การศึกษาและพัฒนาผลิตภัณฑ์จากผ้าทอมือในจังหวัดศรีสะเกษ

Research and Development of Hand-Woven Fabic Products in Sisaket

Authors

  • จักรพันธ์ โสมะเกษตริน

Keywords:

Development, Hand Woven Fabric , Sisaket Province, การพัฒนาผลิตภัณฑ์, ผ้าทอมือ, จังหวัดศรีสะเกษ

Abstract

The objectives of this research were: (1) to compile information about Sisaket hand woven fabric in terms of its production planning and procedures, applications, and artistic values, (2) to study the fabric production procedures in terms of processes, pattern design, and product design, and (3) to seek ways to develop new fabric products. The participants in this study were sampled from a group of locals who were stakeholders in the hand-woven fabric industry: local experts in hand-woven fabric, fabric-weavers, and retailers of the fabric products. Field research was carried out with two groups of participants based on their ethno-cultural backgrounds, namely, Tai-Lao, and Mon-Khmer. The results were as follows. First, among Sisaket locals, hand-weaving was done for daily use and special occasions. Weaving procedures involved planning and determining the specifications of the product in terms of dye, proportion, lining, lining, and pattern details. The shapes, structures, and patterns on the fabric were determined by the specific applications for which the fabric was made. In addition, the weavers considered weaving tools and equipment as well as weaving techniques as keys to creating a beautiful piece of fabric and developing the product's special characteristics or identity. Second, in terms of production processes, pattern design, and product design, it was found that weaving was a form of customization which has been passed along over several generations. It reflected the weaver's character, beliefs, values, and intellect. Culturally, it could be said that the patterns and colors on the fabric were unique and congruent with the weavers; way of life. It was also found that not only was Sisaket hand-woven fabric used to make clothing, but it has also been turned into a number of products, such as bags, such as bags, belts, brooches, key holders, faux flowers, and scarves. It has also been used in interior decoration, furniture upholstery, or home furnishings. Third, regarding product development, it was suggested that there should more research into different fabric applications, especially applications other than clothing, which has been a major but mundane application. Fine and highly valued local cultural uniqueness should be used in product design, Knowledge contributed by the various ethnic groups in terms of crafting skills and artistic values may be integrated into the creation of single pieces of fabric. This is because consumers' beliefs have changed, and so have fabric applications. Creative patterns and new weaving techniques will help develop products that better respond to the market demand. As part of this study, the author has invented and developed Sisaket hand-woven fabric products. In order to achieve good selection of silk and cotton fibers, quality of the fibers was tested before production began. Final products were also tested according to ISO 2062 1993 (E) METHOD B and ASTM D 1059: 2001 in order to develop a weaving methods by the various ethnic groups for the purpose of both exquisiteness and proper applications. Finally, the findings in this study were used to create prototypes of Sisaket fabric products as shown in the appendix.  การศึกษาและพัฒนาผลิตภัณฑ์จากผ้าทอมือในจังหวัดศรีสะเกษ มีวัตถุประสงค์ในการวิจัย 3 ประการ คือ 1) รวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับแบบแผนการทอผ้า ประโยชน์ใช้สอยและวิเคราะห์ความงามของผ้าทอมือในจังหวัดศรีสะเกษ 2) ศึกษากรรมวิธีการผลิตผ้าทอมือในจังหวัดศรีสะเกษ ในด้านกระบวนการผลิต การออกแบบลวดลาย และการออกแบบผลิตภัณฑ์ 3) ศึกษาแนวทางการพัฒนาผลิตภัณฑ์ กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยครั้งนี้ ประกอบด้วย ปราชญ์ชาวบ้าน ที่มีความเชี่ยวชาญด้านผ้าทอมือ ผู้ผลิตผ้าทอมือและผู้จำหน่ายหัตถกรรมจากผ้าทอมือในจังหวัดศรีสะเกษ โดยแบ่งพื้นที่ในการวิจัยตามกลุ่มชาติพันธุ์ 2 กลุ่ม คือ กลุ่มวัฒนธรรมไทย-ลาว และกลุ่มวัฒนธรรมมอญ-เขมร ผลการวิจัย พบว่า 1) การทอผ้าของชาวศรีสะเกษที่ผ่านมาโดยส่วนใหญ่มีจุดประสงค์ ในการทอเพื่อการใช้สอยในชีวิตประจำวันและการใช้ในโอกาสพิเศษต่างๆ มีกระบวนการทอที่มีการกำหนดระเบียบแบบแผนและมีขอบเขตในการสร้างสรรค์ผลงานในเรื่องของสี สัดส่วน เส้นและลวดลาย โดยพิจารณาจากประโยชน์ใช้สอยเป็นตัวกำหนดวิธีการสร้างรูปทรง โครงสร้างและลวดลายบนผืนผ้า นอกจากนี้ยังพบว่า การเลือกใช้เครื่องมืออุปกรณ์ และเทคนิควิธีการผลิต ผู้ผลิตถือเป็นส่วนสำคัญในการสร้างสรรค์ความงามบนผืนผ้า และนำมาใช้ในการพัฒนาลักษณะพิเศษหรืออัตลักษณ์ต่างๆ ด้วย 2) ด้านกระบวนการผลิต การออกแบบลวดลาย และการออกแบบผลิตภัณฑ์ พบว่า การทอผ้าเป็นการกำหนดแบบแผนที่สืบทอดกันมาแต่โบราณ สามารถบ่งบอก ถึงลักษณะนิสัยของผู้ทอ แนวความคิด ค่านิยมและภูมิปัญญา ดังนั้นอาจกล่าวได้ว่า ลวดลายและสีสันถือเป็นเอกลักษณ์เฉพาะที่กับวัฒนธรรมในการดำเนินชีวิต นอกจากนั้นยังพบว่า ผ้าทอมือของจังหวัดศรีสะเกษไม่เป็นแต่เพียงอาภรณ์สำหรับการสวมใส่ปกปิดร่างกายเท่านั้น ปัจจุบันมีการนำมาแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ต่างอีกมากมาย เช่น กระเป๋า เข็มกลัด พวงกุญแจ ดอกไม้ประดิษฐ์ ผ้าพันคอ หรือแม้กระทั่งประโยชน์ในการตกแต่งหรือทำสิ่งห่อหุ้มเฟอร์นิเจอร์หรือเครื่องเรือน 3) จากการศึกษาแนวทางการพัฒนาผลิตภัณฑ์ผ้าทอมือในจังหวัดศรีสะเกษ ควรมีการศึกษาแนวทางการใช้งานที่หลากหลาย โดยเฉพาะการนำมาแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์อื่นนอกเหนือจากเครื่องแต่งกายที่ถือว่าเป็นวัตถุประสงค์หลักแต่เดิม และควรใช้อัตลักษณ์ประจำถิ่นที่มีคุณค่าและความงาม มาเป็นแนวทางในการออกแบบ ทั้งนี้ควรนำความรู้ที่เป็นลักษณะเด่นของกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ ในจังหวัดศรีสะเกษ ที่มีทักษะฝีมือและคุณค่าความงามมาผสมผสานเพื่อสร้างความงามในผ้าผืนเดียว สืบเนื่องจากในปัจจุบันความเชื่อของผู้คนเปลี่ยนไปประโยชน์ใช้สอยเปลี่ยนไปจากเดิม การสร้างลวดลายใส่ความคิดสร้างสรรค์ และใช้เทคนิคการผลิตใหม่ๆ จะช่วยให้การพัฒนารูปแบบตรงความต้องการของตลาดยิ่งขึ้น ในการนี้ผู้วิจัยได้คิดค้นและทดลองพัฒนาผลิตภัณฑ์ผ้าทอพื้นเมืองในจังหวัดศรีสะเกษ โดยทดสอบคุณภาพของเส้นใยก่อนการผลิตเพื่อเป็นการคัดเลือก เส้นใยไหม และใยฝ้ายที่เหมาะสมสำหรับการผลิตผลิตภัณฑ์ต่างๆ ผู้วิจัยได้ทดสอบตามมาตรฐาน ISO 2062 : 1993 (E) METHOD B และ มาตรฐาน ASTM D 1059 : 2001 เพื่อพัฒนากระบวนการผลิตผ้าผืนโดยบูรณาการ เทคนิควิธีการทอจากลักษณะเด่นของกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ ในจังหวัดศรีสะเกษ ในการสร้างสรรค์ความงามและคุณสมบัติอื่นๆ ให้มีความเหมาะสมกับการใช้งาน หลังจากนั้นจึงได้ทดลองนำผลการศึกษามาสร้างเป็นผลิตภัณฑ์ ต้นแบบผลิตภัณฑ์ผ้าทอมือพื้นเมืองจังหวัดศรีสะเกษ ดังรูปแบบผลิตภัณฑ์แนบท้ายงานวิจัย

Downloads

Published

2024-01-31