เบิ่งตามอง จ้องอนาคต ดนตรี ปี 2000 (ขึ้นไป)
Keywords:
ดนตรี, การศึกษาและการสอน, ดนตรีสากลAbstract
มุมมองทางด้านการศึกษาดนตรีสากล เนื่องจากผู้เขียนเป็นอาจารย์สอนทางด้านดนตรีสากลมาเป็นเวลาหลายปีแล้วทุก ๆ วันก็มีความคิดว่าจะสอนอย่างไรให้ลูกศิษย์เก่งจริง เก่งจัง เอาตัวรอดได้ไม่อดตาย และสามารถตะแบงให้วิชาดนตรีที่ได้ร่ำเรียนมาเอาตัวรอดได้ในสังคมแต่ก็มีเหตุปัจจัย หลาย ๆ อย่างที่ทำให้ความคิดดังกล่าวไม่สามารถบรรลุไปถึงได้ สาเหตุมีหลายประการแน่ แต่ขณะที่เขียนบทความอยู่นี้ยังนึกไม่ออก นึกได้อยู่บ้างพอจะบ่นให้ฟังได้ดังนี้ การจัดการศึกษาสาขาวิชาดนตรีในประเทศไทยนั้นได้ถูกบรรลุเข้าในหลักสูตร ในระดับประถมศึกษา และมัธยมศึกษามาเป็นเวลานานแล้ว ในช่วงชีวิตหนึ่งของผู้เขียนก็ได้เป็นครูสอนในระดับมัธยมศึกษาด้วย ในการสังเกตของผู้เขียนวิชาดนตรีศึกษาที่มีการเรียนการสอนในชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 และปีที่ 2 นั้น ถ้าเปรียบเทียบความตั้งใจกันระหว่างศิษย์กับครูในการเรียนและการสอนนั้น ทางฝ่ายครูจะชนะอยู่เสมอเด็กหลายคนไม่ชอบเรียนดนตรีแต่ก็ต้องเรียนเพราะหลักสูตรบังคับหลับ ๆ ตื่น ๆ จนจบแบบเรียนก็ยังเรียกตังเขบ็ตว่าตัวตะเข็บอยู่เช่นเดิมยิ่งแย่ลงไปกว่าเมื่อมีคำสั่งจากกรมสามัญให้วิชาดนตรีลดลงจากเดิมที่มีการเรียนการสอนเป็นวิชาหนึ่งในชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 และชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ลงเหลือเป็นบทหนึ่ง ในวิชาศิลปะกับชีวิต (ไม่แน่ใจถ้าผิดขออภัยด้วยครับ) ช่วงเวลานั้นผู้เขียนบทความสะอึกสะอื้นวันละ 3 ครั้งหลังอาหารและ 1 ครั้งก่อนนอนทุกวัน เพราะคิดว่าวิชา ดนตรีศึกษาถูกทำร้ายเสียแล้ว ดนตรีสากลจะเจริญได้อย่างไรในเมืองไทยซึ่งคนไทย สามารถทำเบียร์ได้เองของเรา ท่านลองคิดดูซิว่าในระบบการเรียนการสอนในชั้นมัธยมศึกษาจะทำให้นักเรียนสามารถเล่นดนตรีได้รู้จักทฤษฎีพื้นฐานวิชาดนตรี พอที่จะสอบคัดเลือกเข้าสู่ระดับอุดมศึกษาได้หรือไม่ นักเรียนในเมืองหรือในกรุงเทพฯ ที่มีที่เรียนพิเศษดนตรี เท่านั้นหรือที่มีโอกาสความเท่าเทียม ความเสมอภาค ในโอกาสทางการศึกษาดนตรีอีกนานเท่าไรจึงจะมีในความคิดฝันแบบฝันเฟื่องของผู้เขียน ดนตรีสากลในระบบการศึกษา และ นอกระบบการศึกษาของคนไทยจะก้าวหน้าทัดเทียมประเทศเพื่อนบ้าน และมีความเสมอภาคทางโอกาสในการศึกษาได้นั้น น่าจะมีการจัดหาหลักสูตรการเรียนการสอนใน ระดับประถมศึกษาและมัธยมศึกษาอย่างเต็มที่อย่าทิ้งช่วง แต่ก็นั่นแหละวิชาดนตรีก็ยังเหมือนกับถูกสาป ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันถูกมองเป็นว่าบ้านอกสายตาของนักการศึกษา นักการเมือง ที่มองว่าเป็นวิชาที่มีประโยชน์น้อยกับเศรษฐกิจ การเมือง และการพัฒนาประเทศ ทั้งที่จริงแล้วดนตรีสามารถพัฒนาชีวิต จิตใจ ยกระดับความเป็นคนให้สูงขึ้น สามารถพัฒนาสิ่งต่าง ๆ จนพัฒนาประเทศได้Downloads
Published
2024-02-07
Issue
Section
Articles