การศึกษาท่ารำนาฏศิลป์สำหรับเด็กดาวน์ซินโดรม : ศึกษาเฉพาะการเคลื่อนไหวกล้ามเนื้อมัดใหญ่
Study of Thai Dance for Down Syndrome Children: Specific Focussing on the Movement of Gross Motor
Keywords:
นาฏศิลป์ไทย, เด็กกลุ่มอาการดาวซินโดรม, กล้ามเนื้อมัดใหญ่, Thai Dance, Down Syndrome Children, Gross motorAbstract
การศึกษาครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาท่ารำนาฏศิลป์ไทย เฉพาะการเคลื่อนไหว กล้ามเนื้อมัดใหญ่สำหรับเด็กดาวน์ซินโดรม อายุระหว่าง 6-9 ปี เชาว์ปัญญาระหว่าง 50 – 70 หลังการฝึกกิจกรรมนาฏศิลป์ไทย โดยใช้เพลงระบำเก็บใบชา เพลงระบำงูกินหาง เพลงเซิ้งกะติ๊บ และเพลงตาลีกีปัส และเปรียบเทียบความสามารถในการใช้กล้ามเนื้อมัดใหญ่ของเด็กกลุ่มอาการดาวน์ซินโดรมระหว่างก่อนและหลังการฝึกด้วยกิจกรรมนาฏศิลป์ไทยที่กำลังศึกษาอยู่ในศูนย์การศึกษาพิเศษ จังหวัดเลย จำนวน 8 คน โดยเลือกแบบเจาะจง ระยะเวลาทำการทดลอง 12 สัปดาห์ สัปดาห์ละ 5 วัน วันละ 30 นาที รวม 60 ครั้ง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้เป็นแผนการสอนการใช้กิจกรรมนาฏศิลป์ไทยและแบบประเมินกล้ามเนื้อมัดใหญ่ของคู่มือส่งเสริมพัฒนาการเด็กของโรงพยาบาลราชานุกูล การวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติแบบ The Wilcoxon Matched Pair Signed – Ranks Test ผลการวิจัยพบว่าหลังจากเด็กกลุ่มอาการดาวน์ซินโดรมได้รับการฝึกด้วยโปรแกรมนาฏศิลป์ไทยความสามารถในการใช้กล้ามเนื้อมัดใหญ่ของเด็กกลุ่มอาการดาวน์ซินโดรมระดับเชาว์ปัญญา 50-70 อยู่ในระดับดี และหลังจากที่ได้รับการฝึกด้วยโปรแกรมนาฏศิลป์ไทยกล้ามเนื้อมัดใหญ่ในเด็กกลุ่มอาการดาวน์ซินโดรม มีพัฒนาการที่ดีขึ้นก่อนการฝึกด้วยกิจกรรมนาฏศิลป์ไทยอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ข้อสังเกตและข้อเสนอแนะที่ได้จากการวิจัยครั้งนี้ ควรจะมีการวิจัยความสามารถในการใช้กล้ามเนื้อมัดใหญ่ของเด็กที่มีความบกพร่องทางสติปัญญาประเภทอื่นๆ โดยใช้กิจกรรมนาฏศิลป์ไทยและควรมีการวิจัยความสามารถในการใช้กล้ามเนื้อมัดใหญ่ของเด็กกลุ่มอาการดาวน์ซินโดรมในระดับอายุอื่นๆ โดยใช้กิจกรรมนาฏศิลป์ไทย เช่น การใช้กิจกรรมนาฏศิลป์ไทย เพื่อเพิ่มความตึงตัวของกล้ามเนื้อสำหรับบุคคลกลุ่มอาการดาวน์ซินโดรมวัยผู้ใหญ่ The objective of this study is to know the specific Thai Dance on movement of gross motor in Down Syndrome Children. In term of 6-9 years old and IQ (Intelligent Quotient) rates at 50-70 as a treated group were specifically trained by using Thai Dance processes. Response of individual Thai Dance was applied to determine capacity of gross motor at Loei Special Education Center. The studied group, a number of 8 persons was selected specifically while use of experimented period was 12 weeks. The two instruments testing in this research was Thai Dance Course Syllabus and using of Children developing skill text from Rajanukul Hospital. The statistical analysis was calculated using Wilcoxon Matched-Pairs Signed - Ranks Test. The results of this experiment shown that the treated Down Syndrome Children with Thai Dance program associated with capacity of using gross motor at 50-70 in IQ rates was well ranged. Meanwhile, the treated Down Syndrome Children with Thai Dance program, the gross motor could be significantly better developed (.05) The Observation and suggestion in this study, Thai Dance Program should be studied the capacity of using gross motor in other intellective abnormal children. However, in the future should study the capacity of using gross motor in Down Syndrome Children at different age on base of using Thai dance especially, application of Thai dance activity would be used to increase the muscle capacity for adult Down Syndrome people.Downloads
Published
2024-01-30
Issue
Section
Articles