การศึกษาแนวทางการออกแบบผลิตภัณฑ์ด้วยเศษผ้าเพื่อเพิ่มโอกาสพัฒนาผลิตภัณฑ์ สำหรับชุมชนอีสานใต้ : กรณีเศษผ้าฝ้ายจังหวัดอุบลราชธานี
A Study of Product Design Strateag from Cloth Scraps as in Opportunity for Product Design Development in The Southern Isan Community: Case of The Cotton Scraps in Ubonratchathani
Keywords:
ออกแบบผลิตภัณฑ์, เศษผ้า, เพิ่มโอกาสพัฒนาผลิตภัณฑ์, ชุมชนอีสานใต้, ผ้าฝ้าย, จังหวัดอุบลราชธานีAbstract
การศึกษาแนวทางการออกแบบผลิตภัณฑ์ด้วยเศษผ้าเพื่อเพิ่มโอกาสพัฒนาผลิตภัณฑ์สำหรับชุมชนอีสานใต้ : กรณีเศษผ้าฝ้ายจังหวัดอุบราชธานี มีวัตถุประสงค์ในการวิจัย 3 ประการคือ 1) เพื่อศึกษาวัสดุ เทคนิค และกระบวนการที่เกี่ยวข้องกับการแปรรูปจากเศษผ้า 2) เพื่อหาแนวทางในการออกแบบและพัฒนาผลิตภัณฑ์จากเศษผ้าที่เหมาะสมกับกลุ่มผู้ผลิตผลิตภัณฑ์จากเศษผ้า 3) เพื่อออกแบบผลิตภัณฑ์จากเศษผ้า กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยครั้งนี้ ประกอบด้วย ผู้ผลิตผลิตภัณฑ์ ผู้บริโภคในพื้นที่ศึกษาคือ จังหวัดอุบลราชธานี สรุปผลการศึกษาเทคนิคและกระบวนการแปรรูปสามารถนำเศษผ้ามาแปรรูปได้หลากหลายวิธีและมีคุณสมบัติ ความยากง่ายแตกต่างกันดังที่ได้กล่าวมาและสามารถเป็นแนวทางให้กับกลุ่มผู้ผลิตที่ต้องการแปรรูปผลิตภัณฑ์จากเศษผ้าได้ โดยผู้วิจัยได้นำเทคนิคต่าง ๆ มาทดลองและออกแบบเป็นผลิตภัณฑ์เครื่องประกอบการแต่งกายเพื่อเป็นต้นแบบให้กับผู้ผลิตในจังหวัดอุบลราชธานี และใช้ผลการประเมินจากกลุ่มผู้ผลิตและผู้บริโภค ประกอบด้วย 3 ด้านคือ 1. ด้านประโยชน์ใช้สอย 2. ด้านความสวยงาม 3. ด้านขั้นตอนการผลิต ผลการประเมิน ด้านประโยชน์ใช้สอย อยู่ในระดับดีมาก ด้านความสวยงาม อยู่ในระดับดี ด้านขั้นตอนการผลิต อยู่ในระดับพอใช้Downloads
Published
2024-01-30
Issue
Section
Articles