การศึกษาและออกแบบตราสัญลักษณ์เพื่อประชาสัมพันธ์ผลิตภัณฑ์ชุมชน กรณีศึกษา กลุ่มเย็บปักถักร้อยปางสีดา ตำบลท่าแยก อำเภอเมือง จังหวัดสระแก้ว
Study and logo designs to promote community products: The case study of Yep Pak Thakroi Pang Sida Group, Tha Yaek Subdistrict, Muang District, Sa Kaeo Province
Keywords:
ตราสัญลักษณ์, ผลิตภัณฑ์ชุมชน, ปางสีดา, ประชาสัมพันธ์, Design, Community Products, Pang Sida, PromotionAbstract
งานวิจัยเรื่องการศึกษาและออกแบบตราสัญลักษณ์เพื่อประชาสัมพันธ์ผลิตภัณฑ์ชุมชน กรณีศึกษา กลุ่มเย็บปักถักร้อยปางสีดา ตำบลท่าแยก อำเภอเมือง จังหวัดสระแก้ว มีวัตถุประสงค์ เพื่อ 1) เพื่อศึกษาอัตลักษณ์กลุ่มเย็บปักถักร้อยปางสีดา ตำบลท่าแยก อำเภอเมือง จังหวัดสระแก้ว ผู้วิจัยได้ทำการศึกษาจากเอกสาร และงานวิจัยที่เกี่ยวข้องรวมถึงการสัมภาษณ์ตัวแทนกลุ่มเย็บปักถักร้อยปางสีดา พบว่ากิจการของกลุ่ม คือการรับซ่อมและตัดเย็บเสื้อผ้าในงานพิธี โดยผ้าที่ใช้ในการตัดเย็บส่วนใหญ่จะทอขึ้นภายในชุมชน ทั้งยังได้ผลิตกระเป๋าสานและผ้าทอเพื่อจัดจำหน่าย นอกจากนี้ ยังพบว่าสถานที่ตั้งของกลุ่มตั้งอยู่ใกล้กับอุทยานแห่งชาติปางสีดา ซึ่งเป็นสถานที่ท่องเที่ยวทางธรรมชาติ ที่มีชื่อเสียงของจังหวัดสระแก้วและเป็นถิ่นที่อยู่ของผีเสื้อหลากหลายสายพันธุ์ และในทุกปีเริ่มตั้งแต่ เดือนกรกฎาคมถึงสิงหาคม ทางจังหวัดสระแก้วได้จัดเทศกาลดูผีเสื้อปางสีดาขึ้นเพื่อเป็นการ ประชาสัมพันธ์แหล่งท่องเที่ยวและเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจภายในจังหวัด 2) เพื่อออกแบบตราสัญลักษณ์ กลุ่มเย็บปักถักร้อยปางสีดา ตำบลท่าแยก อำเภอเมือง จังหวัดสระแก้ว ผู้วิจัยได้แบ่งขั้นตอนใน การออกแบบ ออกเป็น 2 ขั้นตอน ได้แก่ ขั้นก่อนการออกแบบ ประกอบด้วยการออกแบบตราสัญลักษณ์ ชื่อกลุ่มและประโยคคำโปรย สี และสัญลักษณ์ ขั้นการออกแบบ นำผลสรุปจากการวิเคราะห์ข้อมูลมาแปลผลในรูปแบบ Mood Board เพื่อใช้ในการออกแบบตราสัญลักษณ์กลุ่มเย็บปักถักร้อยปางสีดา จำนวน 3 รูปแบบ และนำไปทำการประเมิน โดยผู้เชี่ยวชาญด้านการออกแบบ จำนวน 3 คน เพื่อทำการคัดเลือกตราสัญลักษณ์ที่มีความเหมาะสมที่สุดเพียง 1 รูปแบบ 3) เพื่อประเมินความพึงพอใจที่มีต่อตราสัญลักษณ์ โดยนักท่องเที่ยวในอุทยานแห่งชาติปางสีดา ตำบลท่าแยก อำเภอเมือง จังหวัดสระแก้ว จำนวน 100 คน เครื่องมือในการวิจัย ได้แก่ แบบประเมินความพึงพอใจ เพื่อใช้ในการวิเคราะห์หาค่าสถิติค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการประเมินความพึงพอใจตราสัญลักษณ์กลุ่มเย็บปักถักร้อยปางสีดา ตำบลท่าแยก อำเภอเมือง จังหวัดสระแก้ว โดยภาพรวมมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด (ค่าเฉลี่ย = 4.53) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (SD = 0.71) และเมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า ด้านสีสันสวยงาม มีค่าเฉลี่ยสูงกว่าด้านอื่น ๆ อยู่ในระดับมากที่สุดโดยมีค่าเฉลี่ย อยู่ที่ (ค่าเฉลี่ย = 4.64) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (SD = 0.61) รองลงมาได้แก่ ด้านแสดงถึงอัตลักษณ์ชุมชน อยู่ในระดับมากที่สุด โดยมีค่าเฉลี่ยอยู่ที่ (ค่าเฉลี่ย = 4.61) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (SD = 0.61) และด้านที่มีค่าเฉลี่ยน้อยกว่าในทุก ๆ ด้าน ได้แก่ ด้านรูปแบบ ตัวอักษร ซึ่งอยู่ในระดับมาก โดยมีค่าเฉลี่ยอยู่ที่ (ค่าเฉลี่ย = 4.40) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (SD = 0.81) A research on Study and logo designs to promote community products: The case study of Yep Pak Thakroi Pang Sida Group, Tha Yaek Subdistrict, Muang District, Sa Kaeo Province. The goals were 1) To study the identity of the Pang Sida Embroidery Group in Tha Yaek Sub-district, Mueang District, Sa Kaeo Province. The researcher has studied from the document. and related research including interviews with representatives of Pang Sida embroidery group Found that the business of the group Is to repair and sew clothes in theceremony Most of the fabrics used in sewing are woven within the community. It also produces woven bags and woven fabrics for distribution. It was also found that the group’s location was close to Pang Sida National Park. Which is a famous natural tourist attraction of Sa Kaeo Province and is home to many species of butterflies and every year starting from July to August, Sa Kaeo Province organizes the Sida Butterfly Festival. To publicize tourist attractions and to stimulate the economy within the province. 2) To design the logo of the Yep Pak Thakroi Pang Sida Group in Tha Yaek Subdistrict, Mueang District, Sa Kaeo Province. The researcher has divided the design process into 2 stages, namely the pre-design stage. It consists of a logo design. Group names and phrases, taglines, colors and symbols, design stages Bring the results from the analysis of the data to be interpreted in the form of a Mood Board to be used in the design of the emblems of the Sida Embroidery Group, amounting to 3 patterns, and evaluated. By 3 design experts to select only one of the most suitable emblems. 3) To assess the satisfaction with the emblem. There were 100 tourists in Pang Sida National Park, Tha Yaek Subdistrict, Mueang District, Sa Kaeo Province. The research tools were satisfaction assessment form. to be used in the analysis of mean statistical values and standard deviation. The results of the satisfaction assessment of the logo of the Yep Pak Thakroi Pang Sida Group, Tha Yaek Subdistrict, Mueang District, Sakaeo Province Overall, the satisfaction level was at the highest (average = 4.53) standard deviation (SD = 0.71). colorful side It was on average higher than the others at the highest level. The mean was at (average = 4.64), the standard deviation (SD = 0.61), followed by The aspect represents the identity of the community. At the highest level The mean (average = 4.61) standard deviation (SD = 0.61) and the lesser mean in all aspects, namely the font aspect. which is at a high level The mean is (average = 4.40) standard deviation (SD = 0.81).References
กรมพัฒนาชุมชนกระทรวงมหาดไทย. (2555). แผนปฏิบัติราชการรายปี (พ.ศ. 2565), กรุงเทพฯ : กรมพัฒนาชุมชนกระทรวงมหาดไทย
กนกพร สัตยาไชย อารยะ ศรีกัลยาณบุตร และปวินท์ บุนนาค. (2564), แนวทางการออกแบบ ตราสัญลักษณ์ สำหรับการท่องเที่ยวแนวเนิบช้าศึกษาจังหวัดตรัง, วารสารวิชาการ นวัตกรรมสื่อสารสังคม (The Journal of Social Communication Innovation) มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, (9,1), 86-99.
โครงการบริการวิชาการแก่ชุมชน มหาวิทยาลัยศรีนครินวิโรฒ. ฐานข้อมูลโครงการพัฒนาพื้นที่ราบเชิงเขา จังหวัดสระแก้ว-ปราจีนตามพระราชดำริ (ระยะที่ 3), กรุงเทพ : สหมิตรพริ้นติ้งแอนด์พับลิสซิ่ง
ทองเจือ เขียดทอง. (2548). การออกแบบตราสัญลักษณ์, กรุงเทพฯ : สิปประภา
ปาพจน์ หนุนภักดี. (2555). Graphic Design Principles, นนทบุรี : ไอดีซี พรีเมียร์
ประชิด ทิณบุตร ธีระชัย สุขสวัสดิ์ และอดิสรณ์ สมนึกแท่น (2559). การออกแบบพัฒนาตราสัญลักษณ์ และรูปลักษณ์บรรจุภัณฑ์เพื่อเชื่อมโยงการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม สำหรับผลิตภัณฑ์ สุขภาพและความงามของกลุ่มวิสาหกิจชุมชน จังหวัดชัยนาท, วารสารวิชาการ ศิลปะสถาปัตยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร, (7,1) 84-94.
ปัณณ์ณัช ธนัทพรรษรัตน์. (2561). การออกแบบต้นแบบตราสัญลักษณ์และกราฟิกบนบรรจุภัณฑ์ ให้วิสาหกิจชุมชน กลุ่มคนรักษ์แพะบางบัวทอง ตำบลพิมลราช อำเภอบางบัวทอง โดยใช้วิธีการวิจัยปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม, วารสารวิจัยราชภัฏพระนคร สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร, (13,1), 167-181.
สุมิตร ศรีวิบูลย์. (2547). การออกแบบตราสัญลักษณ์, นนทบุรี : CORE FUNCTION.
สุชาดา คันธารส จตุรงค์ เลาหะเพ็ญแสง และอภิสักก์ สินธุภัค. (2557). การศึกษาแนวทางการออกแบบเลขน ศิลป์บนบรรจุภัณฑ์ที่แสดงเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมเพื่อประยุกต์ใช้ในการพัฒนา บรรจุภัณฑ์น้ำพริกของจังหวัดขอนแก่น, วารสารวิชาการศิลปะสถาปัตยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร, (5,1), 14-25
อภิชัจ พุกสวัสดิ์. (2556). การประชาสัมพันธ์เพื่อการสร้างภาพลักษณ์, กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย