การออกแบบตราสินค้าและบรรจุภัณฑ์ สำหรับผลิตภัณฑ์ผ้ามัดย้อมคราม จังหวัดปทุมธานี

Logo and Packaging Design for Indigo Tie Dye Products, Pathum Thani Province

Authors

  • จุฑามาศ เถียรเวช

Keywords:

ตราสินค้า, บรรจุภัณฑ์, ฉลากสินค้า, ผ้ามัดย้อมคราม, Logo, Packaging, Label, Indigo Tie Dye Products

Abstract

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาข้อมูลของผลิตภัณฑ์ผ้ามัดย้อมคราม จังหวัดปทุมธานี 2) เพื่อออกแบบตราสินค้าและบรรจุภัณฑ์ สำหรับผลิตภัณฑ์ผ้ามัดย้อมคราม จังหวัดปทุมธานี และ3) เพื่อประเมินความพึงพอใจที่มีต่อการออกแบบบรรจุภัณฑ์ สำหรับผลิตภัณฑ์ผ้ามัดย้อมคราม จังหวัดปทุมธานี ผลการวิจัยพบว่า ธุรกิจขนาดย่อมจะอยู่รอด หรือล้มเหลว ก็ขึ้นอยู่กับเจ้าของกิจการที่เรียกว่า “ผู้ประกอบการ” ที่จะต้องสะท้อนถึงความเป็นนักธุรกิจที่มองเห็นโอกาส โดยมุ่งหวังที่จะให้ธุรกิจรอดและเจริญเติบโต ดังนั้น แบรนด์ FINE HEART By Thanyanan จึงมีแนวคิดที่จะพัฒนาตราสินค้าและบรรจุภัณฑ์ เพื่อให้มีเอกลักษณ์เฉพาะตัวและแตกต่างจากคู่แข่งทางการตลาด ผู้วิจัยจึงมีแนวคิดที่จะพัฒนาตราสินค้าและบรรจุภัณฑ์ โดยผู้วิจัยสามารถสรุปผลการวิจัยเป็นขั้นตอนได้ดังนี้ 1) ออกแบบตราสินค้า จำนวน 3 รูปแบบ และนำมาคัดเลือก จากผู้เชี่ยวชาญด้านการออกแบบ พบว่าตราสินค้า รูปแบบที่ 1 ได้คะแนนสูงที่สุด มีผลคะแนนอยู่ในระดับเหมาะสมมาก มีค่าอยู่ที่ (ค่าเฉลี่ย Mean = 4.33, ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน SD = 0.80) 2) ออกแบบบรรจุภัณฑ์โครงสร้างโดยเลือกใช้กล่องลูกฟูกสีขาว ขนาด 27.5X5X20.5 เซนติเมตร โดยกล่องลูกฟูกเป็นบรรจุภัณฑ์ที่แข็งแรง และราคาไม่แพงมาก วัสดุทำจากธรรมชาติซึ่งเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม 3) ออกแบบกราฟิกบรรจุภัณฑ์ (ฉลากสินค้า) ขนาด 15X17 เซนติเมตร โดยลวดลายกราฟิกที่ใช้ในการออกแบบนั้น เกิดจากการนำเอาต้นคราม ประกอบไปด้วยใบของต้นครามและช่อดอกคราม มาตัดทอนและวาดให้เป็นภาพประกอบที่มีเอกลักษณ์และนำมาจัดองค์ประกอบศิลป์ และผลิตเป็นสติ๊กเกอร์ (PVC) ทึบขาว 4) นำบรรจุภัณฑ์ต้นแบบไปประเมินความพึงพอใจที่มีต่อการออกแบบบรรจุภัณฑ์ พบว่า มีผลคะแนนอยู่ในระดับเหมาะสมมาก มีค่าอยู่ที่ (ค่าเฉลี่ย Mean = 4.40, ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน SD = 0.61)  This research aimed to 1) study the data of Indigo Tie Dye Products, Pathum Thani Province; 2) design logos and packaging for Indigo Tie Dye Products, Pathum Thani Province; and 3) assess satisfaction toward packaging design toward Indigo Tie Dye Products, Pathum Thani Province. The results revealed that survival or failure of SMEs depended on business owners called “entrepreneurs” who must reflect being businesspersons with their vision toward opportunities and determination to make their businesses survive and grow further. Thus, the brand FINE HEART By Thanyanan had an idea to develop a logo and packaging with its own identity different from competitors. For this reason, the researcher intended to develop logos and packaging, of which results were concluded into each particular step as follows. 1) 3 logos were designed, and then selected by design experts. It was found that Logo 1 had the highest score, at the level of “very suitable” (Mean = 4.33, SD = 0.80). 2) The structural packaging was designed, using a corrugated white box size 27.5X5X20.5 cm. Basically, corrugated boxes are strong and not much expensive; and made of natural eco-friendly materials. 3) Packaging graphic (label) was design, size 15X17 cm. The graphic used relied on indigo plant, of which leaves and inflorescences were cut and drawn into a picture with identity, followed by composition arrangement. Next, the picture was brought to produce a PVC translucent white sticker. 4) The prototype was brought to assess satisfaction toward packaging design. The results revealed the score at the level of “very suitable” suitable (Mean = 4.40, SD = 0.61).

References

คณาจารย์สาขาวิชาการตลาดมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี. (2555). หลักการตลาด Principles of Marketing. กรุงเทพฯ : ทริปเพิ้ล เอ็ดดูเคชั่น.

เจนยุทธ ศรีหิรัญ. (2563). รอบรู้เรื่องกล่องกระดาษลูกฟูก เกาะกระแสกล่องสำหรับขนส่งสินค้าออนไลน์. พิษณุโลก : สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยนเรศวร.

ฉัตยาพร เสมอใจ (2558). การจัดการธุรกิจขนาดย่อม Small Business Management. กรุงเทพฯ : ซีเอ็ดยูเคชั่น.

ชัยรัตน์ อัศวางกูร. (2550). ออกแบบให้โดนใจ คู่มือการออกแบบบรรจุภัณฑ์สำหรับผู้ประกอบการและนักออกแบบ. กรุงเทพฯ : ทั้งฮั่วซินการพิมพ์.

ธัญปวีณ์ รัตน์พงศ์พร. (2555). การบรรจุภัณฑ์ PACKAGING. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

พงษ์ศักดิ์ ไชยทิพย์. (2547). เทคนิคการออกแบบงานกราฟิก. กรุงเทพฯ : ซีเอ็ดยูเคชั่น.

ไพรฑูรย์ วชิรวงศ์ภิญโญ และมนตรี ประจักจิต. (2556). การบรรจุภัณฑ์. นนทบุรี : สำนักพิมพ์เอมพันธ์.

มยุรี ภาคลำเจียก. (2560). คู่มือบรรจุภัณฑ์มาตรฐาน สำหรับผู้ประกอบการอาหาร SME. กรุงเทพฯ : จินดาสาส์นการพิมพ์.

มยุรี ภาคลำเจียก. (2560). คู่มือบรรจุภัณฑ์มาตรฐาน สำหรับผู้ประกอบการเครื่องสำอาง SME. กรุงเทพฯ : จินดาสาส์นการพิมพ์.

ศิริพรณ์ ปีเตอร์. (2549). ออกแบบกราฟิก. กรุงเทพฯ : โอเดียนสโตร์.

สุภาภรณ์ ธีระจันทร์. (2559). การบรรจุภัณฑ์. กรุงเทพฯ : สุภัชนิญค์ พริ้นติ้ง กรุ๊ป.

อารยะ ศรีกัลยาณบุตร. (2550). การออกแบบสิ่งพิมพ์. กรุงเทพฯ : วิสคอมเซ็นเตอร์.

Downloads

Published

2024-06-20