การสร้างสรรค์นาฏศิลป์จากข้อมูลประวัติศาสตร์ เมืองศรีพโล

The Creation of Dance Performance from the Historical Evidences of Sriphalo

Authors

  • นพพล จำเริญทอง

Keywords:

นาฎศิลป์สร้างสรรค์, เมืองศรีพโล, ระบำศรีพโล, Creative dance, Sriphalo, Sriphalo dance

Abstract

บทความวิจัยฉบับนี้เป็นการนำเสนอผลการสร้างสรรค์จากงานวิจัยเรื่อง การสร้างสรรค์นาฏศิลป์จากข้อมูลประวัติศาสตร์ เมืองศรีพโล การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างสรรค์การแสดงนาฏศิลป์ไทยรูปแบบระบำจากแหล่งประวัติศาสตร์ภาคตะวันออก เมืองศรีพโล โดยการใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพและการสร้างสรรค์ทางนาฏศิลป์ ผู้วิจัยศึกษาข้อมูลและเก็บรวบรวมข้อมูลจากเอกสารและผลงานทางวิชาการ การสัมภาษณ์และการเก็บรวบรวมข้อมูลจากการวิจัยภาคสนามแหล่งโบราณคดี โบราณวัตถุ พิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติปราจีนบุรี และพิพิธภัณฑ์ชุมชน วัดศรีพโลทัย จังหวัดชลบุรีแล้วนำผลการศึกษาประวัติศาสตร์โบราณคดีเมืองศรีพโล เป็นข้อมูลในการสร้างสรรค์ระบำ ผลการวิจัย พบว่าเมืองศรีพโลในอดีตเป็นเมืองท่าเล็ก ๆ ติดชายฝั่งทะเล มีประวัติทางโบราณคดีที่ได้รับอิทธิพลตั้งแต่สมัยทวารวดี ขอม สุโขทัย จนกระทั่งสมัยอยุธยาตอนปลาย ผู้วิจัยกำหนดจินตภาพของการแสดงให้ตัวละครหรือผู้แสดงนั้นเป็นผู้หญิง ซึ่งเป็นสัญลักษณ์จากตุ๊กตาเสียบกบาล โดยกำหนดโครงสร้างของระบำไว้ 4 ช่วงได้แก่ ช่วงก่อร่างสร้างเมืองช่วยการเผยแพร่พุทธศาสนา ช่วงความเชื่อในเทพเจ้า และช่วงรุ่งเรืองการค้าขายโดยใช้ลักษณะทางภูมิศาสตร์ โบราณสถาน โบราณวัตถุ พระพุทธรูป เทวรูปและท่ารำจากระบำชาติพันธุ์ตามขนบ ผู้วิจัยค้นพบท่ารำใหม่จำนวน 3 ท่า คือ จีบละโว้ จีบอู่ทอง และร่ารำพระคเณศชูงวง เครื่องแต่งกายได้แรงบันดาลใจตามศิลปะแบบสุโขทัย โดยเลือกใช้ทรงผมแบบมวยสูง ผ้ารัดอก ผ้านุ่งชั้นในยาวกรอมเท้าสีเขียวไข่กาตามสีเครื่องเคลื่อบดินเผา เครื่องประดับได้รับแรงบันดาลใจจากสำริดที่ขุดพบสมัยอยุธยา ดนตรีประกอบการแสดงเป็นทำนองเพลงที่ประพันธ์ใหม่โดยอ้างอิงแนวคิดการประพันธ์เพลงจากเพลงชุดระบำโบราณ คดีของกรมศิลปากรบรรเลงด้วยวงปี่พาทย์ไม้นวมตามข้อมูลทางประวัติศาสตร์และวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้  This article is part of research entitled “The Creation of Dance Performance from the Historical Evidence of Sriphalo”, aimed to create Thai dances from historical sources from the East of Thailand. The Qualitative research methods were conducted by in-depth interviews, field trips, and creative research methodology was formulated to examine new choreography of Thai Archaeology Dance (Rabam Borankadee). The study was revealed that Sriphalo was a small ancient seaport community. The culture-historical archaeology had been influenced by the Dhavaravadi era, Khom era, Sukhothai era until the late Ayutthaya era in order. The dancing character was inspired by female ritual dolls (Sia-Ka-Ban) which were found in Sukhothai era. The performance structure has 4 parts: the establishment of Sriphalo, the spreading of Buddhism, the belief in Hindu Gods, and the Glory of Trading city. The Choreography was employed by geography, historic site, antiques, bud - dha image, a graven image, and the authentic ethnical dance, therefore the 3 new dance positions were discovered in the dance piece consists of Jeeb Lavo, Jeeb U-Thong, and Pra Ganesha Shu Guang. The Costume design was inspired by Sukhothai art forms including the hair bun, chest strap fabric, green sarong (coloring by Sukhothai era porcelain), and bronze accessories (from Ayuthdhaya era). The music was composed by using traditional resources from The Rabam Borankadee and finding a strong potentiality of historical evidence that relates to dance.

References

ตุ๊กตาเสียบกบาลแม่อุ้มลูก. สืบค้นเมื่อ 2 กุมภาพันธ์ 2563 เข้าถึงได้จาก https://www.google.com.

พระเนื้อชินปางลีลา. สืบค้นเมื่อ 23 มกราคม พ.ศ.2563 เข้าถึงได้จาก http://www.certificatepra.com.

พระพุทธรูปแบบอู่ทอง. สืบค้นเมื่อ 21 มกราคม พ.ศ.2563 เข้้าถึึงได้้จาก https://www.m - culture.go.th.

พระพุทธรูปปางมารวิชัยแบบอู่ทอง. สืบค้นเมื่อ 23 มกราคม พ.ศ.2563 เข้าถึงได้จากhttp://nkr.mcu.ac.th/buddhasil.

พระพุทธรูปสมัยทวารวดี. สืบค้นเมื่อ 21 มกราคม พ.ศ.2563 เข้าถึงได้จาก https://www.m - culture.go.th.

พิพิธภัณฑ์ชุมชนวัดศรีพโลทัย. สืบค้นเมื่อ 9 มกราคม พ.ศ.2563 เข้าถึงได้จาก http://oldweb.nongmaidaeng.go.th/picplace1.html.

ภารดี มหาขันธ์. (2552). พัฒนาการทางประวัติศาสตร์ชลบุรี. นนทบุรี : หจก. องศาสบายดี.

มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม ศูนย์การเรียนรู้ทวารวดี. (2552). สรรสาระอารยธรรมทวารวดี. กรุงเทพฯ : เพชรเกษม. พริ้นติ้ง กรุ๊ป จำกัด.

วัฒนธรรมพัฒนาการทางประวัติศาสตร์ เอกลักษณ์และภูมิปัญญาจังหวัดชลบุรี. (2542). พิมพ์ครั้งที่ 1 : โรงพิมพ์คุรุสภา ลาดพร้าว

ศรีศักร วัลลิโภดม. (2545). อารยธรรมฝั่งทะเลตะวันออก. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์มติชน.

สัณห์ไชญ์ เอื้อศิลป์. (2559). การเล่าเรื่องประวัติศาสตร์และโบราณคดีภาคตะวันออกผ่านการสร้างบทและกำกับละครเพลงเรื่อง เจ้าหญิงโคกพนมดี (รายงานการวิจัย). มหาวิทยาลัยบูรพา.

สุชาติ เถาทอง. (2544). ศิลปวัฒนธรรมและภูมิปัญญาพื้นที่ภาคตะวันออก. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์โอเดียน.

สุชาติ เถาทอง. (2561). ภูมิบูรพา พลังแผ่นดินวิถีทัศน์. คณะศิลปกรรมศาตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา.

Downloads

Published

2022-12-21