การศึกษาและออกแบบผลิตภัณฑ์สินค้าที่ระลึกเพื่อการเรียนรู้พิพิธภัณฑ์สิรินธร จังหวัดกาฬสินธุ์

Study and Design of Educational Product for Sirindhorn Museum

Authors

  • ดาราภัช รัตนสูรย์

Keywords:

พิพิธภัณฑ์สิรินธร, เอกลักษณ์เฉพาะ, สินค้าที่ระลึกเพื่อการเรียนรู้, Sirindhorn Museum, identity, educational product

Abstract

งานวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเอกลักษณ์เฉพาะและองค์ความรู้ของพิพิธภัณฑ์ สิรินธร เพื่อนำมาใช้ในการออกแบบผลิตภัณฑ์สินค้าที่ระลึกเพื่อการเรียนรู้พิพิธภัณฑ์ สิรินธร จังหวัดกาฬสินธุ์ จากการศึกษาพบว่า พิพิธภัณฑ์สิรินธรมีเอกลักษณ์ที่โดดเด่นคือ การขุดคันพบซากไดโนเสาร์โชโรพอด เป็นครั้งแรกในประเทศไทย กรมทรัพยากรธรณีจึงได้ทำการจัดตั้งโครงการวิจัยและพัฒนาจัดสร้างพิพิธภัณฑ์ไดโนเสาร์ "ภูกุ้มข้าว" ซึ่งปัจจุบัน ได้เปลี่ยนมาเป็นพิพิธภัณฑ์สิรินธร เป็นพิพิธภัณฑ์และศูนย์วิจัยเกี่ยวกับไดโนเสาร์ที่ใหญ่ที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ จึงทำให้ผู้วิจัยมีความการต้องการที่จะพัฒนารูปแบบของที่ระลึกของพิพิธภัณฑ์สิรินธร ให้มีเอกลักษณ์โดดเด่นสามารถบ่งบอกถึงที่มาได้อย่างชัดเจนทันสมัยและคงเอกลักษณ์เฉพาะถิ่น เหมาะสำหรับเป็นสินค้าที่ระลึก โดยเฉพาะเยาวชน นักเรียน นักศึกษาจะได้รับความรู้เพิ่มเติมนอกเหนือจากความสวยงามเพียงอย่างเดียว โดยผู้วิจัยใช้ข้อมูลทางประวัติศาสตร์ ภาพประกอบ คำบรรยาย หุ่นจำลอง งานนิทรรศการที่แสดงในพิพิธภัณฑ์ รวมไปถึงการศึกษาผลิตภัณฑ์สินค้าที่ระลึกที่จำหน่ายภายในและสินค้าที่จำหน่ายภายนอกพิพิธภัณฑ์ ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงรูปแบบและแหล่งที่มาของวัตถุดิบที่นำมาผลิตเป็นสินค้าที่จัดจำหน่ายในปัจจุบัน อีกทั้งนำเอกลักษณ์ของจังหวัดกาฬสินธ์ ซึ่งประกอบไปด้วย วัฒนธรรมภูไท ผ้าไหมแพรวา เครื่องดนตรี และไดโนเสาร์ สัตว์โลกล้านปี เพื่อแสดงออกถึงความเป็นอีสานได้เป็นอย่างดี เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบสัมภาษณ์อย่างมีโครงสร้าง ทำการวิธีวิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหา (Content Analysis) นำแบบสัมภาษณ์ และข้อมูลดิบ มาบรรยายผลสรุปผลงานวิจัยพบว่าจุดเด่นของพิพิธภัณฑ์ คือ ไดโนเสาร์พันธุ์ไซโรพอต ชื่อ "ภูเวียงโกซอลรัส สิรินธรเน่" ที่มีการขุดค้นพบครั้งแรกในประเทศไทยที่จังหวัดกาฬสินธุ์ มีลักษณะพิเศษ คอยาว หางยาว และมีความสูงประมาณ 15 - 20 เมตร [1] การนำวัฒนธรรมภูไท การแต่งกาย เครื่องดนตรีอีสาน เช่น โปงลาง แคน หวูด สร้างเป็นลวดลายโดยนำโทนสีของผ้าไหมแพรวา คือ สีแดง เหลือง น้ำตาลและดำ มาประยุกต์ใช้ ในการออกแบบและทำการทดลองใช้วัสดุที่หลากหลาย เช่น ดินญี่ปุ่น เซรามิกและไฟเบอร์กลาส ให้เหมาะสมในการผลิต  This research aim to study the local identity and intellectual of Sirindhorn Museum in order to design the Sirindhorn Museum, Kalasin province's educational product. The study found that the outstanding of the museum is the fossil of Sauropod, which was found firstly in Thailand. Then the Department of Mineral Resources has established the Research and Development Project to be the Dinosaur Museum later. At that time it called "Phu Kum Khao" and has changed to be the Sirindhorn Museum, the biggest Dinosaur Museum in South -Eastern Asia. That is a reason why I would like to develop the museum's souvenirs to be splendid and able to indicate their origin clearly. Moreover, it would be up-to-date in local style and appropriate to be souvenirs especially youth and student will gain the knowledge not only the beauty of product Researcher used the historical information, illustration, model, museum's exhibition including the study of product which is sold both inside and outside the museum. It can reflect kind and material resource of products which are sold in the museum presently. Moreover, a researcher applies using the identity of Kalasin province consists of Phu-Thai culture, Prae-Wa silk and Dinosaur. Those can show-off E-San being very well. Research tools are the structural interview, content analysis and sum-up information. The research shows that the prominent points of the museum are the "Phuwaingosuarus Sirindhronae, was found firstly in Kalasin, Thailand. Characteristic are long neck, long tail with height 15-20 metes. [1] They apply using Phu-Thai culture, dressing, E-San music instrument such as Pong Lang, Can and Wood. To draw pattern by using Prae-Wa silk colors which are red, yellow, brown and black in design and try out to use various materials such as Japanese soil, ceramic and fiber glass which are suitable for product.

Downloads

Published

2024-01-31