การสร้างสรรค์นาฏศิลป์แบบข้ามวัฒนธรรม ชุด ลาแพร มิดิ เดิง โฟน

The Creation of Cross Cultural Dance Performance: L'après midi d'un faune

Authors

  • ภัชภรชา แก้วพลอย

Keywords:

นาฏศิลป์, ข้ามวัฒนธรรม, Dance Performance, Cross-Culture

Abstract

การแสดงชุด ลาแพร มิดิ เดิง โฟน หรือ อัชชบุรุษยามมัธยันห์ เป็นงานวิจัยสร้างสรรค์ โดยมีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อสร้างสรรค์ การแสดงนาฏศิลป์ แบบข้ามวัฒนธรรม 2) เพื่อหาแนวคิดในการสร้างสรรค์การแสดงนาฏศิลป์ แบบข้ามวัฒนธรรม โดยมีรูปแบบการวิจัยเชิงคุณภาพและการวิจัยเชิงสร้างสรรค์ โดยการศึกษาค้นคว้าเก็บรวบรวมข้อมูลด้านเอกสาร ตำรา สื่อสารสนเทศที่เกี่ยวข้องกับงานวิจัยเพื่อนำมาวิเคราะห์ผลอันได้แก่ แนวคิดศิลปะสมัยใหม่ แนวคิดด้านวัฒนธรรม เทคนิคการเคลื่อนไหวนาฏศิลป์ ตลอดจนองค์ความรู้อื่น ๆ แบบสหวิชา เช่น ภาษาศาสตร์ มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ เป็นต้น เพื่อนำมาเป็นกรอบแนวคิดในการสร้างสรรค์ผลงานนาฏศิลป์แบบข้ามวัฒนธรรม และนำเสนอผลงานวิจัยสู่สาธารณชน ผลวิจัยพบว่า การสร้างสรรค์นาฏศิลป์แบบข้ามวัฒนธรรมนั้น ประกอบไปด้วยแนวคิด 2 ส่วน คือ ส่วนที่ 1 การสร้างสรรค์นาฏศิลป์แบบข้ามวัฒนธรรม ได้แก่ 1) การกำหนดโครงเรื่องและเหตุการณ์ 2) การสื่อสารข้ามวัฒนธรรมผ่านบทกวีไทย 3) การใช้สัญญะหรือภาพแทนความ 4) องค์ประกอบการแสดงแบบข้ามวัฒนธรรมและส่วนที่ 2 แนวคิดในการออกแบบและกำกับลีลา ได้แก่ เทคนิคการเคลื่อนไหวนาฏศิลป์ 2) แนวคิดในการสื่อสารข้ามวัฒนธรรมผ่านการแสดงอิริยาบถ 3) ความสัมพันธ์ระหว่างดนตรีกับท่วงท่าลีลา 4) การจัดแสดงเป็นภาพ งานวิจัยในครั้งนี้นั้นแสดงให้เห็นอย่างชัดเจนว่าแนวคิด การสร้างสรรค์นาฏศิลป์ แบบข้ามวัฒนธรรมนั้นสามารถทำได้โดยการใช้วัฒนธรรมหนึ่งเพื่อสื่อสารถึงวัฒนธรรมหนึ่ง การผสมผสานระหว่างวัฒนธรรม ตลอดจนการสร้างวัฒนธรรมขึ้นมาใหม่เพื่อสื่อสารกับผู้ชมต่างกลุ่มวัฒนธรรมได้อย่างลงตัว ถึงแม้ว่ากรอบแนวคิดจะเกิดเพียงรากวัฒนธรรมใดอย่างหนึ่งก็ตาม แต่ศิลปะการแสดงนั้นไม่อาจอยู่กับที่ได้ศิลปินจำเป็นต้องพัฒนางานสร้างสรรค์ให้ทันยุคสมัยที่สุด เพื่อให้ศิลปะการแสดงเป็นสื่อกลางหนึ่งในการสื่อสารสังคมเพื่อรักษามรดกทางวัฒนธรรม เพื่อการสร้างสรรค์และเพื่อรับใช้สังคมในยุคร่วมสมัยต่อไป  L’après midi d’un faune or Ashabhurut Yam Matthayanh is creative a research. This research aims to 1) create a cross-cultural dance performance 2) find ideas for creating a cross-cultural dance performance. The research is conducted by using qualitative and creative research methods, collecting data on documents, textbooks, and media information related to the study, to analyze the results, by applying the concept of Modern Art, contcept of Cultures, concept of dance technique, including other interdisciplinary knowledge such as linguistics, humanities, social sciences, etc., to be used as a conceptual framework for creating cross-cultural dance performance and present to the public. The results found that the creation of cross-cultural dance consists of 2 parts: Part 1, The concept of cross-cultural creation: 1) the plot and the sequencing, 2) Communication across cultures through Thai poetry 3) Using of symbols or imagery 4) Performance elements. And part 2, The ideas of choreography 1) techniques of dance movement. 2) The concept of cross-cultural communication through gestures 3) The relationship between music and the style 4) Visualization This research clearly shows that the concept of creating cross-cultural dance performance can achieve by using one culture to communicate with another culture, Intercultural, and creating new cultures to communicate with audiences of different cultural groups applicably. Although the conceptual framework formed only one of the cultural roots, art never limited. The dance artist needs to develop work to keep up with the modern times the most and make performing arts communicate in society to preserve cultural heritage and the sere the society in the contemporary era.

References

จนัญญา เตรียมอนุรักษ์. (2554). ศิลปะสมัยใหม่. กรุุงเทพฯ. โอเพ่นเวิลด์ส.

เถกิง พัฒโนภาษ. (2551). สัญศาสตร์กับภาพแทนความ. วารสารวิชาการ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 01-2551(1), 35-50

ทักษิณา พิพิธกุล. (2558). จากสมัยใหม่ (Modernism) สู่หลังสมัยใหม่ (Postmodernism): การขับเคลื่อนทางวัฒนธรรม สู่ศิลปะกับธรรมชาติ. วารสารวิชาการมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา, 23(43).

นราพงษ์ จรัสศรี. (2548). ประวัตินาฏยศิลป์ตะวันตก. กรุุงเทพฯ. สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

บุญเลิศ จันทระ. (2544). การศึกษาทางมานุษยวิทยาวัฒนธรรม : กรณีศึกษาประเพณีแต่งงานกับนางไม้ในเขตอำเภอสิงหนคร จังหวัดสงขลา. วิทยานิพนธ์สาขาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาพัฒนาชนบทศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล.

Caddy D., (2012). The ballet Russes and Beyond: Music and dance in Belle-Epoque Paris. US. Cambridge University Press.

Foster Leigh Susan. (1992). Dancing Bodies In Incorporations. New York: Zone Book.

Lo, Gilbert. (2002). Toward a Topography of Cross-Cutural Theatre Praxis. The Drama Review, 46(3), The MIT Press, 31-35.

Mallarmé S., (1914). Poésies. Paris. Éditions de la Nouvelle revue française R. Mattani. (1996).

Dance, Drama, and Theatre in Thailand, Chiengmai. Silkworm Book.

Downloads

Published

2022-12-21