ตำนาน ประเพณี และวัฒนธรรมท้องถิ่นชลบุรีในนวนิยายอิงประวัติศาสตร์ของปิยะพร ศักดิ์เกษม

Local Legends, Tradition, and Culture of Chonburi in Historical Novels by Piyaporn Sakkasem

Authors

  • อภิรักษ์ ชัยปัญหา

Keywords:

นวนิยายอิงประวัติศาสตร์, ตำนาน, ประเพณี, วัฒนธรรม, ชลบุรี, Historical Novels, Local Legends, Tradition, Culture, ChonBuri

Abstract

นวนิยายอิงประวัติศาสตร์ของไทยมักนำเสนอฉากและบรรยากาศของเรื่องตามกรอบโครงประวัติศาสตร์ชาติ นอกจากนักเขียนจะสอดแทรกแนวคิดเรื่องของความรักชาติแล้วมักจะนำเสนอข้อมูลเกี่ยวกับตำนาน ประเพณี และวัฒนธรรมของเมืองหลวงอันเป็นศูนย์กลางของชาติเท่านั้น ปิยะพร ศักดิ์เกษม เป็นนักเขียนที่เกิดและเติบโตมาในจังหวัดชลบุรี ได้สร้างสรรค์นวนิยายอิงประวัติศาสตร์ “ชุดแม่วัน” ขึ้นโดยใช้ฉากจังหวัดชลบุรี ที่มีพัฒนาการอย่างยาวนานถึง 100 ปี มาเป็นฉากของนวนิยายชุดนี้ สำหรับบทความนี้มุ่งศึกษาว่าปิยะพร ศักดิ์เกษม ได้นำเสนอตำนานประเพณี และวัฒนธรรมของท้องถิ่นใดบ้าง ในนวนิยายของเธอเพื่อสร้างความรับรู้ และตระหนักถึงความสำคัญของจังหวัดชลบุรีให้แก่ทั้งผู้อ่านจากส่วนกลางและผู้อ่านที่อยู่ในพื้นที่ชลบุรี ผลศึกษาพบว่าในด้านตำนาน พบ 4 ตำนาน ได้แก่ ตำนานเมืองศรีพโล ตำนานพระรถเมรี ตำนานเขาสามมุข ตำนานอ่างศิลา ในด้านประเพณี พบ 3 ประเพณี ได้แก่ ประเพณีงานกองข้าว ประเพณีวิ่งควาย และประเพณีทั้งกระจาด ในด้านวัฒนธรรมพบวัฒนธรรม 2 ด้าน ได้แก่ วัฒนธรรมการประกอบอาชีพ และวัฒนธรรมด้านอาหาร ประจำถิ่นนับว่านวนิยายอิงประวัติศาสตร์ของ ปิยะพร ศักดิ์เกษม ได้ช่วยบันทึกข้อมูลสำคัญเกี่ยวกับตำนานประเพณี และวัฒนธรรมท้องถิ่นชลบุรีไว้อีกทางหนึ่ง  Thai historical fictions mostly illustrate scenes and environment as that of in different referred historical periods and patriotism. Matters related to legends, tradition, and culture mentioned are limited to those of the state capitals. In contrast, Piyaporn Sakkasem, a writer whose hometown is Chonburi province, composed a collection of historical fictions titled “Mae Wan” which reflects different stories of Chonburi within 100 years; therefore, Piyaporn Sakkasem’s a collection of historical novelss was used as the data source for exploring local legends, traditions, and culture of Chonburi with a hope for the readers both Chonburi locales and other parts of the country to realize the uniqueness of Chonburi. The results showed historical matters about 4 legends, 3 traditions, and 2 cultural issues in the collection. The legends found include legend of Sri-PaLo, legend of Phra Rod Meree, leg - end of Sam Muk Hill, and legend of Ang Sila. The traditions involved are Kong Khao Festival (festival of offering rice for the spirit which is a part of Songkran Festival, Buffalo Racing Festival, Tink Krachad Festival (The Hungry Ghost Festival) The two cultural issues are those related to occupation, and local gastronomy. In conclusion, Piyaporn Sakkasem’s historical novels function as a record of local legends, tradition, and culture of Chonburi.

References

กรมส่งเสริมวัฒนธรรม. (2559). วรรรณกรรมพื้นบ้าน : มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของชาติ. กรุงเทพฯ : สำนักกิจการโรงพิมพ์องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึกในพระบรมราชูปถัมภ์.

คณะกรรมการฝ่ายประมวลเอกสารและจดหมายเหตุในคณะกรรมการอำนวยการจัดงานเฉลิมพระเกียรติพระบาท สมเด็จพระเจ้าอยู่หัว. (2544). วัฒนธรรมพัฒนาการทางประวัติศาสตร์เอกลักษณ์และภูมิปัญญา จังหวัดชลบุรี. กรุงเทพฯ : กระทรวงมหาดไทย : กระทรวงศึกษาธิการ : กรมศิลปากร.

โครงการขึ้นทะเบียนมรดกภูมิปัญญาวัฒนธรรม (2564). วรรณกรรมพื้นบ้านและภาษา. เข้าถึงได้จาก http://ich.culture.go.th/index.php/th/ich/folk-literature.

โครงการฐานข้อมูลงานประเพณีท้องถิ่นในประเทศศูนย์มานุษยวิทยาสิริธร. (2560). นิยามประเภทประเพณี. เข้าถึงได้จาก https://www.sac.or.th/databases/rituals/definition.php

ชุตินันท์ มาลาธรรม. (2557). ประวัติศาสตร์ท้องถิ่นในนวนิยายเรื่อง ในวารวันของปิยะพร ศักดิ์เกษม. สารนิพนธ์อักษรศาสตรบัณฑิต ภาคภาษาไทย คณะอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปกร.

พัฒนา กิติอาษา. (2546). ท้องถิ่นนิยม. กรุงเทพฯ : คณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ สาขาสังคมวิทยา สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.).

ปิยะพร ศักดิ์เกษม. (2555). ในวารวัน. พิมพ์ครั้งที่ 5. กรุงเทพฯ : อรุณอัมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิซซิ่ง.

ปิยะพร ศักดิ์เกษม. (2550). ตะวันเบิกฟ้า. กรุงเทพฯ : อรุณอัมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิซซิ่ง.

ปิยะพร ศักดิ์เกษม. (2555). ขอบฟ้าราตรี. กรุงเทพฯ : อรุณอัมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิซซิ่ง.

พนิดา วงศ์บุญ. (2554). ศึกษานวนิยายอิงประวัติศาสตร์เรื่อง บุหงาปารี ของวินทร์ เลียววาริณ. สารนิพนธ์ปริญญาอักษรศาสตร์บัณฑิต ภาควิชาภาษาไทย คณะอักษรศาสตร์มหาวิทยาลัยศิลปากร.

พระราชพงศาวดาร กรุงรัตนโกสินทร์ รัชกาลที่ 3 เล่ม 2. (2504). พระนคร : คุรุสภา.

พัฒนา กิติอาษา. (2546). ท้องถิ่นนิยม. กรุงเทพฯ : คณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ สาขาสังคมวิทยา สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.).

พิศมร แสงสัตยา. (2554). การวิเคราะห์นวนิยายของปิยะพร ศักดิ์เกษม. ปริญญานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาภาษาไทย บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

ภารดี มหาขันธ์. (2552). พัฒนาการทางประวัติศาสตร์ชลบุรี. ชลบุรี. สาขาวิชาไทยศึกษา คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา.

มนัสนันท์ สรรพัชญา. (2550). การศึกษากลวิธีการแต่งนวนิยายย้อนยุคอิงประวัติศาสตร์เรื่อง จันทราอุษาคเนย์ ของวรรณ วรรธน์. สารนิพนธ์ศิลปศาสตรบัณฑิต (ภาษาไทย) ภาควิชาภาษาตะวันออก คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร.

ราชบัณฑิตยสถาน. (2556). พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2554. กรุงเทพฯ : นานมีบุ๊คส์พับลิเคชันส์.

ลัดดา ราตรีพฤกษ์. (2541). วิเคราะห์แนวคิดกลวิธีนำเสนอแนวคิด และศิลปะการใช้ภาษาในวรรณกรรมของปิยะพร ศักดิ์เกษม. ปริญญานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาภาษาไทย บัณฑิตวิทยามหาวิทยาลัยทักษิณ.

วันชนะ ทองคำเภา. (2554). ภาพตัวแทนของสมเด็จพระมหาธรรมราชาในวรรณกรรมไทย. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

อภิรักษ์ ชัยปัญหา. (2546). วิเคราะห์นวนิยายอิงประวัติศาสตร์การเสียกรุงศรีอยุธยา ครั้งที่ 2. วิทยานิพนธ์อักษรศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาภาษาไทย บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร.

อิราวดี ไตลังคะ. (2546). ศาสตร์และศิลป์แห่งการเล่าเรื่อง. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์ มหาวิทยาลัย เกษตรศาสตร์.

ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร, (2559). ประเพณีท้องถิ่นในประเทศไทย. เข้าถึงได้จาก https://www.sac.or.th/databases/rituals/detail.php?id=46

สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ กระทรวงวัฒนธรรม. (2551). ความหมายแนวคิดและประเด็นที่เกี่ยวกับ “วัฒนธรรม”. เข้าถึงได้จาก http://www.openbase.in.th/node/5954.

สำนักงานวัฒนธรรม จังหวัดชลบุรี. (2559). ประเพณีกองข้าวบวงสรวง (ประเพณีกองข้าว). เข้าถึงได้จาก https://www.m-culture.go.th/chonburi/ewt_news.php?nid=677&filename=index

เสฐียรโกเศศ. (2505). การศึึกษาเรื่องประเพณีีไทย. พระนคร: ราชบััณฑิิตยสถาน

อรัญญา แสนสระและนันท์ชญา มหาขันธ์. (2561). นิทานพื้นบ้านกับการสืบสารภูมิปัญญาท้องถิ่น อำเภอเกษตรสมบูรณ์ จังหวัดชัยภูมิ. วารสารมนุษยศาสตร์ ฉบับบัณฑิตศึกษา, 7(1), 53-66.

Downloads

Published

2022-12-21