การพัฒนางานหัตถกรรมพื้นบ้านจากเส้นใยย้อมสีธรรมชาติ
The Development of Local Handicraft from Naturally Dyed Fibers
Keywords:
สีย้อมและการย้อมสี, เส้นใยธรรมชาติ, หัตถกรรมAbstract
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ในการดำเนินงานวิจัย 4 ประการดังนี้ 1) เพื่อศึกษารวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับวัสดุเส้นใยพืชที่นำมาใช้ในงานหัตถกรรมพื้นบ้าน 2) เพื่อศึกษารวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับวัสดุธรรมชาติที่มีคุณสมบัติในการให้สี 3) เพื่อทดลองและพัฒนากระบวนการย้อม สีธรรมชาติกับเส้นใยพืชรวมทั้งการพัฒนาปัจจัยอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง 4) เพื่อสร้างต้นแบบจาก เส้นใยที่ได้นํามาเป็นแนวทางหนึ่งในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ชุมชน สําหรับการศึกษาวิจัยในครั้งนี้ ผู้วิจัยได้กำหนดประชากรเป็นชุมชนที่ผลิตงานหัตถกรรมพื้นบ้านจากเส้นใยพืชและกลุ่มตัวอย่าง คือ กลุ่มสตรีทอผ้าฝ้ายย้อมสีธรรมชาติบ้านดื่มใหญ่ อำเภอเมือง จังหวัดอำนาจเจริญ ซึ่งเป็นกลุ่มผู้ผลิตงานหัตถกรรมพื้นบ้านทอผ้าฝ้ายย้อมสีธรรมชาติ จากการวิจัยในครั้งนี้พบว่า 1) มีการใช้เส้นใยของพืชในการผลิตงานหัตถกรรมจากส่วนต่างๆ 5 ส่วน คือ ส่วนที่ 1 คือ เนื้อเยื่อด้านในของผลหรือผนังด้านในของผล เช่น ฝ้าย รัก นุ่น และงิ้ว ส่วนที่ 2 คือ ใบ เช่น ป่านศรนารายณ์ สับปะรด เตยหนาม เป็นต้น ส่วนที่ 3 คือ เส้นใยจากเนื้อเยื่อด้านในเปลือกของลำต้น เช่น ปอแก้ว ปอกระเจา ส่วนที่ 4 คือ เส้นใยที่เป็นเปลือกหรือเนื้อไม้ของต้นไม้ เช่น ยูคาลิปตัส สนสามใบหรือสนเกี๊ยะ ปอแก้ว ปอสา เป็นต้น และส่วนที่ 5 คือ ส่วนอื่น ๆ ของพืชเส้นใย เช่น ทางหรือก้านใบประกอบของพืชตระกูลปาล์ม ก้านช่อดอกของพืชตระกูลหญ้า ซึ่งผู้วิจัยได้เลือกเส้นใยพืชจากใบเตยหนามเป็นกรณีศึกษา เนื่องจากผลการศึกษาพบว่า เตยหนามเป็นพืชที่มีโอกาสในการพัฒนาเข้าสู่ตลาดได้สูง มีคุณสมบัติในการแปรรูปที่ดี คือ มีความเหนียว อ่อนนุ่ม แปรรูปได้หลากหลาย สามารถปลูกและขยาย พันธุ์ได้ง่าย อีกทั้งที่ผ่านมายังมีงานวิจัยและการพัฒนาจำนวนน้อยมาก 2) สําหรับวัสดุจากธรรมชาติที่มีคุณสมบัติในการให้สีพบว่า มีวัสดุหลายชนิดสามารถนำมาสกัดให้น้ำสีได้ คือ สีจากสัตว์ เช่น ครั่ง สีจากแร่ธาตุ เช่น โคลน ดิน เป็นต้น และสีจากพืชบางชนิดสามารถ สกัดได้จาก ใบ ราก หัว ดอก ผล เปลือกและแก่น ในการทดลองครั้งนี้ผู้วิจัยได้ใช้หัว ดอกและเปลือก สกัดน้ำสีด้วยวิธีการใช้เครื่องปั่นน้ำผลไม้ปั่นจนได้น้ำสีแล้วกรองเอาแต่น้ำสีด้วยผ้าขาวบางซึ่งถือเป็นเทคนิควิธีการที่สะดวกต่อการนำไปใช้สกัดเอาน้ำสี 3) สำหรับการทดลองและพัฒนากระบวนการย้อมสีธรรมชาติเส้นใยผู้วิจัยได้เลือกเส้นใยพืชที่ใช้ใบเป็นวัสดุในการทดลองและพัฒนาผู้วิจัยพบว่า เส้นใยจากใบเตยหนามสามารถพัฒนาเปลี่ยนแปลงกรรมวิธีผลิตจากที่เคยใช้วิธีการจักเป็นเส้น เปลี่ยนมาเป็นวิธีการลอกผิวเนื้อเยื่อโดยการต้มให้เปื่อยเพื่อให้ได้เส้นใยเล็กๆ สำหรับการทดลองย้อมสีธรรมชาติได้ใช้หม้อต้มย้อมสีที่ได้พัฒนาใหม่ เพื่อให้สามารถควบคุมอุณหภูมิความร้อนในการย้อมสีเส้นใย ด้วยการอ่านค่าจากมาตรวัดอุณหภูมิความร้อนทำให้การย้อมสีธรรมชาติสามารถควบคุมคุณภาพและโทนสีได้ดีขึ้นกล่าวคือ เส้นใยเตยหนามที่นำมาย้อมสีธรรมชาติมีสีสม่ำเสมอกันตลอดทั้งเส้นใยในระดับอุณหภูมิ 50 - 95 องศาเซลเซียส โดยใช้น้ำสี 100 ml ต่อน้ำ 300 ml แล้วใส่น้ำส้มสายชูลง 20 ml เพื่อช่วยให้สีติดเส้นใย ซึ่งเทคนิควิธีการในการย้อมสีเส้นใยเตยหนามต้องแช่ในน้ำแล้วนำมาบิดพอหมาดบรรจุลงในหม้อต้มย้อมสีธรรมชาตินาน 10 - 15 นาที จากนั้นจึงนำเส้นใยขึ้นมาบิดพอหมาด และตากแดดจนแห้งนำไปแช่น้ำเกลือเพื่อป้องกันสีตก การทดสอบความคงทนของการติดสี สามารถดำเนินการได้โดยวิธีซักกับผงซักฟอก 4) สำหรับแนวทางในการนำผลการวิจัยมาพัฒนา เป็นผลิตภัณฑ์ชุมชนผู้วิจัยพบว่า เส้นใยเตยหนามสามารถนำมาทอและออกแบบเพื่อพัฒนา เป็นผลิตภัณฑ์ประเภทสิ่งของเครื่องใช้ ตลอดจนของที่ระลึกต่างๆ ได้ เช่น กระเป๋าสะพาย เบาะรองนั่ง หมอนอิง โคมไฟและอื่นๆ ได้อย่างเหมาะสม ซึ่งสามารถเป็นทางเลือกให้กับผู้ผลิต และผู้บริโภคได้ The four purposes of this paper include 1) to study and collect information on plant fibers that are used in local handicraft 2) to study and collect information on natural materials that can be used as natural dyes 3) to experiment and develop natural dye process with plant fibers as well as develop other related factors 4) to decide on the design methods and develop products made from fiber plants to meet the consumers' demand in modern lifestyles. In this research, the researcher chose a community that produces local handicraft products from plant fibers as the sample. And, the sample is a women's naturally dyed cotton weaving group of Khuem Yai Village, Muang. Amnatcharoen. The group produces local handicraft including textile and woven plant fiber mats. The research indicates that 1) five plant parts that were used in the production process of handicraft included the tissues inside the fruits such as cotton, kapok, crown flowers and Bombax ceiba L. (Red silk cotton tree) 2. leaves such as sisal, pineapples, Pentaspadon velutinus Hook. f. 3. fibers from phloem such as roselle, jute 4. fibers from tree barks or wood such as eucalyptus, Pinus kesiya Royle ex Gordon, roselle, paper mulberry tree and 5. other parts of fiber plants such as branches of the trees related to palm tree families, peduncle of poaceae. 2) natural materials that can be extracted for natural dyes include colors from animals such as sticklac, colors from minerals such as clay, soil and colors extracted from plant parts such as leaves, roots, heads, flowers, fruits, barks and wood. To extract dye colors, the plant parts are simmered. In the dye process, the manufacturers normally use the equipment that is available in the community such as clay firepots, basins, galvanized buckets, and pans. Firewood is used as the fuel. The key technique of dye process is to simmer the plant parts using low to moderate heat for at least 30 minutes. The length of time it takes to boil depends on what materials are being dyed. Also, the manufacturers usually add a mordant such as vinegar, alum and salt. 3) the researcher chose plant fibers to use in the experiment and natural dye process development and found that the fibers of Penlaspadon velutinus. Hook. f. are strong and soft. However, the production process can be changed and developed. Instead of stripping the leaves of Penlaspadon velutinus. Hook. f. and comb them so that they were separated into small pieces. Then, the fibers were twisted into threads which can be woven into cloth. The threads were dyed using a dyeing boiler that has been recently developed so that it can control the heat when dyeing fibers by checking the heat from a thermometer. Because of this, the quality of natural dye process and the color tones can be better controlled that is the fibers of Penlaspadon velutinus. Hook. f. that were dyed with natural dyes have even colors under 50-95 degree Celsius. Some of natural dyes can be ground to extract their colors before boiling. The easy method is grinding in a blender that is available in the market. Then, add the liquid colors in the dyeing boiler, 100 ml of the dye per 300 ml of water. After that, add 30 ml of vinegar as a mordant. Heat the water until the temperature reaches 50-95 degree Celsius. Soak the bleached fibers of Penlaspadon velutinus. Hook. f. in cold water, take the fibers out of the water and twist them to remove the extra water to prevent them from being too soaking. Then, put the fibers in the dyeing boiler and leave them for 10-15 minutes. Then, take the fibers out of the boiler and remove the extra water out of them. Leave the fibers to dry. When they are put them in salt water to prevent them from bleaching. To test how long the colors can stay, wash the fibers with detergent and leave them under the sun. 4) The researcher also found that, to identify ways to design and develop products made from fiber plants, woven materials from Penlaspadon velutinus. Hook. f. can be designed to develop consumer products as well as souvenirs such as shoulder bags, cushions, backrest pillows, and lamps in appropriate ways. These can offer manufacturers and consumers many choices to choose from.Downloads
Published
2024-01-30
Issue
Section
Articles