จิตรกรรมไร้สำนึกภาพสะท้อนสัญชาตญาณเพศซ่อนเร้น

Unconscious Painting Reflects the Hidden Sexual Instinct

Authors

  • ชนิสรา วรโยธา
  • สมพร ธุรี

Keywords:

จิตรกรรมไร้สำนึก, ภาพสะท้อนวัยรุ่น, สัญชาติญาณเพศ, unconscious paintings, reflection of youth, gender instinct

Abstract

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาความคิดเด็กวัยรุ่นหญิงทางด้านความต้องการทางเพศภายใต้หลักทฤษฎีจิตวิเคราะห์ 2) เพื่อตีความสัญลักษณ์สะท้อนพฤติกรรมตามสัญชาตญาณเพศที่ซ่อนเร้นใจจิตไร้สำนึกรูปแบบผลงานจิตรกรรม 3) เพื่อเป็นสื่อสร้างความเข้าใจเรื่องเพศในเด็กวัยรุ่นเพศหญิง อายุระหว่าง 10-15 ปี ศึกษาทฤษฎีจิตวิเคราะห์ของซิกมันด์ ฟรอยด์ และวารสารวัดผลการศึกษาเรื่องปัจจัยทางจิตวิทยาที่ส่งผลต่อการยอมรับพฤติกรรมการมีเพศสัมพันธ์ของเด็กหญิงวัยรุ่นในพื้นที่เขตคลองเตย เพื่อจำแนกระดับจิตใจที่เป็นมูลเหตุอันสำคัญก่อให้เกิดความคิดนำพาไปสู่พฤติกรรมทางเพศในเด็กวัยรุ่นหญิงตอนต้น อายุระหว่าง 10-15 ปี ใช้การแทนค่าเชิงสัญลักษณ์ เพื่อนำเสนอสิ่งที่เป็นนามธรรมให้เป็นรูปธรรม โดยการศึกษาและวิเคราะห์นำข้อมูลที่ได้มาเป็นแนวทางในการสร้างสรรค์ผลงานจิตรกรรม จำนวน 3 ชุด คืองานทดลองชุดที่ 1 งานทดลองชุดที่ 2 และชุดที่ 3 เป็นผลงานสร้างสรรค์ที่สื่อถึงอารมณ์และความต้องการทางเพศในเด็กวัยรุ่นหญิง ผลการวิจัยพบว่า สภาพสังคมที่เปลี่ยนไปโดยเฉพาะสังคมที่เต็มไปด้วยค่านิยมทางสื่อวัตถุและการแข่งขันเด็กวัยรุ่นหญิงมีความชอบเสี่ยงทางเพศและความภาคภูมิใจในตนเองเพิ่มมากขึ้น โดยสามารถพบได้ในวัยรุ่นตอนต้นอายุระหว่าง 12-14 ปี สอดคล้องกับงานวิจัยของซิกมันด์ ฟรอยด์ ที่เกี่ยวข้องกับทฤษฎีจิตวิเคราะห์ว่าด้วยเรื่องสัญชาตญาณ  (Instinct) ลักษณะเอาแต่ได้ตามความพึงพอใจของตนเอง ผู้วิจัยจึงนำเสนอรูปแบบผลงานจิตรกรรมด้วยการใช้สัญลักษณ์ที่แทนค่าสื่อความหมายของเพศที่ซ่อนเร้นไว้ภายในจิตใจมีลักษณะเป็นภาพสัญญะของความใคร่รักและจินตนาการต่อตนเองให้ออกมาเป็นรูปธรรมด้วย รูปร่าง รูปทรง และสี ตัดทอนจากใบหน้าและร่างกายเด็กวัยรุ่นหญิง ประกอบกันขึ้นมา เพื่อสร้างรูปทรงใหม่จากการทับซ้อนกันของรูปทรงแบบโปร่งใสเป็นมิติของภาพที่มากกว่าหนึ่งลักษณะเคลื่อนไหวไม่หยุดนิ่ง เกิดการรับรู้และเข้าใจแก่ผู้ชมถึงเนื้อหาอารมณ์ความสับสนจินตนาการ และสะท้อนการเปลี่ยนแปลงของช่วงวัยสร้างประสบการณ์การรับรู้ของธรรมชาติทางเพศในเด็กวัยรุ่นหญิงตอนต้นให้กว้างขวางมากยิ่งขึ้นในสังคม โดยแสดงออกในรูปแบบผลงานจิตรกรรมสร้างสรรค์  The purposes of this research were 1) to study the thoughts of teenage girls related to sexual desire through psychoanalytic theory, 2) to interpret artistic symbols reflecting behavior based on hidden sexual instincts in the unconscious mind in a type of painting, and 3) create further understanding of instinctual sexualality of female adolescents aged between 10–15 years. The Study used the psychoanalytic theory of Sigmund Freud and the Journal of Psychological Factors to analyze on the acceptance of sexual behavior among teenage girls in the klong toey area of Bangkok, Thailand. States of mind that lead to sexual thoughts and behaviors in teenage girls between the ages of 10–15 years were classified and prepared for symbolic representation in order to turn use symbolic representations abstraction into concrete concepts artistically. After study and analysis of the data obtained, it was used as a guideline for creating 3 creative works conveying the emotions and lust of teenage girls: Experiment 1, Trial 2, and Series The third. The findings indicated that in changing social conditions, especially in societies that are full of media-promoted values, objects, and competition. Female adolescents are at risk of sexual intercourse. Also at risk is the quality of self-esteem found in teens between the ages of 12–14 years. This is consistent with Sigmund Freud’s research related to psychoanalytic theory. Concerning instincts, self-indulgent personality traits. The researcher, therefore, presents a painting style using symbols representing the meaning of the hidden gender within the mind. It is art characterized by symbolic image of love and imagination towards oneself though shapes, contours, and colors cut from the faces and bodies of adolescent girls. These are brought them together to create a new shape from the overlapping of transparent shapes. The dimensionality of the image involving multiple movement creates a dynamic wherein the painting does not stand still for viewers. The changes the viewer’ s perception and understanding of the content, emotions, confusion, imagination, and reflection of age in the painting, creating awareness of experience sexual nature in adolescents. It is hoped that young women will be more extensively represented and understood in society through this creative painting project.

References

กำจร สุนพงษ์ศรี. (2554). ศิลปะสมัยใหม่. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สดชื่น ชัยประสาธน์. (2539). จิตรกรรมและวรรณกรรมแนวเซอร์เรียลิสต์. กรุงเทพฯ: บริษัท ด่านสุทธาการพิมพ์ จำกัด.

ศุกร์ใจ เจริญสุข, ฉวีวรรณ สัตยธรรม และแผ จันทร์สุข. (2557). แนวคิดทฤษฎีทางการพยาบาลจิตเวชและสุขภาพจิต. กรุงเทพมหานคร: ธนาเพรส.

ราชบัณฑิตยสถาน. (2542). พจนานุกรม. กรุงเทพฯ: คุรุสภาลาดพร้าว

วิไลลักษณ์ วงศ์อาษา, ปิยะพร กองเงิน และสารารัตน์ วุฒิอาภา. (2558). ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมเสี่ยงทางเพศในวัยรุ่นหญิง กรณีศึกษามหาวิทยาลัยแห่งหนึ่ง. วารสารสาธารณสุขศาสตร์ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 3(9-12), 292-293.

อินทรียา อัญพัชร์ และดวงเดือน ศาสตร์ภัทร. (2563). ปัจจัยทางจิตวิทยาที่ส่งผลต่อการยอมรับพฤติกรรมการมีเพศสัมพันธ์ของเด็กหญิงวัยรุ่นในพื้นที่เขตคลองเตย. วารสารการวัดผลการศึกษา คณะจิตวิทยา วิทยาลัยเซนหลุยส์, 101(1-6), 35-41.

ณัฐยา ศรีทะแก้ว, เกษราภรณ์ เคนบุปฝา, วิไลวรรณ์ ปะธิเก และทรงวุฒิ ภัทรไชยกร. (2564). รูปแบบการสอนเพศศึกษาสำหรับเด็กวัยรุ่นไทยและผลลัพธ์การทบทวนวรรณกรรมอย่างเป็นระบบ. วารสารวิทยาศาสตร์สุขภาพ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สรรพสิทธิประสงค์, 3(9-12) 38-40.

สุริยะ ฉายะเจริญ. (2557). กรณีศึกษาผลงานสร้างสรรค์จากการสันนิษฐานรูปลักษณ์โบราณสถาน. ฉบับที่ 13. สืบค้นวันที่ 20 มกราคม 2566, จาก http://www.jumpsuri.blogspot.com/2014/04/blog-post.html

สำนักพิมพ์หกเหลี่ยม. (2562). ทฤษฎีจิตวิเคราะห์ของซิกมันด์ ฟรอยด์ บิดาแห่งจิตวิเคราะห์: โครงสร้างของจิต. สืบค้นวันที่ 10 มกราคม 2566, จาก https://www.sixfacetspress.net/content/4849/ทฤษฎีจิตวิเคราะห์ของซิกมันด์-ฟรอยด์-บิดาแห่งจิตวิเคราะห์

ออนไลน์. (2565). Erotic. สืบค้นวันที่ 15 มกราคม 2566, จาก https://www.Erotic.com/?client=safari

Maslow, A. H. (1943). A Theory of Human Motivation. Psychological Review, p.370-396. สืบค้นวันที่ 10 มกราคม 2566, จาก http://www.yorku.ca/dept/psych/classics/author.htm

ออนไลน์. (2566). Joan Semmel. สืบค้นวันที่ 10 มกราคม 2566, จาก https://www.alexandergray.com/artists/joan-semmel

ออนไลน์. (2566). Giuseppe Arcimboldo. สืบค้นวันที่ 11 มกราคม 2566, จาก https://www.wikipedia.org

วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี. (2566) ถ่ายภาพ คอมพิวเตอร์กราฟฟิกส์ และโปรเจคเตอร์ สืบค้นวันที่ 9 พฤษภาคม 2565, จาก https://th.wikipedia.org/wiki/หน้าหลัก

Downloads

Published

2023-11-25