การศึกษาเครื่องเคลือบดินเผาเพื่อประดับตกแต่งสถาปัตยกรรม
Keywords:
เครื่องเคลือบดินเผา, เครื่องปั้นดินเผา, การตกแต่งและการประดับสถาปัตยกรรม, สถาปัตยกรรมAbstract
โครงการศึกษาวิจัย เครื่องเคลือบดินเผาเพื่อประดับตกแต่งสถาปัตยกรรม มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเครื่องเคลือบดินเผาในงานประดับตกแต่งสถาปัตยกรรมในอดีต โดยศึกษาเกี่ยวกับรูปแบบและพัฒนาการจากแหล่งสถาปัตยกรรมที่สำคัญ 6 แห่งคือ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม วัดอรุณราชวราราม วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม วัดราชโอรสารามวรวิหาร วัดเฉลิมพระเกียรติวรวิหาร และวัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม ซึ่งผลการศึกษาแสดงให้เห็นว่า พัฒนาการของเครื่องเคลือบดินเผา ประดับตกแต่งสถาปัตยกรรม แบ่งเป็น 3 ระยะ คือ ระยะที่ 1 สมัยรัชกาลที่ 2 ถึงรัชกาลที่ 3 เครื่องเคลือบดินเผา ประดับตกแต่งเป็นแบบภาชนะ เครื่องถ้วย ชิ้นส่วนของภาชนะ ชิ้นส่วนกระเบื้องที่ฝังลงไปในผิวปูน เครื่องเคลือบแบบ เป็นช่อดอก ซ่อใบ และแบบที่เป็นช่อฟ้า ใบระกาหางหงส์ โดยใช้ประดับสถาปัตยกรรมในแบบอย่างอิทธิพลจีนที่เรียกว่า แบบพระราชนิยม ระยะที่ 2 ช่วงรัซกาลที่ 4 เครื่องเคลือบดินเผาประดับสถาปัตยกรรม ยังคงมีลักษณะแบบเดิม ได้แก่การนำชิ้นส่วนของภาชนะมาประดับปูนปั้น เป็นช่อดอกไม้ในแบบแผนที่นิยมมาแต่ในระยะที่ 1 แต่มีแบบอย่างใหม่ เพิ่มขึ้น คือ การทำกระเบื้องเคลือบดุนลายนูนและเขียนสี เบญจรงค์ ทั้งเป็นการใช้เครื่องเคลือบดินเผา ร่วมกับงานปูน ปั้นปิดทอง ประดับกระจก และหินอ่อน โดยลักษณะเครื่องเคลือบในงานสถาปัตยกรรมในระยะนี้ได้แสดงลักษณะแบบไทยผสมผสานกับอิทธิพลจีนที่ยังคง ปรากฎอยู่และแสดงลักษณะอิทธิพลตะวันตกในบางส่วน ระยะที่ 3 ช่วงรัชกาลที่ 5 เครื่องเคลือบดินเผาประดับตกแต่งสถาปัตยกรรมปรากฏ ลักษณะแบบไทยอย่างเด่นชัดเป็นลักษณะของกระเบื้องเคลือบ เขียนสีเบญจรงค์ มีกลุ่มสีที่โดดเด่นคือ สีเหลือง เขียว แดง น้ำเงิน ขาว ม่วง โดยมีการออกแบบแบ่งลวดลายชิ้น กระเบื้องในแต่ละพื้นที่ขององค์ประกอบสถาปัตยกรรมอย่างลงตัว และยังเป็นการออกแบบกระเบื้องเคลือบเขียนสีเบญจรงค์ร่วมกับงานวัสดุอื่น ๆ ได้แก่ งานปูนปั้นปีดทอง งานปิดทองประดับกระจก งานประดับมุกแต่มีการตกแต่งภายใน ในแบบ อย่างตะวันตกอย่างชัดเจน นอกจากนี้ เครื่องเคลือบดินเผาในงานประดับตกแต่งสถาปัตยกรรม ยังได้แสดงคุณค่าที่สำคัญ 4 ประการ คือ คุณค่าทางความงาม เครื่องเคลือบดินเผาประดับตกแต่ง สถาปัตยกรรมมีความสวยงาม ด้วยชิ้นงานเครื่องเคลือบและการตัด ต่อ ปะ ติด เสียบ ชิ้นเครื่องเคลือบเป็นช่อเป็นดอกความงามของรูปร่าง รูปทรง ลวดลาย สีสัน ที่มีความเลื่อมพรายและความเหมาะสมกับรูปแบบสถาปัตยกรรม ในแบบพระราชนิยมที่มีอิทธิพลจีนหรือการผสมผสาน กับรูปแบบสถาปัตยกรรม ในแบบประเพณีไทยคุณค่าทางประโยชน์ใช้สอยมีการนำเครื่องเคลือบดินเผา มาทดแทนการใช้ไม้ในงานประดับตกแต่งสถาปัตยกรรมในแบบเดิบโดยนำมาใช้ในส่วนของเครื่องบน ได้แก่ ซ่อฟ้า ใบระกา หางหงส์ หน้าบัน นาคสะดุ้ง เนื่องจากไม้ผุพังเสียหายง่าย แต่เครื่องเคลือบดินเผามีความคงทนในสภาพแวดล้อมที่ดีกว่าคุณค่าทางจิตใจเครื่องเคลือบดินเผา ในงานประดับตกแต่งสถาปัตยกรรมได้มีรูปแบบและมีความหมายไปในการบูชาพุทธศาสนาและพระมหากษัตริย์ด้วยการออกแบบประดิษฐ์ตกแต่งเครื่องเคลือบอย่างประณีตสวยงามและการสื่อความหมายตามคติความเชื่อด้วยรูปแบบและสัญลักษณ์รูปดอกไม้ สิ่งของ และสัตว์ชนิดต่าง ๆ คุณค่าทางสังคมเป็นการแสดงคุณค่าของการใช้วัสดุเครื่องเคลือบดินเผาที่แตกหักเสียหายมาทำให้เกิดประโยชน์และการที่ขุนนางพ่อค้า ประชาชนร่วมถวายเครื่องถ้วยชาม ในการประดับตกแต่งอาคาร สถาปัตยกรรมเพื่อร่วมในพระราชกุศลในสมัยรัชกาลที่ 3 อันเป็นสิ่งที่แสดงคุณค่าของการมีส่วนร่วมในสังคม การแสดงถึงความทันสมัย ในกระแสความนิยมชาวจีนและการเชื่อมโยงทางศิลปวัฒนธรรมของชาวสยามและชาวจีนเข้าด้วยกัน The principal objective of this project is to study the glazed ceramic architectural ornaments in the past in terms of their styles and evolution. The study was carried out at 6 sites of architecture; namely, Wat Phra Si Rattana Satsadaram or Wat Phra Kaeo, Wat Arun -Temple of Dawn, Wat Phra Chetuphon - Wat Pho, Wat Ratchaorasaram, Wat Chaloem Phra Kiat and Wat Ratchabophit. It was discovered that there were 3 stages of evolution of the glazed ceramic architectural ornaments. Stage 1: The reigns of King Rama II and King Rama Ill, the glazed ceramic ornaments used in Thai architecture during the period were crockery and shards inlaid on stucco to form bouquets of flowers and leaves, as well as roof decorations like Cho Fa (gable finial), Bai Raka (crocket), and Hang Hong (gable ends), with a Chinese influence. The style being preferred by the kings was known as 'Phra Ratchaniyom' or royal favourite style. Stage 2: The reign of King Rama IV, the use of glazed ceramic ornaments; i.e. crockery and shards inlaid on stucco to form bouquets of flowers, continued during this period. However, a new style was discovered which comprised of glazed tiles with embossed motifs and the so-called 'Bencharong' or pentachrome painted decoration. The glazed tiles were used alongside stucco reliefs with glass as well as marble inlays. The glazed ceramic ornaments that gained popularity during this period reflect a blend of traditional Thai style, the lingering Chinese influence, and, partly, Western influence. Stage 3: The reign of King Rama V, the glazed ceramic ornaments during this period apparently presented an authentically traditional Thai style as evident from the glazed tiles painted in the Bencharong colors; the outstanding pigments used were yellow, green, red, blue, white and purple. The tiles were ornately designed to be divided into sections that formed a complete pattern for a particular area of the architecture. There was also a design of the Bencharong painted glazed tiles to be used together with stucco reliefs that were gilded, inlaid with glasses or mother-of-pearl, though the interior decoration was prominently in the Western style. Moreover, the glazed ceramic ornaments reflect 4 values of great significance, which are: Aesthetic value: using the cutting, connecting, patching, attaching and sticking techniques to form a bouquet of flowers, the glazed ceramic ornaments have the forms, shapes, patterns, and colors that are glittering and harmonize well either with the architecture of the Chinese influenced Phra Ratchaniyom style, or with the traditional Thai style. Usefulness value: the glazed ceramics were used to replace the decayable wooden ornaments of the old style architecture, particularly the roof decorations such as Cho Fa, Bai Raka, Hang Hong, Na Ban – the pediment, and Nak Sadung - the serpent-like pediment frame. The glazed ceramics were more durable in the same environment. Spiritual value: the glazed ceramic ornaments were made in the forms as well as with the significance that expressed respect to Buddhism and the monarchy through their elaborate and fine designs, production and decoration. They conveyed their meanings according to the religious beliefs through the forms and symbols such as flowers, objects, and animals. Social value: making use of broken pieces of ceramics, and the noblemen, merchants as well as people dedicating the crockery to be used as ornaments for religious architecture as a mean of merit-making in the reign of King Rama Ill, indicates their participation in society, modernization in the pro-Chinese trend as well as the Sino-Siamese cultural relations.Downloads
Published
2024-02-02
Issue
Section
Articles