่งทอ. วารสาร วิชาการนวัตกรรมสื่อสารสังคม (The Journal of Social Communication Innovation) 1(1), 66-72.

วันทนา เนาว์วัน และอารมณ์ เอี่ยมประเสริฐ (2563 ) การจัดการความเครียดและปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการจัดการคุณภาพชีวิตในการทำงาน Journal of Management Science Review. 22(1),223-232

สายอักษร รักคง. (2563 การเยียวยาสภาวะทางจิตด้วยศิลปะบำบัด. วารสารศิลป์พีระศรี, 7(2). 65-84.

สุนันทา ผาสมวงค์ 2562) สภาวะของความทุกข์ (ศิลปะ บำบัด). มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี 10(2 . 42-57

อนุชา ถาพยอม. (2563.) ผลกระทบของความสามารถในการจัดการความเครียดและทักษะการติดต่อสื่อสารระหว่างบุคคลต่อประสิทธิภาพการทำงานของนักบัญชี. Executive Journal, 40(1), 31-43

Buajun, A., Chotchai, T., Phadungphol, S., Taearak, K., and Songsri, C. (2020). ความเครียด และวิธีเผชิญความเครียดของนักศึกษาสาธารณสุข. Journal of Graduate MCU khonkaen Campus, 7(2).

Do, Q. D., and Tasanapradit, P. (2008). Depression and Stress among the First Year Students in University of Medicine and Pharmacy, Hochiminh city, Vietnam. ความซึมเศร้าและความเครียดในนักศึกษาปีที่หนึ่งในคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยโฮจิมินท์ ประเทศเวียดนาม. Journal of Health Research, 22(Suppl.), 1-4.

Downloads

Published

2022-12-21