ฟื้นฟูเพลงลงสรงโทนสู่ห้องเรียนอนุรักษ์ทักษะเพลงเก่าแก่หายาก

Rehabilitation a Long Song Tone into the class skill of rarely song preservation

Authors

  • จันทนา คชประเสริฐ

Keywords:

ฟื้นฟู, เพลงลงสรงโทน, อนุรักษ์, Rehabilitation, Long Song Tone, Preservation

Abstract

เพลงลงสรงมีประวัติตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยามาจนถึงปัจจุบัน ใช้บรรเลงประกอบในพระราชพิธีจนกระทั่งนำเข้ามาใช้ในการประกอบการแสดง มีการพัฒนาจากเพลงบรรเลงจนเกิดเพลงร้องชื่อว่า เพลงลงสรงโทน เพลงลงสรงโทนเป็นเฉพาะที่ใช้ประกอบกิริยาการแต่งตัว มีการใส่เครื่องประดับต่าง ๆ สื่อให้เห็นถึงความสวยงามของเครื่องแต่งกายตัวละครเอกนั้น ๆ ลักษณะของการขับร้อง มีหน้าทับพิเศษประกอบจังหวะในการขับร้อง การขับร้องเป็นต้นบท/ลูกคู่ มีลักษณะการขับร้องที่แตกต่างกัน โดยผู้ขับร้องต้นบทสามารถเลือกใช้กลวิธี ในการขับร้องเพื่อให้เกิดความเหมาะสมต่อกระบวนท่ารำ ลูกคู่ต้องขับร้องให้มีความพร้อมเพรียงกันทั้งน้ำเสียง จังหวะของการขับร้อง และการหายใจ  The “Long Song” song has a history from the Ayutthaya era to the present. The “Long Song” song used to perform in royal ceremonies until brought in for use in performances. It has evolved from instrumental music to a song “Long Song Tone” song. The “Long Song Tone” song is a specific song to dress up. Various ornaments are worn to convey the beauty of the protagonist’s costume. The characteristic of singing has a unique rhythmic pattern of percussion accompaniment while singing. The style of singing is in the form of a “Thon Bot” (leader)/ “Look Kuu” (chorus) are different singing styles. “Thon Bot” can choose singing technical to make it suitable for the performance. “Look Kuu” must sing with the same pitch, rhythm, and phase to breathe while singing.

References

กาญจนา นาคพันธ์. (2513). คอคิดขอเขียน. กรุงเทพฯ: บำรุงสาส์น.

กรมศิลปากร. (2532). วรรณกรรมสมัยกรุงธนบุรี. เล่ม 1. กรุงเทพฯ: บริษัทอมรินทร์พริ้นติ้งกรุ๊พจำกัด.

กรมศิลปากร. (2539). ประวัติศาสตร์แห่งพระราชอาณาจักรสยาม. กองวรรณกรรมและประวัติศาสตร์. กรุงเทพฯ: บริษัทเอดิสันเพรสโพรดักค์จำกัด.

กรมส่งเสริมวัฒนธรรม. (2559). พระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษามรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม. กรุงเทพฯ: สำนักงานกิจการโรงพิมพ์องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก.

ศิลปวัฒนธรรม. (2562). ความหมายและนัยของพิธีสรงน้ำพระมุรธาภิเษก. สืบค้นวันที่ 1 ตุลาคม 2565, จาก https://www.silpa-mag.com/history/article_31945

ณรงค์ชัย ปิฎกรัชต์. (2557). สารานุกรมเพลงไทย นครปฐม: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยมหิดล.

ดำรงราชานุภาพ, สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ. (ม.ป.ป.). สาส์นสมเด็จ เล่ม 1. พระนคร: องค์การค้าของคุรุสภา.

นพคุณ สุดประเสริฐ. หัวหน้าภาควิชาดุริยางคศิลป์ คณะนาฏศิลป์ สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์. (10 สิงหาคม 2565). สัมภาษณ์.

พัฒนี พร้อมสมบัติ. ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านวิชาการละครและดนตรี สำนักการสังคีตกรมศิลปากร. (9 สิงหาคม 2565). สัมภาษณ์.

มนัส แก้วบูชา. อาจารย์ประจำคณะดุริยางคศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี (10 กรกฎาคม 2565). สัมภาษณ์.

มนตรี ตราโมท. (2527). โสมส่องแสง : ชีวิตดนตรีไทยของมนตรี ตราโมท. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์เรือนแก้วการพิมพ์.

วิทยา ศรีผ่อง. (2563). ชุดฝึกการขับร้องเพลงไทยสำหรับพัฒนาศักยภาพของผู้ขับร้อง. รายงานวิจัย งบประมาณแผ่นดิน ประจำปีงบประมาณ 2563 สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์.

บุษกร สำโรงทอง. (2542). เพลงสำหรับการแสดง. เอกสารประกอบการศึกษารายวิซาเพลงสำหรับการแสดง บัณฑิตศึกษา ศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (ม.ป.พ.).

บทเจรจาละครอิเหนาและตำนานเรื่องละครอิเหนา. (2516). พิมพ์เป็นธรรมบรรณาการในงานฌาปณกิจศพคุณแม่ส้มจีน กาญจนวัฒน์ ณ ฌาปณสถาน วัดธาตุทอง กรุงเทพมหานคร วันที่ 10 พฤษภาคม พ.ศ. 2516. กรุงเทพฯ: ศูนย์การพิมพ์ซอยสุภัทรพล.

สมาพร ด้วงไกลถิ่น. (2550). ระเบียบวิธีการขับร้องและบรรเลงเพลงลงสรง. วิทยานิพนธ์ปริญญา ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาดุริยางค์ไทย คณะศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ กระทรวงศึกษาธิการ. (2535). หนังสือพระราชทานเพลิงศพ ครูท้วม ประสิทธิกุล. กรุงเทพฯ: อมรินทร์พริ้นติ้งกรุ๊ป จำกัด.

สุพัชรินทร์ วัฒนพันธ์ (2553), เอกสารประกอบการสอนรายวิชา การบรรจุเพลงร้องและเพลงหน้าพาทย์.ศึกษาศาสตร์บัณฑิต สาขาดนตรีคีตศิลป์ไทย สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์. กรุงเทพฯ: (ม.ป.พ.).

สำนักข่าวกรมประชาสัมพันธ์. (2562). สรงพระมุรธาภิเษก พระราชพิธีบรมราชาภิเษกในวันพระฤกษ์ สืบค้นวันที่ 2 ตุลาคม 2565, จาก https:/hainews.prd.go.th/th/news/detailTCATG190504164911313

อาภาภรณ์ ทองไกรแสน. ครูชำนาญการคีตศิลป์ไทย วิทยาลัยนาฏศิลป์อ่างทอง. (9 สิงหาคม 2565). สัมภาษณ์.

Downloads

Published

2023-05-18