ผ้าทอพื้นเมือง อ่างศิลา - บ้านปึก

Authors

  • จักรกริศน์ บัวแก้ว

Keywords:

ผ้า, การทอผ้า

Abstract

อ่างศิลา ซึ่งมีชื่อเรียกดั้งเดิมว่า " อ่างหิน" ในอดีต เมื่อช่วงประมาณสมัยรัซกาลที่ 3 เป็นที่ที่มีชื่อเสียงมาก ในด้านการเป็นสถานที่พักต่างอากาศ ทั้งจากชาวต่างประเทศ และชาวบางกอก มีลักษณะเป็นชุมชนหมู่บ้านชายทะเล ในอดีตมีท่าเทียบเรือสำเภาที่ใช้ขนถ่ายสินค้ามาจากประเทศจีน เรียก "ท่าตะพานหิน" ชุมชนอ่างศิลาแบ่งเป็น 3 หมู่บ้านคือ 1. หมู่บ้านไทย 2. หมู่บ้านกลาง เป็นประชาชนคนไทยชาวอ่างศิลาดั้งเดิม และ 3. หมู่บ้านเจ๊ก เป็นชาวจีนที่อพยพมาตั้งถิ่นฐาน ซึ่งมีจำนวนมากกว่าคนไทยในสมัยนั้น ปัจจุบันอ่างศิลา มีสถานภาพเป็นสุขาภิบาลตำบลอ่างศิลา ในเขตการปกครองของอำภอเมืองจังหวัดชลบุรี บ้านปึก มาจากคำว่า หนองปึก หรือหนองปลัก ( คำว่าปึกหรือปลัก ในอดีตหมายถึง บริเวณที่เลี้ยงกระบือ) ตั้งอยู่ในเขตอำเภอเมือง จังหวัดขลบุรี ในปัจจุบันตำบลบ้านปึกขึ้นอยู่กับสำนักงานเทศบาลตำบลอ่างศิลา ซึ่งมีเนื้อที่และอาณาเขตใกล้เคียงกันผ้าทอพื้นเมือง เป็นผลิตภัณฑ์ที่มีความสำคัญอีกผลิตภัณฑ์หนึ่ง ซึ่งนับเป็นมรดกทางวัฒนธรรม และสามารถบ่งบอกถึงเอกลักษณ์ของความเป็นไทยมาช้านาน ทั้งยังบอกได้ถึงความรู้และภูมิปัญญาของเราที่แตกต่างไปจากชนชาติอื่น โดยเป็นที่ยอมรับในงานหัตถกรรมที่สามารถสร้างชื่อเสียงให้เป็นที่รู้จักของชาวต่างประเทศ ซึ่งเป็นผลเกี่ยวเนื่องในด้านเศรษฐกิจ ตั้งแต่ระดับชุมชนถึงระดับประเทศ ศิลปะลวดลายความงามบนผืนผ้าอันเกิดจากความรู้ภูมิปัญญาดั้งเดิม ผสมผสานกับแนวคิดสร้างสรรค์ที่เป็นผลมาจากความแตกต่างของวิถีชีวิต ความเป็นอยู่ และวัฒนธรรมท้องถิ่น จิตวิญญาณของการถ่ายทอดมีลักษณะเฉพาะตัว แตกต่างกันในแต่ละพื้นที่ สินค้าประเกทผ้าในลักษณะต่างๆ อันเกิดจากแหล่งผลิตในชุมชน จึงเป็นงานหัตถกรรมที่มีมูลค่า มีเอกลักษณ์ความโดดเด่น เป็นที่ชื่นชม ชื่นชอบของผู้พบเห็น นำรายได้เข้าสู่ประเทศ สร้างความเข้มแข็งมาสู่เศรษฐกิจชุมชน ผ้าทออ่างศิลา เป็นสินค้าที่ขึ้นชื่อของอ่างศิลาอีกอย่างหนึ่งนอกเหนือไปจาก อาหารทะเล และครกหิน เป็นผ้าที่เคยใช้เป็นผ้าทรงของพระราชาธิบดี โดยมีคู่กันมากับผ้าทอของเมืองจันทบุรี ต่อมาอาชีพทอผ้าของจันทบุรีได้เลิกไป แต่ชาวอ่างศิลายังคงทอสืบต่อกันมา โดยได้เปลี่ยนรูปแบบจากผ้าพื้นและผ้าเช็ดปาก แบบที่เคยทอแต่โบราณมาเป็นทอผ้าซิ่น และผ้าขาวม้าเชื่อกันว่าการทอผ้าที่นี่ส่วนหนึ่งได้รับการถ่ายทอดจากกลุ่มมิชชั่นนารีอเมริกัน ในช่วงต้นรัชกาลที่ 3 ซึ่งมีการเล่าสืบต่อกันมาว่ามีหญิงสาวอ่างศิลาได้ติดตามเจ้านายเข้าไปในพระราชวัง ในยุคต้นกรุงรัตนโกสินทร์ โดยได้ไปเป็นครูผู้สอนการทอผ้าให้กับชาววังในสมัยนั้น ผ้าทออ่างศิลาเป็นงานหัตถกรรมพื้นบ้านของชาวอ่างศิลา นายมนตรี อมาตยกุล เขียนไว้ในหนังสือนำเที่ยวชลบุรีว่า ผ้าทรงของพระมหากษัตริย์บางผืน ก็ทอไปจากอ่างศิลา และจันทบุรีในรัชสมัยพระบาทสมเด็จ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 5) ผ้าทออ่างศิลาก็ยังเป็นของที่พระองค์ใช้พระราชทานให้แก่ข้าราชการที่กรุงเทพฯ (คณะกรรมการฝ่ายประมวลเอกสารและจดหมายเหตุ, 2544) ผ้าทออ่างศิลามีเอกลักษณะเฉพาะ โดยเฉพาะในด้านลวดลายการทอ แต่เนื่องจากจังหวัดชลบุรี เป็นจังหวัดใกล้เขตกรุเทพมหานคร อันได้รับผลกระทบจาก กระแสวัฒนธรรมสมัยใหม่อย่างเต็มที่ และรุนแรง ส่งผลให้ความต้องการใช้ผ้าทอลดจำนวนลง จนแทบจะหาไม่ได้อีกในปัจจุบัน ผ้าทออ่างศิลา จึงได้หายไปจากวัฒนธรรมอันดีงามของประเทศ (สถาบันศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยบูรพา, 2547)

Downloads

Published

2024-02-05