การแสดงเดี่ยวเพื่อนำเสนอชีวิตของตัวละครที่ถูกกดทับจากวาทกรรมความสมบูรณ์แบบเรื่อง The Masterpiece

The Masterpiece: A solo performance to reveal the oppressed character from a discourse of perfection

Authors

  • ธีรภัทร์ นาคปานเสือ
  • คณพศ วิรัตนชัย

Keywords:

การแสดงเดี่ยว, ละครเควียร์, Solo Performance, Queer Theatre

Abstract

บทความวิจัยนี้เป็นการวิเคราะห์ความรู้จากผลงานสร้างสรรค์จากการวิจัยปฏิบัติการมีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างบทละครและนำเสนอการแสดงเดี่ยว การวิจัยครั้งนี้มีการศึกษาและรวบรวมข้อมูลจากเอกสารวิชาการด้านทฤษฎีวาทกรรมและมายาคติ การศึกษาวีดีทัศน์ ภาพยนตร์และบทละครที่เกี่ยวข้องเพื่อใช้เป็นแนวทางการเขียนบทละครโดยได้แรงบันดาลใจจากหนังสือเรื่อง การเดินทางของส่วนที่หายไป ( The Missing Piece Meets the Big O) ของ เชล ชิลเวอร์สเตน (Shel Silverstein) แปลโดย ปลาสีรุ้งเพื่อนำมาสร้างโครงเรื่องแล้วนำมาข้อมูลมาตีความเพื่อสร้างบทละครสำหรับการแสดงเดี่ยวโดยมีธีรภัทร นาคปานเสือเป็นนักแสดง กำกับการแสดงโดย สัณห์ไชญ์ เอื้อศิลป์ ผลการวิจัยพบว่าบทละครสำหรับการแสดงเป็นบทพูดเดี่ยว (monologue) ซึ่งมีการเลือกใช้สัญญะ การอุปมาอุปไมย แนวความคิดหลักของเรื่องคือ จงเรียนรู้ที่จะยอมรับและเติบโตในแบบของตัวเองโดยนำเรื่องราวการถูกลดคุณค่าในชีวิตจากความคาดหวังความสมบูรณ์และความสำเร็จของผู้อื่นโดยเล่าเรื่องผ่านตัวละครหลักชื่อ เอมมา เทย์เลอร์ซึ่งเธอแต่งตัวเป็นผู้หญิงแต่แท้จริงเธอเป็นผู้ชายอายุประมาณ 40 ปี บทละครมีลักษณะเป็นภาพปะติดปะต่อ (collage) ผลงานการแสดงเดี่ยวใช้เทคนิคและวิธีการแสดงแบบละครเควียร์เพื่อวิพากษ์วิจารณ์ เสียดสี ประชดประชันสังคมโดยเสนอมุมมองผ่านเพศที่สาม การเข้าสู่สภาวะของตัวละครใช้วิธีการด้นสด (improvisation) การเรียกความทรงจำในอดีต (memory recall) การฝึกหาความหมายของคำพูดและความหมายใต้คำพูด (subtext) ทดลองหาวิธีการนำเสนอใหม่ ๆ ผ่านกระบวนการซ้อมภายใต้แนวทางที่ผู้กำกับการแสดงกำหนดให้ โดยมีองค์ประกอบทั้งเสื้อผ้า พื้นที่และฉาก รวมทั้งแสงและเสียงที่ส่งเสริมสอดคล้องไปกับการแสดงทำให้สามารถสื่อสารแก่นความคิดไปสู่ผู้ชมให้เกิดเรียนรู้ไปกับการแสดงและตัวละคร  This research article is a result of knowledge analysis from practicing research entitled The Masterpiece (a solo performance) which aimed to create a play script and perform a solo performance. The theory of myth and discourse, video recording, films, play scripts were collected as research data for scriptwriting. The performance structure was inspired and interpreted from a book called The Missing Piece Meets the Big O originally by Shel Silverstein, and Thai translated by Pla Srirung, which used as a script creating and solo performed by Teerapat Nakpansue under the directing of Sanchai Uaesilapa. The study found that semiotic and metaphor were used in a monologue play script. The message of the story was learning how to accept life, and how to grow in own way by using the issue of perfect- being expectation discourse, and others’ success through the character named Emma Taylor who is a 40-year old male with a female appearance. The script is characterized as collage technic, the solo performance using the technic and method of queer theater to critic and parody the society through the perspective of homosexual. The improvisation, memory recall, and finding of the meaning and subtext technics were used to approach to be the character. The new style of the presentation consists of costume, space, scene, light, and sound along the strong directing was tried out to deliver a message, and making the learning process to audiences

References

กุฎาธาน ภิรมย์ชม. (2559). มายาคติว่าด้วยธรรมชาติในงานโฆษณาทางโทรทัศน์ของบริษัท ปตท. จำกัด มหาชน. วารสารปณิธาน. ปีที่ 12 ฉบับที่ 1 (มกราคม – มิถุนายน 2559) หน้า 17-40.

ณัฏฐพงษ์ สกุลเลี่ยว. ความสมบูรณ์แบบของครอบครัว. สืบค้นเมื่อวันที่ 7 กันยายน 2564. จากเวปไซต์ https://prachatai.com/journal/2011/08/36356

นพพร ประชากุล. (2547). มายาคติ โรล็องต์ บาร์ตส์. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ. ศูนย์หนังสือจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

Downloads

Published

2023-11-25