เยือนเมืองต้าลี่...มีศิลปะ...วัฒนธรรม
Keywords:
สถาปัตยกรรม, จีน, ภูมิประเทศและการท่องเที่ยวAbstract
การเขียนบทความนี้ เป็นผลพลอยได้ส่วนหนึ่งจากการศึกษาดูงาน และแสดงนิทรรศการศิลปะของคณะ อาจารย์จากคณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา ณ Dali College มณฑลยูนนาน ประเทศสาธารณรัฐ ประชาชนจีน ระหว่างวันที่ 22-29 พฤศจิกายน 2545 ที่ผ่านมา อันที่จริง การศึกษา และดูงาน รวมทั้งแสดงผลงานทางศิลปะในนิทรรศการที่จัดขึ้นมิใช่มีเพียง แต่การปฏิบัติงาน ซึ่งเป็นพิธีการเท่านั้น หากแต่การทัศนศึกษาและเยี่ยมชมสถานที่ต่าง ๆ จะสามารถศึกษาทำความเข้าใจ ประวัติ ความเป็นมา รวมทั้งวัฒนธรรมของท้องถิ่นหรือชนชาตินั้น ๆ นับว่าเป็นการเรียนรู้จากประสบการณ์ตรง และเป็นสิ่งที่ครอบคลุมถึงวิถีชีวิต อุปนิสัย จิตใจ ความเชื่อ รวมทั้งปรัชญา ตลอดจนศิลปะและวัฒนธรรมซึ่งเปรียบ เสมือนกระจกเงาที่สะท้อนผ่านโบราณสถาน และสถานที่สำคัญทางประวัติศาสตร์และศิลปะแขนงต่างๆ อย่างชัดเจน อย่างไรก็ตาม การเขียนเกี่ยวกับศิลปะ วัฒนธรรมของเมืองต้าลี่ ควรมีภูมิหลังของความเข้าใจเกี่ยวกับ ความเป็นมาของชนชาติจีน มณฑลยูนนาน และประวัติศาสตร์ของเมืองต้าลี่โดยสังเขป เพื่อจะสามารถเชื่อมโยง ให้เกิดความเข้าใจเบื้องต้น ส่วนรูปแบบของการเขียนนั้น มิได้มุ่งเน้นความถูกต้องด้านประวัติศาสตร์อย่างเคร่งครัด หากแต่เน้นความประทับใจจากการศึกษา ดูงาน และแสดงนิทรรศการศิลปะในช่วงระยะเวลาอันสั้น ภายในเมืองต้าลี่เป็นสำคัญ ประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน มีภูมิประเทศที่กว้างใหญ่ ซึ่งมีความแตกต่างทางประวัติศาสตร์จีนได้ชื่อว่า เป็นดินแดนแห่งภูเขาและที่ราบสูง มีหุบเขาที่สูงและลึกมาก ส่วนแม่น้ำที่มีความยาวที่สุดในโลก อยู่ในประเทศจีน หลายสาย ดังนั้น จึงทำให้สภาพภูมิอากาศของจีนมีความแตกต่างกันอย่างมาก โดยภาคตะวันออกเฉียงเหนือมี อากาศหนาวเย็นด้วยอิทธิพลจากแคว้นไซบีเรีย ส่วนทางตะวันออกเฉียงใต้มีอากาศอบอุ่นกว่า และมณฑลยูนนาน ทางตอนใต้ (South Yunnan) มีอากาศไม่หนาวหรือร้อนจนเกินไป จึงสามารถทำการเพาะปลูกพืชได้เกือบทุกฤดูกาล นอกจากสภาพภูมิประเทศจะมีผลต่ออากาศ และการกสิกรรมแล้ว ยังมีความสัมพันธ์เชื่อมโยงไปสู่สิ่งอื่น ๆ เช่น ในประวัติศาสตร์ของชาวจีนนั้น แม่น้ำเหลืองมีความสำคัญที่สุด เนื่องจากทิศทางการไหลของสายน้ำจากแคว้นมองโกเลีย ลงสู่ด้านทิศใต้ส่งผลให้เกิดโค้งน้ำ และแนวของที่ราบลุ่มซึ่งเป็นดินเหลืองที่อุดมสมบูรณ์ เพราะน้ำที่เอ่อล้น จะพัดพาตะกอนดินจากแม่น้ำขึ้นมาท่วมล้นสองฝั่ง กลายเป็นจุดกำเนิดของอารยธรรมที่สำคัญของชาวจีนคล้ายคลึงกับชนชาติอื่น ๆ เช่น แผ่นดินอียิปต์ ซึ่งอารยธรรมจะเกิดในบริเวณที่ราบลุ่ม อันเกิดจากความอุดมสมบูรณ์ของตะกอนดินจากแม่น้ำไนล์ เช่นกันDownloads
Published
2024-02-06
Issue
Section
Articles