การสร้างสรรค์สื่อสมัยใหม่ทางพุทธศาสนาในรูปแบบปริศนาธรรม

Creation of modern Buddhist media with the form of Dharma Puzzles

Authors

  • วารินทร์ เงินลาด
  • ไชยพจน์ หวลมานพ

Keywords:

การสร้างสรรค์, สื่อสมัยใหม่, ปริศนาธรรม, creativity, modern media, dharma puzzles

Abstract

การวิจัยเรื่องการสร้างสรรค์สื่อสมัยใหม่ทางพุทธศาสนาในรูปแบบปริศนาธรรม มีวัตถุประสงค์ เพื่อวิเคราะห์ ตีความ สร้างสรรค์ผลงานสื่อสมัยใหม่ทางพุทธศาสนาในรูปแบบปริศนาธรรม และสร้างองค์ความรู้ โดยใช้หลักการจัดองค์ประกอบศิลป์ ทฤษฎีการรับรู้ทางทัศนศิลป์ ประวัติศาสตร์ และสุนทรียะ ประชากรที่ใช้ในการวิจัย คือ นักวิชาการการสร้างสรรค์ภาพประกอบ และบุคคลทั่วไปในเขตกรุงเทพมหานคร และปริมณฑล มาชมผลงาน ที่วัดปัญญานันทราราม โดยทำแบบสอบถามการสุ่มกลุ่มตัวอย่างจำนวน 180 คน พบว่าส่วนใหญ่มีช่วงอายุ 20-50 ปี เป็นเพศหญิงมากกว่าเพศชาย เพศหญิงจำนวน 114 คน และ เพศชายจำนวน 66 คน ผลการวิจัยพบว่า 1) เป็นการนำเสนอผลงานการสร้างสรรค์ เน้นโครงสร้างองค์ประกอบใหม่ ให้เกิดความเป็นเอกภาพของรูปทรงกับเนื้อหา ตามหลักธรรมคำสอนของพุทธศาสนา ผสมผสานกับแนวทางการสร้างสรรค์ โดยใช้ความคิดสร้างสรรค์ทางศิลปะมาวิเคราะห์ และสังเคราะห์ให้ถ่องแท้ เกิดองค์ความรู้แนวเรื่อง นิพพาน ที่สามารถอธิบายได้อย่างมีเหตุมีผล ซึ่งเป็นประโยชน์ต่อการทดลองผสมผสานจินตภาพสมมติจากปริศนาธรรม ทำให้เกิดผลงานสร้างสรรค์สื่อสมัยใหม่ทางพุทธศาสนาในรูปแบบปริศนาธรรม แนวเรื่อง นิพพาน จำนวน 3 ผลงาน ได้แก่ ผลงานเรื่อง นิพพาน พระพักตร์พระพุทธรูป พุทธมามกะ ซึ่งผลงานทั้งหมด ได้แนวคิดจากเรื่อง นิพพาน 2) การสร้างสรรค์ผลงานทำให้ผู้พบเห็นเข้าใจเนื้อหา สาระ คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าได้ลึกซึ้งดียิ่งขึ้น ทำให้เกิดการรับรู้ และเข้าใจของผู้คนในรูปแบบแสดงผลงานศิลปะ ส่งเสริมสร้างจินตนาการ ประสบการณ์ ในหลักคำสอนของพระพุทธเจ้าได้กว้างขวางยิ่งขึ้น มีการแนะนำ และบอกต่อผู้อื่นให้มาชมผลงานภายในวัดปัญญานันทาราม จังหวัดปทุมธานี มากยิ่งขึ้น เป็นอีกหนทางหนึ่งที่ช่วยให้สังคมไทยเกิด ศีล สมาธิ ปัญญา เป็นหนทางไปสู่ผลบุญ และความสุข  Research on the creation of modern Buddhist media in the form of mysticism. have a purpose to analyze, interpret, and create works of modern Buddhist media in the form of religious puzzles. and create knowledge Using the principles of art composition Theory of visual perception History and Aesthetics. The population used in the research is illustration creation academics. and the general public in Bangkok and surrounding areas come to see the work at Wat Panyananthararam. By conducting a questionnaire on a random sample of 180 people, it was found that most were in the age range of 20-50 years, more female than male, 114 female and 66 male. The results of the research found that 1) it was a presentation of creative work. Emphasis on new component structure to create unity of form and content. According to the principles and teachings of Buddhism combined with creative approaches Using artistic creativity to analyze and fully synthesize A body of knowledge about Nirvana was born that could be explained logically. This is useful for experimenting with the combination of imaginary ideas from the Dhamma puzzles. Resulting in the creation of modern media in Buddhism in the form of mysticism, with the theme of Nirvana, totaling 3 works, including the works titled Nirvana, the Face of the Buddha, and Buddha Mamaka, all of which Got the idea from the story of Nirvana. 2) Creating works allows viewers to understand the content, content, and teachings of the Lord Buddha more deeply. cause awareness and understanding of people in the form of artistic display Promote imagination and experience in the teachings of the Buddha more broadly. Recommend and tell others to come and see the works within Wat PanyaNantaram. Pathum Thani Province even more. It is another way to help Thai society develop morality, concentration, and wisdom as a path to merit and happiness.

References

คณาจารย์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2560). พระพุทธศาสนาเถรวาท. (พิมพ์ครั้งที่ 1) กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

ชลูด นิ่มเสมอ. (2534). องค์ประกอบศิลปะ. (พิมพ์ครั้งที่ 7) กรุงเทพฯ: อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง.

ไชยพจน์ หวลมานพ. (2560). ประติมากรรมนูนสูง ภาพพุทธประวัติ. (พิมพ์ครั้งที่ 1). กรุงเทพฯ: ทริปเพิ้ลเอดูเคชั่น.

ไชยพจน์ หวลมานพ. (2562). ประติมากรรมเกิดจากแรงบันดาลใจจากปรัชญาธรรมทางวัตถุในพระพุทธศาสนา (รายงานการวิจัย). มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี

ธนากรณ์ อุดมศรี. (2554). ปริศนาธรรม. งานวิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, สาขาวิชาศิลปไทย, คณะบัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยศิลปากร.

นิด้าโพล. (2564). วันมาฆบูชาและวันกตัญญูแห่งชาติ. สืบค้นเมื่อ 14 ตุลาคม 2564, สืบค้นจาก https://nidapoll.nida.ac.th/surveygroup_id=0&category_id=5&month_date=2&year_date=9

ประเสริฐ พิชยะสุนทร. (2557). ศิลปะและการออกแบบเบื้องต้น. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต). (2559). พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม. (พิมพ์ครั้งที่ 34).กรุงเทพฯ: มูลนิธิการศึกษาเพื่อสันติภาพ พระธรรมปิฎก (ป.อ.ปยุตฺโต).

พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต). (2548). หัวใจพระพุทธศาสนา. สืบค้นเมื่อ 15 ตุลาคม 2564, สืบค้นจาก https://npt.onab.go.th/th/content/category/detail/id/9/iid/5565

พระครูปลัดญาณวิทย์ ชยาภิรโต. (2561). ศึกษาวิเคราะห์บ่อเกิดแห่งความรู้ในพระพุทธศาสนา. งานวิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, สาขาวิชาพระพุทธศาสนา, คณะบัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระครูสุธรรมนาถ ศรีศรทอง. ( 2562). การศึกษากระบวนทัศน์นิพพานในพระพุทธศาสนาตามแนวคิด: การค้นหาความจริงด้วยวิภาษวิธี. งานวิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต, สาขาวิชาพัฒนศึกษา, คณะบัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยศิลปากร.

พระปริญญา ปริสฺสโร. (2561). ศึกษาการบรรลุความปรารถนาสวรรค์ของมนุษย์ในพระพุทธศาสนาเถรวาท. งานวิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระสุทัศน์ จารุธมโม. (2560). วิเคราะห์การพัฒนาปัญญาในพระพุทธศาสนาเถรวาท. งานวิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, สาขาวิชาพระพุทธศาสนา, คณะบัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พุทธทาสภิกขุ. (2564). นิพพาน. (พิมพ์ครั้งที่ 1). กรุงเทพฯ: พระพุทธศาสนาของธรรมสภา.

รัตนะ ปัญญาภา. (2563). ถอกรหัสแนวคิดเพื่อชีวิตแนวพุทธ. (พิมพ์ครั้งที่ 1). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

ลักษณวัต ปาละรัตน์. (2559). พระพุทธศาสนาเบื้องต้น. (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยรามคำแหง

วิรัตน์ เอกปัจชา. (2561). พุทธศรัทธา. งานวิทยานิพนธ์ปริญญาบัณฑิต, สาขาทัศนศิลป์ (ศิลปไทย), คณะจิตรกรรม ประติมากรรมและภาพพิมพ์, มหาวิทยาลัยศิลปากร.

สมพร ธุรี. (2553). การวิเคราะห์ทัศนศิลป์. (พิมพ์ครั้งที่ 1). กรุงเทพฯ: ทริปเพิ้ล เอดูเคชั่น.

สมพร ธุรี. (2553). ประวัติและแบบอย่างศิลปะไทย. (พิมพ์ครั้งที่ 1). กรุงเทพฯ: ทริปเพิ้ล เอดูเคชั่น.

สมภพ จงจิตต์โพธา. (2558). องค์ประกอบศิลป์. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: วาดศิลป์.

อภิชาติ เอี่ยมวิจารณ์. (2561). การสร้างสรรค์ผลงานมารผจญในจิตรกรรมไทยร่วมสมัย (รายงานการวิจัย). มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม

Downloads

Published

2024-06-20