การศึกษารวบรวมลวดลายไม้ฉลุแบบขนมปังขิง สกุลช่างจันทบุรี

Authors

  • ภรดี พันธุภากร
  • เสกสรรค์ ตันยาภิรมย์

Keywords:

สถาปัตยกรรม, การตกแต่งและการประดับสถาปัตยกรรม, การออกแบบสถาปัตยกรรม

Abstract

การศึกษารวบรวมลวดลายไม้ฉลุแบบขนมปังชิง สกุลช่างจันทบุรี เป็นการศึกษาต่อเนื่องจากโครงการศึกษาสถาปัตยกรรมสมัยรัตนโกสินทร์ในจังหวัดจันทบุรี โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษารวบรวมอาคารที่มีการประดับตกแต่งด้วยไม้ฉลุลาย รวบรวม คัดลอก วิเคราะห์ และจัดกลุ่มลวดลายแบบขนมปังชิง ที่ปรากฎในเขตพื้นที่จันทบุรี เพื่อการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมของท้องถิ่นภาคตะวันออก ก่อนการรื้อถอนทำลายหรือเสื่อมสภาพและสามารถนำไปใช้เป็นข้อมูล ในการเรียนการสอนทางด้านศิลปกรรมศาสตร์ หรือส่วนอื่นที่เกี่ยวข้องในการศึกษาดังกล่าว ได้ใช้ข้อมูลจากผลการศึกษาสถาปัตยกรรมสมัยรัตนโกสินทร์ ในจังหวัดจันทบุรีเป็นหลัก การสำรวจภาคสนามจากแหล่งสถานที่จริง โดยมีอาคารที่มีการตกแต่งด้วยลายฉลุไม้แบบขนมปังชิง จำนวน 62 หลัง หรือเป็นลวดลายไม้ฉลุ 125 แบบลาย ทำให้ทราบได้ว่าอาคารที่มีการตกแต่งด้วยลวดลายไม้ฉลุแบบขนมปังขิง เป็นอาคารที่เป็นที่นิยมมาแต่สมัยรัชกาลที่ 5 ถึงรัชกาลที่ 6 และความนิยมลดน้อยลงในสมัยรัชกาลที่ 7 โดยอาคารส่วนใหญ่อยู่ที่ย่านท่าหลวง และศูนย์กลางในเขตอำเภอเมือง พื้นที่ตำบลพลิ้ว อำเภอแหลมสิงห์ อำเภอขลุง และอำภอท่าใหม่ อาคารดังกล่าวได้รับอิทธิพลตะวันตกที่แพร่เข้ามาในจันทบุรีร่วมระยะเวลาเดียวกับที่แพร่หลายในพระนคร อาคารที่ตกแต่งด้วยลวดลายแบบขนมปังขิง จะไม่ปรากฎข้อมูลเกียวกับช่าง ทราบเพียงส่วนใหญ่เป็นช่างในท้องถิ่น ช่างจีน และช่างญวนและบางส่วนเป็นการสั่งซื้อไม้ฉลุลายจากพระนคร ในการตกแต่งตัวอาคารจะนิยมนำไม้ฉลุแบบขนมปังขิง ประดับตกแต่งบริเวณเหนือบานประตูแบบบานและบานหน้าต่าง ตกแต่งบริวณคอสอง ใต้ฝ้าเพดาน ระบายชายคา ระบายชายคากันสาด – หน้าต่างลูกกรงระบียง และค้ำยันชายคา สำหรับลวดลายแบบขนมปังขิง มีทั้งตัวลายที่กิดจากพื้นไม้ ส่วนใหญ่เป็นลายตามแนวนอน เป็นลวดลายที่มีความโปร่ง อ่อนช้อย เส้นคดโค้ง ลื่นไหล และบางส่วนเป็นแบบหงิกงอ ลักษณะลวดลายที่เด่นชัดคือลายก้านขดพันธุ์พฤกษา โดยแตกลายเป็นกิ่งก้าน ช่อดอก ช่อใบลักษณะต่าง ฯ โดยเฉพาะรูปดอกทิวลิป ที่นับเป็นแบบฉบับของลายแบบขนมปังขิง อีกลักษณะหนึ่ง คือ ลวดลายที่เกิดจากช่องว่าง ส่วนใหญ่จะเป็นลายในแนวตั้ง โดยฉลุเป็นช่องปิดรูปแบบต่าง ๆ และฉลุเป็นช่องเปิดที่ต้องต่อเชื่อมกับไม้แผ่นอื่นที่ฉลุแบบเดียวกัน ทั้งนี้ลายจากช่องฉลุจะเป็นลวดลายที่เกิดจากไม้ 2 แผ่น ประกอบแบบที่ฉลุซ้ายขวาเหมือนกัน และแบบที่ซ้ายขวาต่างกัน หรือเป็นลายแผ่นเดี่ยว แต่นำมาจัดเรียงต่อ ซึ่งรูปแบบของช่องฉลุที่นิยม คือ รูปลูกน้ำ ใบไม้ ดอกไม้สามกลีบ ดอกไม้สี่กลีบ รูปดอกจิก หยดน้ำ หัวใจ และรูปดอกทิวลิป โดยส่วนใหญ่เมื่อประกอบลายแล้วจะมีลักษณะเหมือนช่ออุบะแบบต่าง ๆ คั่นด้วยลายอื่น นอกจากนี้บางส่วนยังปรากฎรูปสัญลักษณ์ที่มีความสำคัญในสังคมอดีตแทรกอยู่ในลวดลาย ได้แก่ ตัวอักษร ตัวเลข รูปธงชาติ และรูปพานรัฐธรรมนูญ  This is a follow-up on the Study of Rattanakosin Architecture in Chanthaburi Province. The objectives of this study are to compile data focusing on all buildings with gingerbread decoration in Chanthaburi, gather, copy, analyze as well as classify the motifs into groups in an attempt to preserve the folk arts and culture of the East before they would be demolished, destroyed or deteriorated. The result to this study can be further used as a source of data for artistic education or other related fields, as well. In carrying out this research, the study of Rattanakosin Architecture in Chanthaburi province was mainly referred to. More data was also collected from field surveys. It was discovered that there are a total of 62 buildings with 125 motifs of gingerbread decoration in Chanthaburi.  The study indicates that gingerbread architecture in this province had gained popularity during the reigns of King Rama V and King Rama VI before experiencing a decline in the reign of King Rama VII.  Most of the buildings are still to be seen in Tha Luang area, downtown Mueang district, Philo sub-district of Laem Sing district, Khlung district and Tha Mai District.  They Reflect western influence that spread to Chanthaburi during the same period as Bangkok. There has been no evidence of the artisans who constructed the gingerbread architecture the fact that they were local Chinese and Vietnamese. The scroll works were partly ordered from Bangkok. The gingerbread motifs were mostly used to decorate the top parts of bi-fold or accordion door and window, frieze, ceiling, eave, window's canopy, balustrade and bracet and were formed in different manners. Some motifs may be formed by the silhouettes of the scroll works themselves. They are mostly horizontal with a transparent look and comprise either smooth, graceful curly lines, or irregular, vermicular lines. Floral scrolls are the most prominent motifs, with their stems, foliage and flowers curling in various patterns to form several beautiful designs. Tulips are particularly typical of the gingerbread decoration. Other motifs, which are mostly vertical, may be formed by empty spaces in identical pieces of scrollwork with closed and open cuts.  Two such pieces, when connected, make one motif. The scrollwork designs on the left and right of each piece can be either symmetrical or asymmetrical. They can even be formed by an arrangement of single pieces of scrollwork.  Favorite designs include commas, foliage, trefoils, quatrefoils, clubs, raindrops, hearts and tulips.  These designs, when composed together, form beautiful motifs that look like a variety of floral tassels with other designs in between. There are also some symbols that used to be of certain significance in society in the past such as scripts, figures, flags, and the Constitution on a pedestaled tray.

Downloads

Published

2024-02-05