การศึกษางานหัตถกรรมจักสานชนชาวเผ่าลาวเทิงเพื่อประยุกต์ใช้ในการออกแบบและพัฒนาผลิตภัณฑ์ร่วมสมัย

A Study of Loa Theung Wickerwork for Contemporary Products Design and Development

Authors

  • ประทับใจ สิกขา

Keywords:

เครื่องจักรสาน-ลาว, ศิลปกรรมพื้นบ้าน-ลาว, หัตถกรรม-ลาว

Abstract

งานหัตถกรรมจักสานชนเผ่าลาวเทิงเป็นรูปแบบผลิตภัณฑ์ที่มีความหลากหลาย มีความประณีต สวยงาม และมีประโยชน์ใช้สอยที่คุ้มค่า ผู้วิจัยเล็งเห็นว่า ชนเผ่าลาวเทิงมีภูมิปัญญาที่ชาญฉลาดในการเลือกใช้วัสดุในท้องถิ่นมาผลิตเป็นสิ่งของเครื่องใช้ รวมทั้งมีลักษณะของการสืบทอดที่เป็นมรดกทางวัฒนธรรมแสดงออกถึงอัตลักษณ์เฉพาะชนเผ่า จึงได้นำมากำหนดเป็นวัตถุประสงค์ในการวิจัย 3 ประการ ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาความเป็นมาของชาติพันธุ์ วิถีชีวิต และรวบรวมงานหัตถกรรมจักสานชนเผ่าลาวเทิง 2) เพื่อศึกษากระบวนการผลิต ลวดลายการสาน การให้สี ในแง่ของการปรับปรุงพัฒนาคุณภาพวัสดุและกระบวนการผลิต และ 3) เพื่อออกแบบและพัฒนางานหัตถกรรมจักสานชนเผ่าลาวเทิงให้เป็นผลิตภัณฑ์ร่วมสมัย ประชากรและกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ จำแนกออกเป็น 2 กลุ่ม คือ 1) กลุ่มสำหรับการศึกษาข้อมูลงานหัตถกรรมจักสาน ซึ่งเป็นประชาชนที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ 5 แขวงทางตอนใต้ของ สปป.ลาว 2) กลุ่มสำหรับการวิเคราะห์ข้อมูลประกอบการออกแบบผลิตภัณฑ์ร่วมสมัย ได้แก่ ผู้บริโภค ผู้จำหน่าย งานหัตถกรรมจักสาน กลุ่มตัวอย่างผู้วิจัยใช้วิธีการสุ่มแบบเจาะจง โดยคำนึงถึงสภาพทางภูมิศาสตร์ และความหลากหลายที่ครอบคลุมตามเนื้อหาในการวิจัย ผลการวิจัยสามารถจำแนกออกเป็น 3 ส่วนดังนี้ 1) ส่วนของการศึกษาความเป็นมาของชาติพันธุ์ วิถีชีวิต และรวบรวมงานหัตถกรรมจักสานชนเผ่าลาวเทิง พบว่า ชนเผ่าลาวเทิง เป็นชนเผ่าที่อาศัยอยู่ตามพื้นที่ราบสูงและเขตภูดอย มีการดำเนินชีวิตแบบเกษตรกรรมที่พึ่งพิงธรรมชาติ มีวัฒนธรรมการแต่งกายที่เป็นอัตลักษณ์เฉพาะ และมีลักษณะร่วมทางวัฒนธรรมที่คล้ายคลึงกัน เช่น การนับถือผี การสูบออก การดื่มเหล้าไห การทอผ้าด้วยกี่เอว และการใช้งานหัตถกรรมจักสาน ซึ่งผู้วิจัยจำแนกออกเป็น 5 กลุ่ม ดังนี้ เครื่องใช้อเนกประสงค์ เครื่องใช้ในครัวเรือน เครื่องมือดักจับ และขังสัตว์ เครื่องใช้ตามความเชื่อและพิธีกรรม และเครื่องใช้อื่นๆ 2) ส่วนของการพัฒนาคุณภาพวัสดุและกระบวนการผลิต พบว่า การให้สีที่เกิดจากการรมควัน เมื่อนำมาทดลอง โดยใช้วัสดุในการรมควันต่างชนิดกัน ให้ผลของสีที่เกิดจากการรมควันแตกต่างกัน และเพื่อให้เกิดการประหยัดเชื้อเพลิง มีความปลอดภัยในการใช้งาน ผู้วิจัยได้ออกแบบ และพัฒนาเตารมควันแบบประหยัดพลังงาน โดยคำนึงถึงวัสดุที่ใช้ในการผลิตต้นทุน และชาวบ้านสามารถนำไปผลิตใช้ได้เอง 3) ส่วนของการออกแบบและพัฒนางานหัตถกรรมจักสานชนเผ่าลาวเทิงให้เป็นผลิตภัณฑ์ร่วมสมัย พบว่า ผลิตภัณฑ์ที่เหมาะสมกับการผลิตและความต้องการทางการตลาดแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ 1) ประเภทเครื่องใช้และของตกแต่งบ้าน และ 2) ประเภทของที่ระลึก จากผลการศึกษาดังกล่าวสรุปได้ว่า แนวทางการประยุกต์ใช้งานหัตถกรรมจักสานชนเผ่าลาวเทิงเพื่อใช้ในการออกแบบและพัฒนาผลิตภัณฑ์ร่วมสมัย ควรคำนึงถึงแนวคิดในการออกแบบ 3 ด้าน ดังนี้ 1) ด้าน คุณค่าทางศิลปวัฒนธรรม ประกอบด้วย อัตลักษณ์ที่โดดเด่น และการบอกเล่าเรื่องราวหรือแหล่งที่มา 2) ด้านค่านิยมและความต้องการของผู้บริโภค และ 3) ด้านหลักการออกแบบงานหัตถกรรมจักสาน ประกอบด้วย การเลือกใช้วัสดุ การใช้ลายเพื่อสร้างรูปทรงผลิตภัณฑ์ การให้สี ความคงทนประณีตสวยงาม และประโยชน์ใช้สอย ในการวิจัยครั้งนี้ผู้วิจัยได้ดำเนินการทดลองและประเมินผลการออกแบบผลิตภัณฑ์ตามแนวคิดทั้ง 3 ด้านไว้เป็นแนวทาง ดังเอกสารแนบท้ายการวิจัยในครั้งนี้  There are various kinds of intricate and functional Lao Theung wickerwork products. The Lao Theung have the clever local wisdom of making use of local material to create commodities and continuity of cultural heritage displaying tribal identity. Thus, the research set 3 purposes for the research: 1) to study the background and lifestyle of the Lao Theung race, and to compile the Lao Theung wickerwork, 2) to study the production process, interlacing patterns and coloring regarding the material quality and production process development, and 3) to design and develop the Lao Theung wickerwork into contemporary products. The population and samples of this research are divided into 2 groups: 1) the group for wickerwork data study, who were the people living in the 5 districts of Southern Laos, 2) the group for the analysis of the data for contemporary product design consisting of consumers and wickerwork distributors. The samples were selected by purposive random sampling with regard to geographical condition and diverse factors apparent in the research contents. The result of the study can be divided into 3 parts. 1) The study of the Lao Theung race and lifestyle and the compilation of their wicker handicrafts yields that the Lao Theung are tribal people living in highland and hilly region with agricultural, nature-dependent lifestyle, unique clothing culture, and cultural similarity, for example, animism, smoking treacle-coated tobacco, drinking Sato (Lao Hy), weaving with back strap loom, and using wickerwork items, which can be categorized into five groups all-purpose utilitarian articles, household utilitarian articles, animal traps, faith and ritual articles and other utilitarian articles. 2) As for the development of material quantity and production process, the experiment showed that in fumigation coloring, different materials yield different colors. And for fuel frugality and safe use, the researcher has designed and developed an energy saving fumigation kiln with regard to production materials, cost, and practicality for the local people's own production. 3) For designing and developing the Lao Theung wickerwork into contemporary products, it was found that the products suitable for production and market demand can be separated into two categories: 1) household utilitarian articles and decorative articles and 2) souvenirs. From the result of this study, it can be summed up that for the course of applying Lao Theung wickerwork to the design and development of contemporary products, 3 facets should be considered: 1) artistic and cultural value, consisting of distinguished identity and background conveyance, 2) consumers' value and demand, and 3) wickerwork design principles, consisting of choosing material, using patterns for creating product shapes, coloring, durability, exquisiteness and functions. Attached at the end of the research is the report of the experiment and evaluation of product design with regard to those 3 concepts to serve as guideline.

Downloads

Published

2024-02-02