ภูมิปัญญาพื้นถิ่น : ศิลปหัตถกรรมของภาคตะวันออก

Authors

  • สุชาติ เถาทอง

Keywords:

ภูมิปัญญาชาวบ้าน, ศิลปหัตถกรรม, ไทย, ภาคตะวันออก, การแกะสลักหิน

Abstract

ภูมิปัญญาพื้นถิ่นในภาคตะวันออกทางด้านศิลปหัตถกรรมเป็นผลิตภัณฑ์ ที่เกิดขึ้นจากความรู้ ความสามารถของชาวบ้านในท้องถิ่น รู้จักประดิษฐ์ คิดค้นและนำมาใช้ประโยชน์กับการดำเนินชีวิตประจำวันได้อย่างมีประสิทธิภาพเป็น “ทุนดั้งเดิม” ที่มีคุณค่าอยู่ในท้องถิ่นภูมิปัญญาพื้นถิ่นภาคตะวันออกมีลักษณะแตกต่างกันไปตามสภาพทางภูมิศาสตร์ วัฒนธรรมและการถ่ายทอดสืบต่อกันมา โดยเฉพาะภูมิปัญญาท้องถิ่นทางด้านศิลป หัตถกรรมเป็นความจำเพาะกับท้องถิ่นภาคตะวันออกที่เกิดขึ้นจากประสบการณ์และความสอดคล้องภายในท้องถิ่นแต่ะละพื้นที่แตกต่าง จากภูมิปัญญาภายนอกมีความต่างทางวัฒนธรรมและต่างทางคติความเชื่อ โดยมีวัตถุหรือ วัสดุที่ได้มาจากเขตพื้นที่ในท้องถิ่นเป็นปัจจัยหลักต่อการผลิตศิลปหัตถกรรมและมีข้อสรุปที่สำคัญคือ “การแกะสลักหิน” ถนนสายภูมิปัญญาแห่งเอกลักษณ์ : การแกะของภาคตะวันออกเป็นภูมิปัญญาและกลวิธีมีการสืบทอดมาตั้งแต่รัชกาลพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ในระยะช่วงแรกของการสถาปนากรุงรัตนโกสินทร์ ต้องนำเข้าหินที่มาจากจังหวัดชลบุรี เพื่อนำมาก่อสร้างซุ้มประตูจำนวน 8 ซุ้ม บริเวณทางเข้าพระอุโบสถวัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามฯ และมีแหล่งหินที่สำคัญคือ บ้านเขาด้วน จังหวัดปราจีนบุรี บ้านแหลมแท่น จังหวัดชลบุรี การแกะสลักหินภาคตะวันออกจะเริ่มต้นจริงจังในตอนปลายรัชกาลพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศล้านภาลัย เมื่อมีการติดต่อค้าขายกับจีน โดยพระเจ้าลูกเธอกรมหลวงเจษฎาบดินทร์ซึ่งต่อมาเป็นพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวได้แต่งสำเภาไปทำการค้ากับจีนจนร่ำรวยการติดต่อค้าขายกับจีน ทำให้ราชสำนักยุคนั้นมีความนิยมศิลปกรรมแบบจีนและนำตุ๊กตาหินสลักแบบจีน หรือประติมากรรมหินเข้ามาในประเทศไทยโดยนำไปติดตั้งตามวัดและอารามต่าง ๆ ความนิยมการแกะสลักหินแบบจีนได้แพร่ไปสู่ภูมิภาคนอกเมืองหลวงเมืองสำคัญคือจังหวัดชลบุรีเพราะเหตุว่ามีพื้นที่เขตติดต่อกัน การสัญจรไปมาสะดวก มีระยะทางเพียง 90 กิโลเมตร จากกรุงเทพฯ การแกะสลักหินของจังหวัดชลบุรีเกิดจากความคิดริเริ่มของชาวจีนอพยพที่เคยเป็นช่างแกะสลักหินอยู่ในจีนแผ่นดินใหญ่มาก่อน เมื่อมาตั้งหลักแหล่งที่เมืองชลบุรี ได้นำวิชาความรู้และกระบวนการเชิงช่างที่มีอยู่ออกมาใช้ ด้วยการแนะนำชาวบ้าน ให้ทำการแกะสลักหินโดย นำ “หิน” วัตถุดิบ ที่มีอยู่อย่างอุดมสมบูรณ์ในบริเวณแหลมแท่น และจังหวัดใกล้เคียงมาใช้ มีรูปแบบผลิตภัณฑ์ที่แกะสลักในช่วงระยะแรกคือป้ายฮวงซุ้ย ลูกนิมิต ป้ายเสมาและครกหิน

Downloads

Published

2024-02-06