การวิเคราะห์อัลกอริธึมลายเรขาคณิตในผ้าขิด เพื่อประยุกต์ใช้ในการออกแบบลวดลายใหม่

Algorithm Analysis for Geometric Patterns in Khit Fabrics for New Khit Patterns Design

Authors

  • อิทธิพล สิงห์คำ

Keywords:

อัลกอริธึม, ลายเรขาคณิต, ผ้าขิด, Algorithm, Geometric Pattern, Local Khit Fabrics

Abstract

บทความนี้นำเสนอแนวทางวิเคราะห์อัลกอริธึมลวดลายเรขาคณิตผ้าขิดพื้นเมือง เพื่อหาแนวทางในการนำไปประยุกต์ใช้ออกแบบลวดลายขิดขึ้นใหม่ โดยการสุ่มแบบเจาะจงเลือกลายผ้าจากแหล่งทอผ้าขิดพื้นเมือง จำนวน 5 แหล่งๆ ละ 2 ลวดลาย นำมาแบ่งกลุ่มโดยพิจารณาจากลักษณะของรูปทรงเรขาคณิต ที่เป็นองค์ประกอบในลวดลายและความซับซ้อนของลวดลาย วิเคราะห์อัลกอรีธึมลวดลายขิดโดย 1) คัดแยกส่วนลวดลายออกจากพื้นหลัง โดยการวิเคราะห์สีตรงข้าม (Negative) การปรับแต่งคำความเปรียบต่างของสี (Contrast) และค่าความสว่าง (Brightness) 2) จัดกลุ่มรูปทรงเรขาคณิตเป็นหมวดหมู่รูปทรงเดียวกันและ 3) แจกแจงรูปทรงเรขาคณิตออกเป็นหน่วยย่อย หรือเป็นรูปทรงเรขาคณิตอย่างง่ายสำหรับใช้เป็นรูปทรงเรขาคณิตพื้นฐาน เพื่อนำไปประยุกต์ใช้ในการออกแบบลวดลายขิดขึ้นใหม่ด้วยวิธีที่เหมาะสมในโอกาสต่อไป ผลวิเคราะห์อัลกอริธีมลายเรขาคณิตในผ้าขิดตัวอย่าง พบว่า 1) ลวดลายขิดแบ่งออกได้ 2 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มรูปทรงเรขาคณิตพื้นฐานและกลุ่มรูปทรงเรขาคณิตประยุกต์ 2 ลายขิดตัวอย่างจะประกอบด้วยหมวดหมู่รูปทรงเรขาคณิตตั้งแต่ 2 หมวดหมู่ขึ้นไป ขึ้นอยู่กับขนาดและความซับซ้อนของแต่ละลวดลาย และ 3) รูปทรงเรขาคณิตที่เป็นหน่วยย่อยของลายขิดตัวอย่าง ประกอบด้วย จุด เส้นตรง รูปหัวลูกศร รูปกากบาท รูปสามเหลี่ยม และรูปสี่เหลี่ยมต่างๆ ที่มีขนาด ทิศทาง และตำแหน่งการจัดวางแตกต่างกัน  This article describes an algorithm analysis of geometric patterns of the local "Khit" fabrics in order to implement it in the adaptations of creating new "Khit" patterns. The Khit fabrics were purposively selected from five local sources of production: two patterns from each production source. They were then categorized by considering from combinations of geometric shapes which composed into patterns. Algorithm of Khit patterns was analyzed by 1) separate part of pattern from a background by adjusting negative color, color contrast, and brightness: 2) categorizing geometric patterns in to clusters; and 3) distinguishing geometric patterns into small units or into simple shapes in order to use as basic geometric forms for designing new Khit patterns with the possible rules. The findings from the algorithm analysis were: 1) Khit patterns could be divided into two categories: basic geometric shapes and adapted geometric shapes; 2) sample Khit patterns comprised at least two sets of geometric shapes according to sizes and complications of designs: and 3) small units of geometric forms were dot, linear, arrow, cross, triangular, square and rectangular which were different in sizes, directions, and positions.

Downloads

Published

2024-01-31