โครงการออกแบบสร้างสรรค์ “หอศิลป์กาญจนาภิเษก” มหาวิทยาลัยบูรพา ปรีชา เถาทอง

Authors

  • ปรีชา เถาทอง

Keywords:

หอศิลป์กาญจนาภิเษก, การออกแบบสถาปัตยกรรม

Abstract

อุดมคติของการออกแบบหอศิลป์-กาญจนาภิเษก มหาวิทยาลัยบูรพา มหาวิทยาลัยบูรพาเป็นมหาวิทยาลัยของจังหวัดในฝั่งทะเลตะวันออก มหาวิทยาลัยบูรพาจึงน่าที่จะเป็นศูนย์รวมทางวิชาการที่หลากหลายไม่ว่าจะเป็นสายวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และสายศิลปศาสตร์อันรวมไป ถึงกลุ่มวิชาที่ว่าด้วย สุนทรียศาสตร์ ศิลปวัฒนธรรมศิลปินในแถบตะวันออกและข้างเคียงดังนั้นมหาวิทยาลัยบูรพาจึงเป็นแหล่งสำคัญที่จะอนุรักษ์สืบสานสร้างสรรค์ศิลปวัฒนธรรมพื้นถิ่นและของชาติสืบไป เพื่อให้เป็นแหล่งข้อมูลทางวิชาการและการเผยแพร่ ศิลปวัฒนธรรมของชุมชนบูรพาและชาติไทยสืบไป จากความจำเป็นดังกล่าวทางรัฐบาลได้จัดสรรงบประมาณให้มหาวิทยาลัยบูรพา เพื่อดำเนินการจัดตั้งหอศิลป์ ขึ้นในบริเวณมหาวิทยาลัยบูรพา จากหลักการดังกล่าวจึงเป็นผลสรุปในทางความคิดรวมในการวางแผนในการออกแบบ “หอศิลป์-กาญจนาภิเษก” เพื่อให้บังเกิดหอศิลปที่มีความโดดเด่นเฉพาะตัวของภูมิภาคนี้ เป้าหมายของการดำเนินโครงการออกแบบ กลุ่มคณะออกแบบและผู้บริหารคณะศิลปกรรมศาสตร์และผู้เชี่ยวชาญทางพิพิธภัณฑ์นักออกแบบตกแต่งสถาปนิก มีความเห็นว่าแนวคิดหลักของหอศิลป์น่าจะกำหนดเป็นแผน 3 แผน แผนที่ 1 เป็นการสร้างหอศิลป-ร่วมสมัย (ส่งเสริม สะสมศิลปในแนวสร้างสรรค์) แผนที่ 2 เป็นการสร้างหอศิลปพื้นถิ่น ศิลปที่สืบสานต่อจากอดีต แผนที่ 3 เป็นการสร้างหอศิลปในแนวอนุรักษ์ (เก็บสะสมผลงานดั้งเดิมของพื้นถิ่นและของไทยโดยทั่วไป)

Downloads

Published

2024-02-07