การศึกษาหัตถกรรมชุมชน กรณีผลิตภัณฑ์หินทราย อำเภอสีคิ้ว จังหวัดนครราชสีมา

The Study on Community Handicraft Industry: Sand-Stone Products of Amphoe Si-khio Nakhon Rachasima Province

Authors

  • มนัส จอมปรุ

Keywords:

หัตถกรรมชุมชน, ผลิตภัณฑ์หินทราย, อำเภอสีคิ้ว จังหวัดนครราชสีมา

Abstract

The purposes of the study on community handcraft industry: sand-stone products of Amphoe Si-khu Nakorn Ratchasima province are; to investigate the background, history, and the evolution of the sand-stone products of Amphoe Si-khu Nakorn Ratchasima, to investigate the production component of the sand stone products, and to find out the problems of the management method for the sand stone product of the community. The population and the samples of the study were the 4 groups involving to sand stone crafts. They were 20 shop owners, 25 craftsmen, 15 consumers, and 10 involving persons. The instrument used for data collection were the 4 interview forms including the interview form for shop owners, the interview form for craftsmen, the interview form for the consumers, and the interview form for the involving persons. The data were collected during January 2009-February 2010. The data obtained for data analysis were from the interviews. The data then analyzed according to the structure of the interview. The data were described in the form of composition which the researcher obtained from the study and the data collected from field studies, observations, and interviews analyzed according to the purposes and the framework of the study. The findings of the study revealed that the evolution of the sand-stone products of Amphoe Si-khu Nakorn Ratchasima started from household crafts before expanding into family business. The need of the people in the community was various therefore; the careers of the people were different. The results of this differentiate career led to the various sources in the community besides the income from agriculture. The career became local wisdom which inherited from generation to generation. The components of the production were materials, capital, laboring, geographical management. economic condition, the need of usage, taste, beliefs, local wisdom transmission. The components involved to the production process from the stone preparations. stone drafting, model cutting. pattern carving, accessory decoration, and coloring. The investigation to the types of the sand stone products were decoration sand stone products, souvenir sand stone products, accessory sand stone products, and sacred sandstone The problems and their effects to the management process were environmental effects including the effects on soil, water, air, and forest. The economical effects included the effects on income and expense, laboring wage, living status. The social and cultural effects included the effects on local wisdom, social relationship, the usage benefit, construction of affective domain, art, and beliefs.  รายงานการวิจัยเรื่องการศึกษาหัตถกรรมชุมชน กรณีผลิตภัณฑ์หินทราย อำเภอสีคิ้ว จังหวัดนครราชสีมา มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาประวัติที่มาและวิวัฒนาการ หัตถกรรมหินทรายของชุมชน อำเภอสีคิ้ว จังหวัดนครราชสีมา เพื่อศึกษาองค์ประกอบการผลิต ผลิตภัณฑ์หินทรายและเพื่อหาปัญหาแนวทางพัฒนาบริหารจัดการผลิตภัณฑ์หินทรายในชุมชน ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง เป็นกลุ่มที่เกี่ยวข้องกับอาชีพงานหัตกรรมหินทรายทั้งหมด 4 กลุ่ม คือ กลุ่มผู้ประกอบการ จำนวน 20 ร้าน กลุ่มช่าง แรงงาน จำนวน 25 คน กลุ่มผู้บริโภคจำนวน 15 คน กลุ่มผู้ที่เกี่ยวข้อง จำนวน 10 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล มีทั้งหมด 4 ชุด ประกอบด้วย แบบนำสัมภาษณ์กลุ่มผู้ประกอบการ แบบนำสัมภาษณ์กลุ่มช่าง แรงงาน แบบนำสัมภาษณ์กลุ่มผู้บริโภค แบบนำสัมภาษณ์กลุ่มผู้ที่เกี่ยวข้อง ระยะเวลาที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ระหว่างเดือนมกราคม 2552 - กุมภาพันธ์ 2553 วิธีการสรุปผลการวิเคราะห์ข้อมูล โดยใช้วิธีวิเคราะห์ข้อมูลจากแบบนำสัมภาษณ์ โดยวิเคราะห์ตามโครงสร้างและแบบสัมภาษณ์ที่กำหนดขึ้น โดยนำอภิปรายในรูปความเรียง ซึ่งผู้วิจัยได้ข้อมูลจากการศึกษา และข้อมูลที่ได้จากการเก็บรวบรวมข้อมูลภาคสนาม จากการสังเกตและการสัมภาษณ์ศึกษาวิเคราะห์ตามจุดมุ่งหมายและขอบเขตที่กำหนดไว้ ผลการวิจัยพบว่า วิวัฒนาการหัตถกรรมหินทรายของชุมชน อำเภอสีคิ้ว เริ่มจากงานหัตถกรรมในครอบครัวขยายเป็นธุรกิจที่สร้างรายได้ให้กับครอบครัว แม้ความต้องการของมนุษย์ในสังคมจะมีหลากหลายแตกต่าง ส่งผลให้คนในชุมชนมีอาชีพและรายได้นอกเหนือจากการประกอบอาชีพเกษตรกรรม และได้มีการสีบทอดภูมิปัญญาท้องถิ่นให้กับชนรุ่นหลัง องค์ประกอบการผลิตที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ วัสดุและอุปกรณ์ เงินทุน แรงงาน การจัดการสภาพทางภูมิศาสตร์ สภาพทางเศรษฐกิจ ความจำเป็นทางประโยชน์ใช้สอย รสนิยม ความเชื่อ การถ่ายทอดภูมิปัญญาท้องถิ่น ซึ่งมีผลเกี่ยวข้องต่อกระบวนการผลิตตั้งแต่ การเตรียมหิน การร่างแบบลงบนหิน การตัดหุ่นหรือการแกะสลักลวดลาย การเก็บรายละเอียด และการตกแต่งสี ด้านประเภทและรูปแบบผลิตภัณฑ์หินทราย ปรากฏว่า ประเภทและรูปแบบผลิตภัณฑ์หินทรายที่ใช้ในการตกแต่ง ประเภทและรูปแบบผลิตภัณฑ์ที่ใช้เป็นของที่ระลึกและของประดับ และประเภทและรูปแบบผลิตภัณฑหินทรายรูปเคารพ ด้านปัญหาและผลกระทบต่อกระบวนการบริหารจัดการ อันประกอบไปด้วย ผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม อันได้แก่ ดิน น้ำ อากาศ และป่าไม้ ด้านเศรษฐกิจ ได้แก่ รายได้และรายจ่ย การจ้างแรงงาน ฐานะความเป็นอยู่และด้านสังคมและวัฒนธรรม ได้แก่ ภูมิปัญญาท้องถิ่น สังคมสัมพันธ์ ประโยชน์ใช้สอย การสร้างจิตพิสัย ศิลปะและความเชื่อ

Downloads

Published

2024-01-31