การศึกษาสถาปัตยกรรมสมัยรัตนโกสินทร์ในจังหวัดจันทบุรี
Keywords:
สถาปัตยกรรมไทย, สถาปัตยกรรม, จันทบุรี, สถาปัตยกรรมที่อยู่อาศัย, การออกแบบสถาปัตยกรรมAbstract
งานวิจัยเรื่องการศึกษาสถาปัตยกรรมสมัยรัตนโกสินทร์ในจังหวัดจันทบุรี เป็นการศึกษาวิจัยในเชิงประวัติ ศาสตร์ ร่วมกับการศึกษารูปแบบของอาคารสถาปัตยกรรมที่ปรากฏในจันทบุรี ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2325 จนถึง พ.ศ.2500 โดยศึกษาจากเอกสารทางประวัติศาสตร์ เอกสารอื่น ๆ การสัมภาษณ์บุคคลที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งการสำรวจภาคสนาม โดยการกำหนดอาคารที่มีความสำคัญ ทั้งมีความสัมพันธ์กับเรื่องราวทางประวัติศาสตร์ และมีรูปแบบน่าสนใจมาเป็นตัวอย่าง เพื่อให้ทราบถึงอิทธิพลที่มีต่อรูปแบบสถาปัตยกรรม จากการศึกษาวิจัยทำให้ทราบได้ว่าสถาปัตยกรรมสมัยรัตนโกสินทร์ในจันทบุรีในช่วงเวลา 175 ปี ที่ปรากฏนั้น มีความหนาแน่นอยู่ในบริเวณอำเภอเมือง อำเภอท่าใหม่ อำเภอขลุง และอำเภอแหลมสิงห์ โดยรูปแบบ และ องค์ประกอบเหล่านั้นล้วนมีเหตุและปัจจัยมาจากความเป็นมาในอดีต แหล่งที่ตั้ง สภาพทางภูมิศาสตร์ และความเป็นเมืองท่าค้าขายทำให้มีชาวต่างชาติเข้ามาในพื้นที่เป็นจำนวนมาก การพัฒนาปรับปรุงทางด้านการบริหารการ ปกครอง แม้จนกระทั่งการเข้าสู่กระแสสังคมโลกด้วยการเป็นดินแดนในอาณานิคมของฝรั่งเศส ซึ่งปัจจัยต่าง ๆ เหล่านี้ มีส่วนทำให้สถาปัตยกรรมจันทบุรีมีพัฒนาการที่จัดแบ่งได้เป็น 3 ระยะคือ ระยะที่ 1 รัชกาลที่ 1 ถึงรัชกาลที่ 4 เป็นช่วงที่สถาปัตยกรรม เป็นลักษณะแบบแผนประเพณีที่ทำกันมาแต่ เดิมทั้งแบบไทยและแบบจีน ระยะที่ 2 รัชกาลที่ 5 ถึงรัชกาลที่ 6 เป็นช่วงอิทธิพลของสถาปัตยกรรมแบบตะวันตกที่เป็นไปอย่างรุนแรง แพร่กระจายหลากหลาย ซึ่งแต่ละรูปแบบจะเน้นการประดับตกแต่งเป็นสำคัญ ระยะที่ 3 รัชกาลที่ 7 ถึงรัชกาลที่ 9 เป็นช่วงที่สถาปัตยกรรมมีความเรียบง่ายเน้นความจำเป็นของการใช้สอยที่สัมพันธ์กับสภาพแวดล้อมและละทิ้งการประดับตกแต่ง ในส่วนรูปแบบสถาปัตยกรรมนั้น จากผลการวิจัยสามารถจัดรูปแบบได้ 4 กลุ่มคือ 1. กลุ่มรูปแบบสถาปัตยกรรมไทย โดยเป็นสถาปัตยกรรมที่สร้างตามแบบแผนประเพณีไทย หรือแบบแผนอันเป็นแบบพระราชนิยม 2. กลุ่มรูปแบบอิทธิพลจีน เป็นรูปแบบที่ยึดตามแบบแผนประเพณีจีน และบางส่วน ปรับให้เข้ากับสภาพแวดล้อมและวัสดุในท้องถิ่น 3. กลุ่มรูปแบบอิทธิพลตะวันตก เป็นรูปแบบที่ได้รับอิทธิพล สถาปัตยกรรมตะวันตก จากศูนย์กลาง การปกครอง คือ กรุงเทพฯ และจากการที่จันทบุรีตกเป็นดินแดนในอาณานิคมของฝรั่งเศส โดยมีรูปแบบดังนี้ รูปแบบคลาสสิค รูปแบบอาณานิคมฝรั่งเศส รูปแบบขนมปังขิง รูปแบบเครื่องไม้แบบเรขาคณิต รูปแบบสมัยใหม่ 4. กลุ่มรูปแบบพื้นถิ่น เป็นรูปแบบที่ได้รับอิทธิพลตะวันตก โดยปรับให้เหมาะสมสอดคล้องกับประโยชน์ใช้สอย การงานอาชีพและสภาพแวดล้อม ทั้งไม่มีการประดับตกแต่งแต่อย่างใด ทั้งนี้ แต่ละกลุ่มรูปแบบจะมีการผสมผสานระหว่างกัน และกันมีลักษณะของฝีมือช่างแบบท้องถิ่น แต่ที่โดดเด่น คือ สถาปัตยกรรมแบบอิทธิพลตะวันตก มีรูปแบบมากมายปะปนผสมผสานอยู่ในสถาปัตยกรรมทุกประเภท ในทุกช่วงของพัฒนาการ This research is partly a historical study and partly an architectural study of buildings dated between 1782 - 1957 in Chanthaburi, based on historical and other related documentation, interviews, as well as field surveys. Buildings of historical importance and interesting architectural styles have been selected for the study so as to learn of its architectural influences. According to the study, Rattanakosin architecture in Chanthaburi which is dated during the study period of 175 years clusters in Amphoe Mueang, Amphoe Tha Mai, Amphoe Khlung and Amphoe Laem Sing. The architectural styles and components were influenced by historical background, location and topography. The fact that the city was a trade port resulted in and influx of foreigners. The improvement in administration system and having been under the French rule all contribute to the evolution of the architecture in the province. The architectural evolution in Chanthaburi can be classified into 3 periods: 1st Period, King Rama I - King Rama IV, the period of traditional architecture in both the Thai and Chinese styles. 2nd Period, King Rama V - King Rama VI, the period of strong and widespread western influences on architecture focusing mainly on the rich decorations. 3rd Period, King Rama VII - King Rama IX, the period of simplicity, emphasizing the use in relation to the surrounding and quitting the rich decorations. The architectural styles can be classified into 4 groups as follows: 1. Thai architecture including traditional Thai style and the style of royal preferences. 2. Chinese-influenced architecture including traditional Chinese style and the Chinese style that was adapted according to the surrounding and available materials. 3. Western-influenced architecture including the western architecture influenced by the architecture in Bangkok, the capital city, as well as by being under the French rule. The western architecture in Chanthaburi comprises the following types: Classic French Colonial Gingerbread Geometric Wooden House Modern 4. Vernacular 'architecture including the style with western influence but adapted to suit local purposes, occupation, as well as environment and usually with no decoration. In addition, there was a mixture in between each group, reflecting local school of craftsmanship. The outstanding aspect, however, is the western-Influenced architecture with a large variety of types that can be seen in all groups and all groups and all periods of the evolution.Downloads
Published
2024-02-06
Issue
Section
Articles