การศึกษาสภาพปัจจุบันและปัญหาสินค้าหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ผ้าทอพื้นเมืองอ่างหิน - บ้านปึก จังหวัดชลบุรี

Authors

  • จักรกริศน์ บัวแก้ว

Abstract

การศึกษาสำรวจสภาพปัจจุบันและปัญหาผลิตภัณฑ์หนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ ผ้าทอพื้นเมือง อ่างหิน - บ้านปึก จังหวัดชลบุรี มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาความเป็นมาเก็บและรวบรวมข้อมูลที่เกี่ยวกับสภาพปัญหาที่ผ่านมาในอดีตจนถึงปัจจุบันของผ้าทอ จากกลุ่มชาวบ้านในบ้านอ่างหิน (ตำบลอ่างศิลาในปัจจุบัน) และบ้านปีก (ตำบลบ้านปีกในปัจจุบัน) เพื่อให้ได้ทราบถึงสภาพปัญหา ในแต่ละด้านที่เกิดขึ้นที่เป็นผลให้ผ้าทอดังกล่าวได้สูญหายไประยะหนึ่งการศึกษาในการสำรวจใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือเก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างที่เหลืออยู่ จำนวน 14 คน ซึ่งเป็นผู้ที่ยังทอผ้าอยู่ในปัจจุบัน 4 คน และผู้ที่เคยทอผ้าเมื่อในอดีต 10 คน อีกทั้งยังใช้การสัมภาษณ์และการบันทึกภาพในการเก็บรวบรวมข้อมูล ผลการวิจัยพบว่าแต่เดิมชาวบ้านอ่างหิน (อ่างศิลา) เป็นผู้ทอและจำหน่ายอยู่ในพื้นที่ ลักษณะพิเศษที่เป็นเอกลักษณ์ของท้องถิ่นอย่างหนึ่งที่ไม่เหมือน ในพื้นที่อื่นๆซึ่งได้รับการถ่ายทอดต่อๆกันมาจากบรรพบุรุษคือ กรรมวิธีการขยำข้าวสุก ในขั้นตอนการเตรียมเส้นด้ายทำให้เนื้อผ้าที่ทอออกมา มีลักษณะของเนื้อผ้าที่ละเอียดแน่น เนียน เรียบ บาง และนุ่งห่มสบายไม่มีขน มีความคงทนใช้ได้นานนับ 10 ปี เมื่อผ้าทอในพื้นที่ดังกล่าว ได้รับความนิยมมากขึ้น ทำให้ต้องเพิ่มการผลิต ชาวบ้านอ่างหินในขณะนั้นจึงได้ว่าจ้างชาวบ้านที่บ้านปึกเป็นผู้ทอ ซึ่งมีอาณาเขตของพื้นที่ที่ติดกัน โดยชาวบ้านอ่างหินจะทำหน้าที่เป็นผู้จัดหาในเรื่องวัตถุดิบต่างๆ ในการทอผ้ามาให้ และก็จะมาเก็บผ้าที่ทอสำเร็จจากชาวบ้านปึกไปขายที่บ้านอ่างหิน ปัจจุบันไม่ปรากฎอาชีพการทอผ้าเหลืออยู่ในเขตพื้นที่ตำบลอ่างศิลา แต่ยังคงมีร้านค้าของที่ระลึกและร้านอาหารยังจำหน่ายผ้าทอพื้นเมืองที่ใช้ชื่อผ้าทออ่างศิลาอยู่บ้าง ซึ่งเป็นผ้าที่ทอด้วยระบบอุตสาหกรรม ใช้เครื่องจักรกลในการทอทั้งหมด โดยเลียนแบบลวดลายและสีจากอดีต ผ้าทอดังกล่าวทางร้านค้าได้รับซื้อมาจากโรงงานในภูมิภาคต่างๆ ซึ่งคุณลักษณะและคุณสมบัติ ได้เปลี่ยนไปจากผ้าทอพื้นเมืองในอดีต ส่วนบ้านปึกในอดีต ได้ยกฐานะเป็นตำบลบ้านปึกในปัจจุบันทางโรงเรียนวัดใหม่เกตุงาม ซึ่งตั้งอยู่ในตำบลบ้านปึก ได้ร่วมมือกับบรรดากลุ่มชาวบ้านที่เคยรับจ้างทอผ้าในอดีต จัดตั้งสภาวัฒนธรรมตำบลบ้านปึกขึ้น โดยหวังจะเป็นที่รวบรวมภูมิปัญญาท้องถิ่นให้คงอยู่ และเพื่อที่จะให้ผ้าทอดังกล่าวกลับฟื้นขึ้นมาอีกครั้ง โดยคิดจะเปลี่ยนชื่อเป็น “ผ้าทอบ้านปึก” ในอนาคตรูปแบบผ้าทอพื้นเมือง อ่างหิน-บ้านปึก จะเป็นผ้าพื้น 2 ตะกอ ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นผ้าพื้น ผ้าลายทางลง ผ้าลายทางรอบ ผ้าลายตาสมุก ผ้าทอลายตาราง ประเภทผ้า 4 ตะกอจะเป็นผ้ายกดอก ลายดอกพิกุล ลายข้าวหลามตัด ส่วนใหญ่แต่ละผืนจะมีสีหลักเพียงสีเดียว เช่น สีชมพู สีม่วง สีเขียว สีน้ำเงิน เหลือง สีน้ำเงิน และมักจะใช้ค่าน้ำหนักสีอ่อน-แก่ ลวดลายของผ้าจะมีสีไม่เกิน 3 สีต่อหนึ่งผืน ยกเว้น ผ้าขาวม้าที่มีสีหลายสี ซึ่งเป็นสีที่ย้อมสำเร็จรูปจากแหล่งที่ซื้อ ปัจจุบันรายได้จากการทอผ้าจากชาวบ้านตำบลบ้านปึกที่เหลือยู่ประมาณ 4 ครอบครัว จะอยู่ระหว่างประมาณ 1,001 - 2,000 บาท/เดือน ลูกค้าที่มารับซื้อผ้ามีทั้งลูกค้าเก่าและใหม่ ทั้งภายในจังหวัดและนอกจังหวัด เป็นที่น่เสียดายที่การถ่ายทอดความรู้ด้านการทอผ้าไม่แพร่หลาย ปัจจุบันคนในพื้นที่เป็นส่วนน้อยมากที่ได้รับการถ่ายทอดความรู้การทอผ้าจากญาติ และจากกลุ่มทอผ้าที่ยังคงหลงเหลืออยู่ ส่วนใหญ่จะเป็นผู้สูงอายุที่ไม่สามารถจะทอผ้าได้ในเรื่องวัตถุดิบที่ใช้ทอผ้าเนื่องจากภูมิภาคตะวันออกเป็นพื้นที่ที่ไม่เอื้ออำนวยในการผลิตวัตถุดิบต่างๆ ดังนั้นในส่วนของเส้นด้าย ไหม ฝ้าย และไหมประดิษฐ์ ล้วนซื้อจากแหล่งจำหน่ายภายนอกจังหวัดทั้งสิ้น อันได้มาจากแถบภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เช่น อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์ จังหวัดสุรินทร์ และร้านขายส่งที่กรุงเทพมหานคร เส้นด้ายที่ซื้อส่วนใหญ่จะย้อมสีสำเร็จรูปมาจากแหล่งจำหน่ายเป็นเหตุให้ผ้าทอในปัจจุบันมีสีที่เปลี่ยนไปจากอดีต อุปกรณ์ที่ใช้ในการทอผ้าจะเป็นกี่มือทั้งหมด ปัจจุบันไม่มีผู้ทอคนใดที่ได้รับการฝึกอบรม เรื่องการทอผ้าเพิ่มเติมในช่วง พ.ศ.2540 - 2547 ซึ่งเทคนิคเดิมๆ ที่ได้รับการถ่ายทอดมาจากบรรพบุรุษนั้นได้เลิกใช้มานานแล้ว เนื่องจากมีขั้นตอนและกรรมวิธีที่ยุ่งยากใช้เวลานาน ต้องอาศัยแสงแดดจากธรรมชาติในขั้นตอนการเตรียมเส้นด้าย ประมาณหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 สภาวะสงครามทำให้เกิดปัญหาการขาดวัตถุดิบ จึงเป็นจุดเริ่มต้นที่ทำให้ชาวบ้านเริ่มหันไปประกอบอาชีพอื่นๆ หลังจากนั้นได้มีนักลงทุนมาเปิดโรงงานทอผ้าด้วยเครื่องจักรกลอุตสาหกรรมภายในจังหวัดชลบุรี ทำให้ชาวบ้านส่วนใหญ่เลิกการทอผ้าด้วยมือเข้าไปทำงานในโรงงาน ซึ่งสามารถผลิตได้รวดเร็วกว่าและมีรายได้ที่สม่ำเสมอทำให้ชาวบ้านเลิกการทอผ้าด้วยมือในปัจจุบัน ชาวบ้านและผู้ทอผ้าที่มีความประสงค์อยากจะให้ผ้าทอพื้นเมืองฟื้นกลับ มาอีกครั้ง จึงได้รวมเงินกันจัดตั้งเป็นกลุ่มสหกรณ์ขึ้น เพื่อจัดซื้อวัตถุดิบในการทอผ้ากันเอง ซึ่งอยู่ในความดูแลของสภาวัฒนธรรมตำบลบ้านปึก  The objectives of this exploration were to investigate the origin, the problems and the obstacles of woven cloth manufacturing in Ban Ang Hin (Ang-Sila sub-district) and Banpuk areas. Questionnaires, interview and photographing were the data collecting tools for this research. The samples for this research were consisted of fourteen participants; ten of them had used to make the cloth and the other four were still making it. It was found that originally the residents of Ban Ang Hin (Ang-Sila sub-district) had been the producers and, the retailers. The unique process of Ang Hin-Banpuk woven cloth making was the thread massaging process kneading the thread with cooked and mashed rice and rinsed off. This made the thread smooth, and after being woven with bi-feeder weaving machine, the cloth would be thin and soft with its ten years longevity. After the cloth being well known and popular, the productivity needed to be increased. Those producers changed their position to be the employers but still being retailers. They had provided raw materials and equipments, and hired the residents of Banpuk, located nearby, to make the cloth. Therefore, the manufacturing was not existed in Ban Ang Hin (Ang-Sila sub-district) any longer. However, there were still some souvenir shops and restaurants selling cloth named "Pa Tor Ang-Sila" (Ang-Sila Woven Cloth), but this cloth was mechanically and industrially produced copying the original patterns and colors one. Therefore, the qualification was surely different. Nowadays, Wat Mai Ket Ngam, located in Banpuk area or now become Banpuk Sub-district, cooperated with the former woven cloth producers to establish Banpuk Sub-District Cultural Council aimed to be the local wisdom gathering and preserving center. Moreover, they also intended to revive weaving and to rename the cloth to be "Bapuk Woven Cloth" in the future. The patterns of the cloth The were mostly plain, plaid and flower-like figured. The income from cloth making of the remaining 4 families was approximately 1,001 - 2,000 baht/month. The buyers were both new and old from Chonburi province, itself, and other provinces. At the moment, weaving knowledge was limited only in the elders who were at the moment not being able to weave any longer and not many young people were given and interested in weaving. The raw materials, which could not be produced in the eastern region, such as dyed thread, silk thread and artificial thread were purchased from other provinces located in the north east; e.g., Burirum, Surin and also from some agents in Bangkok. Nowadays, none of the producers was given or trained on supplement knowledge during B.E. 2542-2547. Consequently, weaving techniques were quitted because of the complicated process and depending mostly on natural process. The breaking point was around after World War II. The materials were difficult to find, so the residents changed the it way of earning the money being hired in a factory (which was not exist nowadays) which was faster making and they could consistently gain their salary. At the present, the manual producers and Banpul residents who intended to revive the local weaving cloth established a form of co-operative to procure raw materials under the control of Banpuk Cultural Council.

Downloads

Published

2024-02-02