ศิลปะภาพเปลือยของเทพศักดิ์ ทองนพคุณ

Authors

  • เลิศศิริร์ บวรกิตติ

Keywords:

เทพศักดิ์ ทองนพคุณ, ภาพเปลือยในศิลปกรรม

Abstract

“ภาพเปลือย” (nude) นิยมเรียกทับศัพท์ว่า “ภาพนู้ด” หมายถึงภาพมนุษย์ที่ไม่ปกปิดเรือนร่าง หรือ ในบางกรณีมีการปกปิดบางที่บางส่วนเล็กน้อยด้วยสิ่งใดสิ่งหนึ่ง ภาษาอังกฤษ “นู้ด” (nude) หมายถึง คนเปลือยกายอันที่จริงแล้ว “ภาพเปลือย” (หรือภาพมนุษย์เปลือยกาย) นั้นมีปรากฎให้เห็นกันดาดดื่นในงานศิลปะของโลกตะวันตกตั้งแต่ยุคก่อนประวัติศาสตร์ศิลป์จวบจนปัจจุบัน ดังเช่นที่ปรากฎในงานศิลปะแบบ “กามิกศิลป์” (Erotic Art) (รากศัพท์ของคำ “erotic” มาจากคำว่า “error” (n.) ซึ่งมีความหมายว่า ผิด, คลาดเคลื่อน, ไม่ดี) โดยที่ศิลปะ “กามิกศิลป์” ประสงค์ผลทางกามารมณ์เป็นหลัก (พจนานุกรมศัพท์ศิลปะ อังกฤษ-ไทย. ฉบับราชบัณฑิตยสถาน, กรุงเทพฯ: ราชบัณฑิตยสถาน, (๒๕๔๑) กล่าวถึงความหมายของศิลปะแบบ “กามิกศิลป์” ว่าเป็นผลงานที่มีมโนทัศน์ การแสดงออก และเนื้อหาที่เกี่ยวข้องกับการร่วมเพศ การแสดงอวัยวะเพศ หรือพฤดิกรรมทั้งหลายที่เกี่ยวข้องกับกามตัณหา หรือเรื่องทางเพศอย่างชัดเจน) ศิลปะแบบ “กามิกศิลป์” (Erotic Art) มีคุณค่าทางศิลปะ ตามทัศนธาตุต่างๆ อย่างเช่น รูปทรง, เส้น และ ปริมาตร (สังเกตุได้จากการศึกษาวิชาวาดเขียนที่เน้นทักษะของการเขียน “ภาพเปลือย” ที่บรรจุอยู่ในกระบวนการเรียนรู้นั้นด้วย), รวมถึงเรื่องราวเนื้อหาที่เกี่ยวข้องกับสังคม, หรือประวัติศาสตร์ ก็มีอยู่ให้เห็นร่ำไป และถึงแม้ว่า “ภาพเปลือย” (nude) จะได้รับการยอมรับเป็น “ภาพลักษณ์” (image) แบบหนึ่งของการแสดงออกทางศิลปะที่มีแนวคิดอย่างชัดเจน ไม่ว่าจะเป็นเรื่องราวทางสังคม, ประวัติศาสตร์ และวัฒนธรรมอย่างที่ปรากฏอยู่บ่อย ๆ ซึ่งบางที่มีการแสดงออกของเรื่องราวในลักษณะที่กว้างมาก หรืออิสระมากจนเนื้อหาถูกมองเป็นทางลบ หรือ ไม่ก็มองเป็นการแสดงออกที่ “ลามกอนาจาร” กลายเป็นประเด็นการถกเถียงทางวิชาการศิลปะที่หาข้อสรุปได้ยากในปัจจุบัน (ยุคศิลปะไทยร่วมสมัย) โดยเฉพาะภายใต้กรอบของวัฒนธรรมไทยตั้งแต่ปลายศตวรรษที่ ๒๐ เป็นต้นมาที่ศิลปะมีการขยายขอบเขตและความหลากหลายในทุกมิติและบริบท

Downloads

Published

2024-02-05