การศึกษาเครื่องเงินของชนเผ่าในล้านนาเพื่อเป็นแนวทางการออกแบบและพัฒนาผลิตภัณฑ์

The Study of Silverware of Hilltribes People in Lanna for being Guide Lines to make a Design and for Improving the Silverware Product

Authors

  • ภานุพงศ์ จงชานสิทโธ

Keywords:

เครื่องเงิน, ชนเผ่า, ล้านนา, การออกแบบพัฒนาผลิตภัณฑ์, silverware, hiltribe, lanna, Design, product developing

Abstract

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 3 ประการ คือ 1) เพื่อศึกษาประวัติ วิถีชีวิต และรวบรวมข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับเครื่องเงินของชนเผ่าในล้านนา 2) เพื่อศึกษาแนวทางพัฒนาวัสดุ และกรรมวิธีการผลิตเครื่องเงิน และ 3) เพื่อกำหนดแนวทางการออกแบบผลิตภัณฑ์โดยใช้อัตลักษณ์ของเครื่องเงินชนเผ่าในล้านนา ประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้จำแนกเป็น 2 กลุ่ม คือกลุ่มที่ 1 ประชากรที่เป็นชนเผ่า 5 เผ่า ได้แก่ ชนเผ่าเมียน อาช่า ลีชู ม้ง และลัวะ ที่อาศัยอยู่ในเขตจังหวัด ภาคเหนือตอนบน 8 จังหวัด คือ จังหวัดเชียงใหม่ เชียงราย ลำพูน ลำปาง แม่ฮ่องสอน พะเยา แพร่ และน่าน กลุ่มตัวอย่างใช้วิธีคัดเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง (Purposive Sampling) โดยกำหนดศึกษาจากชนเผ่าที่ใช้เครื่องเงินในวิถีชีวิตและชนเผ่าที่เป็นช่างเครื่องเงินประจำเผ่า จำนวนเผ่าละไม่น้อยกว่า 5 คน กลุ่มที่ 2 ประชากรที่เป็นผู้บริโภคชาวไทย ผู้ผลิตและจำหน่าย ผลิตภัณฑ์หัตถกรรมใภาคเหนือตอนบน 8 จังหวัด กลุ่มตัวอย่างใช้วิธีคัดเลือก กลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง (Purposive Sampling) โดยกำหนดศึกษาจากผู้บริโภคชาวไทยที่มาท่องเที่ยวใจังหวัดภาคเหนือตอนบน จำนวน 100 คน รวมถึงผู้ผลิตและจำหน่ายผลิตภัณฑ์หัตถกรรมในภาคเหนือตอนบนซึ่งผลิตและจำหน่ายผลิตภัณฑ์คุณภาพดีและมีชื่อเสียงในภาคเหนือตอนบน จำนวน 36 คน ผลการวิจัยสามารถสรุปได้ 3 ส่วนดังนี้ 1. ประวัติ วิถีชีวิต และข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับเครื่องเงินของชนเผ่าในล้านนา พบว่า ชนเผ่าในล้านนาส่วนใหญ่มีถิ่นกำเนิดในประเทศจีนและได้อพยพเข้ามาในประเทศไทยโดยผ่านทางภาค เหนือตอนบน และได้ตั้งถิ่นฐานในพื้นที่จังหวัดภาคเหนือตอนบน 8 จังหวัด ได้แก่ จ้งหวัดเชียงใหม่ เชียงราย ลำพูน ลำปาง แม่ฮ่องสอน พะเยา แพร่ และน่าน ต่อมาได้ย้ายถิ่นฐานเข้าอาศัยใบางจังหวัดของภาคเหนือตอนล่าง และภาคกลาง มีลักษณร่วมทางวัฒนธรรมที่เป็นวิถีชีวิตคล้ายคลึงกัน เช่น ความเชื่อ การแต่งกาย และงานหัตถกรรม เครื่องเงินของชนเผ่าแบ่งเป็น 3 ยุคคือ ยุคที่ 1 ยุคของการสะสมเน้นการสะสมเหรียญเงินรูปีและเงินแห่งให้ได้ปริมาณมากตามความต้องการของตนเอง เนื่องจากเห็นว่าเป็นของมีค่าสูง ยุคที่ 2 ยุคของการตกแต่ง เน้นการแปรสภาพให้เป็นเครื่องประดับและเครื่องใช้ เพื่อประดับตกแต่งร่างกายให้สวยงาม ในพิธีกรรมหรือเทศกาลงานสำคัญของชนเผ่า และยุคที่ 3 ยุคของการผลิต มีการใช้เงินเม็ดบริสุทธิ์อย่างแพร่หลาย ทดแทนเงินเหรียญและเงินแท่ง เพื่อผลิตในเชิงธุรกิจ โดยช่างเครื่องเงินของชนเผ่ามีบทบาทสำคัญในการกำหนดรูปแบบเครื่องเงิน 2. แนวทางพัฒนาวัสดุ และกรรมวิธีการผลิตเครื่องเงิน โดยผ่านกระบวนการทดลองพบว่า การพัฒนาวัสดุที่มีลักษณะใกล้เคียงโดยใช้โลหะอลูมิเนียมจากกระป๋องเครื่องดื่มเหลือใช้ นำมาหลอมแยกกากโลหะและสิ่งเจือปนออกทำให้เหลือเนื้ออลูมิเนียมที่มีควาบริสุทธิ์ประมาณ 80 เปอร์เซ็นต์ สามารถใช้เป็นวัสดุในการขึ้นรูปผลิตภัณฑ์ทดแทนโลหะเงินจริงได้ เมื่อใช้โลหะอลูมิเนียมหลอมผสมรวมกับโลหะเงิน ปริมาณไม่เกิน 5 กรัมจากส่วนผสมทั้งหมด 100 กรัม จะทำให้ได้โลหะผสมชนิดใหม่ที่มีความเหนียวและยืดตัวได้ดีเหมาะสมกับการใช้ขึ้นรูปเป็นผลิตภัณฑ์ สำหรับการพัฒนากรรมวิธีการผลิตเครื่องเงิน ผู้วิจัยพบว่ามีแนวทางที่เหมาะสมกับการขึ้นรูปผลิตภัณฑ์ 2 แนวทางคือ 1) การชุบขึ้นรูปด้วยโลทะเงิน เป็นการใช้ต้นแบบทีทำจากแว็กซ์รูปทรงต่างๆ ทาผิวภายนอกด้วยน้ำยาซิลเวอร์แลคเภอร์ นำไปชุบด้วยไฟฟ้า แล้วเผาไส่เนื้อแว็กซ์ออกจากด้านในต้นแบบ ทำให้ได้ขึ้นงานเครื่องเงินจริงเหมาะสำหรับผลิตภัณฑ์ที่มีรูปทรงกลวงบาง และน้ำหนักเบา 2) การหล่ออัดขึ้นรูป เป็นการส่งโลหะเงินเข้าไปภายในแม่พิมพ์โลหะทรง กระบอก ที่มีต้นแบบรูปทรงต่างๆ โดยอาศัยความร้อนและแรงอัดอย่างรวดเร็วทำให้ได้ชิ้นงานเครื่องเงินจริง เหมาะสำหรับผลิตภัณฑ์ที่มีรูปทรงทึบตันและมีน้ำหนักมาก 3. แนวทางการออกแบบผลิตภัณฑ์โดยใช้อัตลักษณ์ของเครื่องเงินชนเผ่าในล้านนา พบว่า ผลิตภัณฑ์ที่ออกแบบต้องสามารถแสดงความเป็นตัวตนของชนเผ่าแต่ละเผ่าได้อย่างเด่นชัด แต่ทั้งนี้ควรผสมผสานระหว่างความเป็นชนเผ่ากับความเป็นสากลได้อย่างเหมาะสม การออกแบบผลิตภัณฑ์ควรคำนึงถึงความเชื่อดั้งเดิมที่เกี่ยวข้องกับเครื่องเงินและประโยชน์ใช้สอยของผลิตภัณฑ์อย่างเหมาะสมและรู้คุณค่า ให้รูปแบบผลิตภัณฑ์มความสอดคล้องกับเทรนด์ (Trend) รู้จักประยุกต์วัสดุให้หลากหลายหรือเน้นวัสดุที่เป็นธรรมชาติ ให้ผลิตภัณฑ์ปรากฏรอยเครื่องมือที่ผลิตเพื่อสะท้อนให้เห็นการผลิตเชิงหัตถกรรม หากเป็นรูปทรงผลิตภัณฑ์ที่เหมือนกันควรสร้างความแตกต่างที่ลวดลายและสีสัน ทั้งนี้ผู้วิจัยได้ดำเนินการพัฒนาผลิตภัณฑ์ตันแบบตามผลที่ได้จากการศึกษาวิจัยและทำการประเมินผลผลิตภัณฑ์เพื่อเข้าสู่ตลาด ดังแบบแสดงแนบท้ายงานวิจัย  This research had three objectives 1) to study the history, the way of life and information concerning with the silverware of hilltribes in lanna. 2) to study the guidelines to develop the material and the methods of producing the silverware and 3) to assign the methods of product designing with the hilltribes silverware identification of lanna. The population used in this research were divided into two groups. There were group 1) the population from five hilltribes: Mien, Akha, Lisu, Hmong, and Lua Living in eight provinces in the upper northern part of Thailand which are Chiangmai, Chiangrai, Lamphun, Maehongson, Phayao, Phare, and Nan. The purposive sampling groups were selected from the way of life of each tribe in the term of using the silverwares and from the silversmiths of each hilltribe. There were at least five person acting as the purposive sampling from each tribe. Group 2) There were one hundred this select as the purposive sampling, traveling around in the upper northern part of Thailand and buying the craft product. In this group there were thirty-six population selected as the purposive sampling, producing and selling the good quality and famous craft product in the upper northern part of Thailand. The result of this research could be concluded in three parts as following 1. There were history, way of life and information concerning with the hilltribes silverware in lanna. It was found that their original ancestor were in China and immigrated down through the upper northern part of Thailand and settled down in different eight provinces such as Chiangmai, Chiangrai, Lamphun, Maehongson, Phayao, Phare, and Nan. Then, some moved down to the lower northern part and the middle part of Thailand. Anyhow they still had their co-culture in common for example their similar lifestyles, their beliefs, their costumes and their handicraft. The history of silverware of the hilltribe people were classified in three periods: the first period was the one of collection. It emphasized on gathering as many rupee silver coins and silver bars as the hilltribe people wished, because of it high value; the second period was the one of ornament. It emphasized on adapting and transforming the silver coins and silver bars to make a design on their costumes beautifully worm in their holy rite and important festivals of the hilltribe; the third period was the one of production. Pure silver balls were used widely in many areas and accepted equally as silver coins and silver bars. It was the production business that the silversmiths of the hilltribe played an important role to organize the styles. the designs of the ornament. 2. The guidelines for developing the silverware product and the method of producing. Silverware were processively made by developing any other material which had alike characteristic, for example aluminum taken from soft drink can. It was melt to classify 80 % pure aluminum from other oxide mixed. It could be substituted the silver or mixed not over five grams with one hundred grams of silver. This new kind metal was very strong and tough and firm. It was suitable to form the product. There were two ways to develop the method of producing :1) forming by electroplating silver, used the wax mold which had various different designs, slightly spreaded silver lacquer on the external one, dipped with electricity to heat and to push the internal way mold away and made silverware work. It was suitable for hallow, thin and light silverware product 2) forming by pressing quickly silver material in the mold composed with cement and som material which had various different designs with high heat and aggressive force and finally made silverware work that was thud and heavy. 3. The guidelines to make a distinguished design with their own hilltribe silverware identification. It should be harmonized between the hilltribe and universal styles. To make a design, product should be based on the old beliefs, the usefulness and the value. The work should get along very well with the trend and the other adapted with natural materials. It could be traced back to identify the hand-made product. If the form of product were one. The designs and the colors should vary. That was the way of the researcher had acknowledged from the research and evaluated product in the market as the pattern of product attached at the rear end of the research.

Downloads

Published

2024-01-31