การศึกษาอัตลักษณ์การทอเสื่อกกจันทบุรีในอดีต : กรณีศึกษาพิพิธภัณฑ์วัฒนธรรมท้องถิ่น และหอจดหมายเหตุแห่งชาติจันทบุรี

A study of the identity of folk wisdom of early Chanthaboon reed mat : the case of local culture museums and national archives Chanthaburi branch

Authors

  • สุภารีย์ เถาว์วงศ์ษา

Keywords:

อัตลักษณ์, ภูมิปัญญา, การทอเสื่อกกจันทบูร, การออกแบบ, จันทบุรี, Automatic Journal Format, Journal, Academic Article, Research Article, Faculty of Architecture

Abstract

"การทอเสื่อกกจันทบูร" เป็นอัตลักษณ์และภูมิปัญญาท้องถิ่นที่มีคุณค่าทางวัฒนธรรม แต่เอกสารรวบรวมข้อมูลการทอเสื่อกกจันทบูรมีจำนวนน้อย เช่น ในส่วนพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นที่จัดแสดงประวัติและต้นกำเนิดของเสื่อกกจันทบูรมีเอกสารหลัก 1 เล่ม การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ในการศึกษาตัวแปรที่สามารถสื่อสารอัดลักษณ์และภูมิปัญญาในอดีต รวบรวมเป็นผลการศึกษาสำหรับผู้สนใจนำไปใช้ประโยชน์ทางการออกแบบ กำหนดพื้นที่ในการ ศึกษา คือ จังหวัดจันทบุรี ใช้วิธีเก็บรวบรวมข้อมูล 2 รูปแบบ 1) การทบทวนวรรณกรรม เนื่องจากมีเอกสารอยู่น้อยมากจึงศึกษาจากหนังสือ เอกสารจากส่วนราชการและเอกสารจดหมายเหตุที่มีการกล่าวถึงเรื่องราวการทอเสื่อกกจันทบูรในหอจดหมายเหตุแห่งชาติจันทบุรี 2) การสำรวจเชิงประจักษ์ และการสัมภาษณ์มัคคุเทศก์ประจำพิพิธภัณฑ์วัฒนธรรมท้องถิ่นในจังหวัดจันทบุรี วางกรอบแนวความคิดในการวิจัยเป็นการศึกษาตรวจสอบสามเส้าด้านข้อมูลทำการตรวจสอบแหล่งที่มาของข้อมูล 3 แหล่ง คือ บุคคล เวลา และสถานที่ ก่อนวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อเพิ่มความนำเชื่อถือของผลวิเคราะห์ จึงวิเคราะห์แยกประเภทข้อมูลเป็นหมวดหมู่ เพื่อสรุปตัวแปรที่สามารถ สื่อสารอัตลักษณ์และภูมิปัญญาการทอเสื่อกกจันทบูรในอดีต พบว่าอัตลักษณ์ของเสื่อกกจันทบูรในอดีตสามารถสื่อสารผ่านตัวแปรต่าง ๆ 10 ตัวแปร คือ ความยอมรับการทอเสื่อกกจันทบูรว่าเป็นภูมิปัญญาของชาวจันทบุรี เอกลักษณ์ของพันธุ์กก วิธีการขึ้นเงาของเส้นกก ความสามารถกันเชื้อราของเส้นใยกก สีและการย้อมสีเส้นกก วิธีการทอเสื่อกก ลวดลายในการทอเสื่อกก ความยอมรับในชนิดผลิตภัณฑ์จากเสื่อกก ตราสินค้ารับประกันคุณภาพของผลิตภัณฑ์จากเสื่อกก และการบรรจุหีบห่อของผลิตภัณฑ์จากเสื่อกก นำมาแบ่งตัวแปรเป็น 2 รูปแบบ คือ รูปแบบอัตลักษณ์ที่จับต้องได้ และรูปแบบอัตลักษณ์ที่จับต้องไม่ได้ เพื่อสรุปเป็นแนวทางการนำอัตลักษณ์และภูมิปัญญาการทอเสื่อกกจันทบูรในอดีตไปใช้ประโยชน์ทางการออกแบบ โดยแนะนำให้ใช้รูปแบบอัตลักษณ์ที่จับต้องได้ และยกตัวอย่างการออกแบบเครื่องประดับที่ใช้แรงบันดาลใจจากเอกลักษณ์ของพันธุ์กก สีและการย้อมสีเส้นกก  Chanthaboon reed mat is an identity and folk wisdom that has culture values. However, the documents gathering data and stories of the chanthaboon reed mat are rare - ly found. For example, the local museum where the histories and origins of the chanthaboon reed mat are collected, has only one main document. This research aims to study the variables that can communicate with the identity and the folk wisdom of the early chanthaboon reed mat, and to collect the results of the survey for people who are interested to utilize for design. The gathering area was in Chanthaburi Province. There were two choices for data collections 1) The literature reviews, due to there were very few publishing documents. Therefore, we studied from books, official documents, and archival documents relating to chanthaboon reed mat at the National Archives Chanthaburi Branch instead. 2) The empirical survey and the interviews of the local guides were at the local culture muse - ums. The conceptual framework of the research was studied the triangulation data and examined from three data sources (person, time, and place) before analyzing data in order to increase reliability. After that, data were analyzed by separating them into categories for summarizing the variables that could communicate with the identity and the folk wisdom of the early chanthaboon reed mat. The result of this research was found that there were ten variables: the acceptance on chanthaboon reed mat as the folk wisdom of Chanthaburi Province, the identity of the reed species, the shining method, the fungicide of the reed lines, the coloring and dyeing of the reed lines, the weaving method, the reed mat patterns, the acceptance of the reed band products, the quality assurance logo images of the reed mat products, and the packaging of the reed mat products. The variables dividing into two groups (tangible identity patterns and intangible identity patterns) In conclusion, it is a guide to the use of identity and wisdom to weave the chanthabool mat in design using tangible identity patterns and give examples of jewelry designs inspired by the uniqueness of the early breed. Reed dyeing and dyeing.

References

กนกกร พลกิจ, จไรร้ตน์ สรรพสุข, ณิชชากัญญ์ วงษ์จันเพ็ชร. ปียะวัฒน์ ศุภอุดมวิบูลย์ และสำอาง ธรรมลิขิต. ปราชญ์ภูมิ ปัญญาเสือกก จังหวัดจันทบุรี. สัมมนาวิชาการภายใต้กรอบการวิจัย เพื่อเพิ่มมูลค่าผลผลิต มุลค่าสินค้าและบริการกลุ่มโอทอป (OTOP) วิสาหกิจชุมชนและวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SME) โรงแรมริมน้ำกลางจันทร์ จังหวัดจันทบุรี. สัมภาษณ์วันที่ 21 สิงหาคม 2560.

กระทรวงมหาดไทย. (2523). ประวัติมหาดไทยส่วนภูมิภาค จังหวัดจันทบุรี. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ส่วนท้องถิ่นกรมการปกครอง คณะกรรมการฝ่ายประมวลเอกสารและจดหมายเหตุ ในคณะกรรมทารอำนวยการจัดงานเฉลิมพระเกียรติ

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ. (2542). วัฒนธรรม พัฒนาการทางประวัติศาสตร์ เอกลักษณ์และภูมิปัญญา จังหวัดจันทบุรี กรุงเทพฯ: ม.ป.ท.

จุฑาพร เพ็ชรินทร์, สิราลักษณ์ ลิ้มประเสริฐ และสมรัตน์ บุญถนอม. นักวิชาการวัฒนธรรมชำนาญการสำนักงาน วัฒนธรรมจังหวัดจันทบุรี. สัมมนาวิชาการภายใต้กรอบการวิจัย เพื่อเพิ่มมูลค่าผลผลิต มูลค่าสินค้า และบริการกลุ่มโอทอป (OTOP) วิสาหกิจชุมชนและวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม SME) โรงแรมริมน้ำกลางจันทร์ จังหวัดจันทบุรี. สัมภาษณ์วันที่ 21 สิงหาคม 2560.

ชาคริต สิทธิฤทธิ์. (2559, พฤษภาคม – สิงหาคม). จับต้องไม่ได้ : ความไม่หลากหลายในความหลากหลายของมรดกทางวัฒนธรรม. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี. 8(2) : 143-150.

ชุมนุมเรื่องจันทบุรี. (2514). ม.ป.ท.: พิมพ์เป็นอนุสรณ์ในงานพระราชทานเพลิงศพนางวรรณ จันทวิมล ณ สุสานหลวงวัดเทพศิรินทราวาส.

เทื้อน ทองแก้ว. (ม.ป.ป.). กำเนิดเสื่อสมเด็จ. ม.ป.ท.: ม.ป.พ.

ธนู อนัญญพร. หัวหน้ากลุ่มงานส่งเสริมการพัฒนาชุมชนสำนักงานพัฒนาชุมชน จังหวัดจันทบุรี. สัมมนาวิชาการภายใต้กรอบการวิจัยเพื่อเพิ่มมูลค่าผลผลิต มูลค่าสินค้า และบริการกลุ่มโอทอป (OTOP) วิสาหกิจชุมชนและวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SME) โรงแรมริมน้ำกลางจันทร์ จังหวัดจันทบุรี. สัมภาษณ์วันที่ 21 สิงหาคม 2560.

นงภัส ศรีสงคราม. (2547). การสื่อสารทางวัฒนธรรมด้านอัตลักษณ์และสัญยะวิทยาของชาวไทยโซ่ง หมู่บ้านดอนเตาอิฐ จังหวัดกาญจนบุรี. ปริญญานิพนธ์ นศ.ม (นิเทศศาสตร์). กรุงเทพฯ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิต. ถ่ายเอกสาร.

นภสร โศรกศรี. วัฒนธรรมจังหวัด สำนักงานวัฒนธรรม จังหวัดจันทบุรี. สัมมนาวิชาการภายใต้กรอบการวิจัยเพื่อเพิ่มมูลค่าผลผลิต มูลค่าสินค้า และบริการกลุ่มโอทอป (OTOP) วิสาหกิจชุมชนและวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SME) โรงแรมริมน้ำกลางจันทร์ จังหวัดจันทบุรี. สัมภาษณ์วันที่ 21 สิงหาคม 2560.

ฝ่ายการค้าภายในจังหวัดฉะเชิงเทรา กรมการค้าภายใน กระทรวงพาณิชย์. (2535). การผลิตและการตลาดเสื่อกก. [เอกสารพิมพ์ดีด]. ฉะเชิงเทรา : ผู้แต่ง. ปิยะวัฒน์ เวทย์การี. มัคคุเทศก์ ประจำพิพิธภัณฑ์พระตำหนักวังสวนบ้านแก้วและพระตำหนักแดง จังหวัดจันทบุรี. สัมภาษณ์วันที่ 6 กรกฎาคม 2560 และวันที่ 22 สิงหาคม 2561.

ปัทมา ศรีน้ำเงิน. ผู้ช่วยคณบดีฝ่ายวิจัยและบริการวิชาการแก่สังคม คณะวิทยาศาสตร์และศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา วิทยาเขตจันทบุรี. สัมภาษณ์วันที่ 10 เมษายน 2562.

พวงผกา ธรรมฉัตร. (ม.ป.ป.). หนังสือส่งเสริมการอ่านบันทึกไว้ให้ลูกหลาน. จันทบุรี : ม.ป.พ.

วสันตา เทือกขันตี. (ม.ป.ป.). หนังสือเรื่องรู้จักเมืองจันท์. จันทบุรี : สำนักศิลปวัฒนธรรม สถาบันราชภัฏรำไพพรรณี.

สุภางค์ จันทวานิช. (2553). การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. สำนักเสื่อสมเด็็จ. (ม.ป.ป.). (แผ่่นพับ). จันทบุรี : วังสวนบ้านแก้ว.

เอื้อมพร หลินเจริญ. (2561). เทคนิคการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ. วารสารการวัดผลการศึกษา มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. 17(1), 17-29.

อรัญ วานิชกร. (2557, มกราคม-มิถุนายน). จับต้องไม่ได้ : องค์ความรู้ภูมิปัญญาไทย : การออกแบบและสร้างสรรค์ ผลิตภัณฑ์ร่วมสมัย. วารสารสถาบันวัฒนธรรมและศิลปะ. 15(2): 22.

Downloads

Published

2022-12-21