การศึกษาลายพิณในวัฒนธรรมดนตรีอีสานกรณีศึกษาจังหวัดอุบลราชธานี

A Study Traditional Esan Tune (Laipin) in Esan Music culture Case Study of Ubonrajchatani

Authors

  • ธงชัย จันเต

Keywords:

ดนตรีไทย, ดนตรีพื้นบ้าน, พิณ

Abstract

จากการศึกษาวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความเป็นมาของพิณอีสาน ลักษณะทางกายภาพ ความเชื่อบทบาทของพิณต่อสังคมวัฒนธรรมของชาวอีสาน และวิเคราะห์ลักษณะทางดนตรีของลายพิณอีสานทางด้านการดำเนินของทำนองซึ่งทำการศึกษาโดยวิธีการสำรวจภาคสนามประกอบการสัมภาษณ์ และตรวจสอบกับเอกสารตำราที่เกี่ยวข้อง สามารถสรุปผลการศึกษาได้ดังนี้ ประวัติความเป็นมาของพิณไม่มีปรากฏหลักฐานชัดเจนว่ามีมาแต่เมื่อใด สันนิฐานว่า คำว่าพิณ มาจากภาษาบารี่สันสกฤตคำว่า วีณา ซึ่งเป็นพิณในวัฒนธรรมอินเดียโบราณ โดยนำเข้ามาประเทศไทยเมื่อสมัย 1,000 กว่าปีมาแล้ว ในส่วนของจังหวัดอุบลราชธานีนั้น มีการใช้พิณในช่วงประมาณ 200 ปีที่ผ่านมา ลักษณะทางกายภาพของพิณนั้นมีการปรับเปลี่ยนรูปแบบให้เป็นไปตามลักษณะการเล่นของหมอพิณแต่ละคน ซึ่งพัฒนามาตั้งแต่ พิณสองสาย สี่สาย และสามสาย ในวัฒนธรรมดนตรีของจังหวัดอุบลราชธานีนั้นยังนิยมใช้พิณสองสายในการบรรเลงโดยทั่วไป และพิณสองสายยังเป็นที่นิยมนำมาเป็นเครื่องดนตรีที่ใช้ในการประกวดประชันอีกด้วย ในยุกต์แรกพิณที่มีใช้กันนั้นเป็นพิณโปร่งเท่านั้น ต่อมาได้พัฒนามาเป็นพิณไฟฟ้าที่มีใช้กันจนถึงปัจจุบัน บทบาทของพิณในวัฒนธรรมดนตรีอีสาน ในอดีตเป็นเครื่องดนตรีที่ได้รับความนิยมรองลงมาจากแดนใช้ร่วมบรรเลงกับแคน เครื่องประกอบจังหวะ บรรเลงเพื่อความบันเทิงในยามว่าง และเทศกาล ปัจจุบันมีการพัฒนารูปแบบพิณให้ใช้ระบบอิเลคทรอนิกส์ผ่านเครื่องขยายเสียงพิณจึงมีเป็นเครื่องดนตรีหลักในวงดนตรีพื้นบ้านประเภทต่างๆ อาทิ วงโปงลาง วงกลองยาว ฯลฯ ตลอดจนมีบทบาทสำคัญในการเป็นส่วนร่วมขบวนแห่ประเพณีที่สำคัญของ จังหวัดอุบลราชธานี การวิเคราะห์ลักษณะทางดนตรีพบว่า ลายส่วนใหญ่มีทำนองอยู่ในบันไดเสียงไมเนอร์ เพนทาโทนิค การบรรเลงลายพิณของหมอพิณแต่ละคนนั้น จะมีความแตกต่างในลายละเอียด ของการแปลทำนองในบางช่วงเพลงแต่มีทำนองหลักที่คงเดิม บางท่วงทำนองมีการบรรเลง แบบด้นสด (Improvisation) เช่นเดียวกับดนตรีแจ๊สของชาวตะวันตก และการบรรเลงแบบด้นสดนั้นถือเป็นเอกลักษณ์ของดนตรีพื้นบ้านอีสานแบบดั้งเดิม This research has the purpose to study about the background of Esan Tune, its figure, belief in role of Pin in Esan society and culture and to analyse the tone of Laipin. This research was studied by action research, interview and check in related books. The conclusion is below. It's not exact when the Pin appeared. It's assumed that "Pin" comes from Pali and Sanskrit language. "Weena" which is the Pin in ancient Indian cultures. It came to Thailand 1,000 years ago and came to Ubonrajchatani 200 years ago. The figure of Pin has changed up to each Pin player. It's developed from two lines, four lines and three lines. In Ubonrajchatani music calture, they band in the competition. At first age, they only use PINPRONG (acoustic instruments), but now they develop to use electric Pin. The role of Pin in Esan culture in the past is being a musical instrument which is less favored than Kan. It's used with Kan, and the rhythm components to play in free times and in the festival. Nowadays, Pin is developed into electronic system though the speakers. So it has the role as a main instrument in local musical band such as Ponglang band, Klongyao band and so on. Besides, Pin is used in important tradition carnival in Ubonrajchatani. The analysis of musical figure found that most Lais have the rhythm at Pentatonic Minor Scale. Playing Laipin of each player is different in the details of rhythm translation in some parts of songs but the main rhythm is still used. Some rhythm is played in improvisation like Jazz of Western countries. The improvisation is the individual characteristic of original local Esan music.

Downloads

Published

2024-01-30