โครงการวิจัยน้ำเคลือบจากเศษขวดแก้ว
Keywords:
การเคลือบผิว-เซรามิก, การเคลือบผิวด้วยเศษแก้ว, เทคโนโลยีเซรามิกAbstract
ในชีวิตประจำวันมีเศษขวดแก้วแตกเป็นจำนวนมากที่เกิดจากการใช้งาน ซึ่งก่อให้เกิดทั้งอันตรายและมลภาวะ โดยปกติเศษขวดแก้วเหล่านี้จะถูกนำไปหลอมใหม่ ราคาของเศษขวดแก้วมีมูลค่าที่น้อยมากหรือแทบไม่มีมูลค่าเสียเลย ด้วยเหตุนี้จึงทำให้เกิดแนวความคิดที่จะนำเศษขวดแก้วที่มอยู่มากมายมาเพิ่มมูลค่าในอุตสาหกรรมเชรามิกส์ โดยนำเศษขวดแก้วมาผสมกับวัตถุดิบทำน้ำเคลือบที่สามารถหาได้ทั่วไป นอกจากจะช่วยลดจำนวนเศษขวดแก้วและมลภาวะแล้ว ในการผลิตน้ำเคลือบผสมเศษขวดแก้วสามารถพัฒนาใช้ในอุตสาหกรรมเชรามิกส์หลากหลายประเภท ทั้งผลิตภัณฑ์กระเบื้องประดับตกแต่งผนัง และผลิตภัณฑ์เครื่องใช้บนโต๊ะอาหาร การวิจัยเรื่อง น้ำเคลือบจากเศษขวดแก้วแบ่งออกเป็น 2 ขั้นตอน คือ การทดลองหาลักษณะผิวเคลือบ โดยการคำนวณหาอัตราส่วนผสมจากทฤษฎีตารางสามเหลี่ยมด้านเท่า จำนวน 55 อัตราส่วนผสม เป็นการคำนวณหาอัตราส่วนผสมที่มีเศษขวดแก้วผสมในอัตราส่วนที่เหมาะสมกับการใช้งาน เผาที่อุณหภูมิ 1200 องศาเซลเชียส ในการเผาแบบบรรยากาศสันดาปสมบูรณ์ พบว่าอัตราส่วนผสมที่ 19 เป็นอัตราส่วนที่ดีที่สุด มีผิวเรียบเป็นมัน การหลอมตัวดี สีครีมอ่อน มีอัตราส่วนเศษขวดแก้วร้อยละ 50 หินฟันม้าร้อยละ 30 และดินขาวร้อยละ 20 จากนั้นจึงนำมาทดลองผสมสารอ็อกไซด์ให้สี คือ โคบอลด์อ็อกไซด์ คอปเปอร์ออกไชด์ เฟอร์ริกออกไซด์ และไททาเนียมไดอ็อกไซด์ โดยการคำนวณหาอัตราส่วนผสมจากทฤษฎีตารางสี่เหลี่ยมด้านเท่า จำนวน 36 จุดและทฤษฎีเรียงตามอัตราส่วนผสม จำนวน 16 จุด Nowadays, there are a lot of recycled glasses which cause dangerous pollution. These recycled glasses have to use fusible process and become low value. For this reason, this project was studies in order to find the appropriate proportion of cullet glaze from the glazed materials. Not only this project helps save the environment but also can be developed recycled glasses in ceramics industrial. The research study "Cullet glaze" was divided into 2 steps, the first, the experiment of recycled glasses formula by calculating of glaze materials from triaxial blend 55 formulas. Each formula consisted of recycled glasses which had been fired at 1,200 ˚c glaze material in oxidation atmosphere. It was found that the best formula was No.19 in which composed of recycled glasses 50%, feldspar 30%, Kaolin 20% respectively. The second, the experiment of glaze's colour was used on its best by using the best one mixture with oxide from quadraxial blend 36 formulas and line blend 16 formulas and fired at 1,200 ˚c in oxidation atmosphere and reduction atmosphere. Each formula comprised of glaze materials with cobalt oxide, copper oxide, ferric oxide, and titanium dioxide in various percentage.Downloads
Published
2024-02-01
Issue
Section
Articles