นวัตกรรมประติมากรรมเครื่องเคลือบสมัยใหม่ของโจวกั๋วเจิน

Zhou Guojin’s innovativeness in modern ceramic art

Authors

  • โจว ฟาง
  • ภูวษา เรืองชีวิน
  • ภรดี พันธุภากร

Keywords:

นวัตกรรมประติมากรรมเครื่องเคลือบ, เครื่องเคลือบสมัยใหม่, โจวกั๋วเจิน, Innovativeness in modern ceramic art, Modern ceramic art, Zhou Guojin

Abstract

ศิลปะประติมากรรมเครื่องเคลือบสมัยใหม่ของโจวกั๋วเจินมีภาษาศิลปะอันเป็นเอกลักษณ์ ได้รับความสนใจอย่างกว้างขวางมาตั้งแต่ปี 1950 โจวกั๋วเจินมีส่วนสำคัญอย่างมากในการส่งเสริมและสนับสนุนการสืบทอดอัตลักษณ์ทางวัฒนธรรมและคุณค่าทางจิตวิญญาณของเครื่องเคลือบจีนที่มีอายุกว่าพันปี และเป็นผู้สร้างคุณูปการต่อการส่งเสริมและพัฒนาศิลปะประติมากรรมเครื่องเคลือบสมัยใหม่ของจีน โดยมีความตั้งใจ “สืบทอดโดยไม่คัดลอก สร้างสรรค์สิ่งใหม่โดยไม่ลืมรากเหง้า” ในปี 1954-1959 เป็นยุคหมอก หมายถึง ช่วงเวลาแห่งการรับรู้ที่คลุมเครือ โจวกั๋วเจินต้องการสร้างแนวความคิดทางศิลปะเพื่อการสร้างสรรค์สิ่งใหม่ การสร้างสรรค์ในยุคหมอก ใช้องค์ประกอบที่เรียบง่าย สมจริงเป็นธรรมชาติ มีความประสานผสมกลมกลืนระหว่าง “มุมมอง  รูปร่าง  วิญญาณ และ อารมณ์” ในปี 1960-1981 เป็นยุคสุนทรียภาพ โจวกั๋วเจินเริ่มแสวงหาความสมบูรณ์ของรูปร่างรูปทรง มีการตกแต่งโดยการใช้น้ำเคลือบสี ทำให้ผลงานมีเสน่ห์ น่าดึงดูด และน่าสนใจ ในปี 1981-1988 เป็นยุคโบราณ โจวกั๋วเจินได้พบแก่นแท้ของความงาม การแสดงออกถึง ธรรมชาติอันศักดิ์สิทธิ์ และความเป็นอันหนึ่งเดียวกันของมนุษย์กับธรรมชาติ” อันเป็นเอกลักษณ์ของวัฒนธรรมตะวันออก ในปี 1988-2007 เป็นยุคการแสดงออกใหม่ เป็นช่วงการเปลี่ยนแปลง สร้างจิตสำนึก การขึ้นรูปที่เป็นการอนุรักษกับผลลัพธ์ที่เปลี่ยนแปลงไป เกิดมุมมองความคิด “ศิลปะการสร้างเครื่องเคลือบดินเผา แบบดั้งเดิมเป็นงานฝีมือที่บริสุทธิ์ที่สุด และชิ้นงานจะถูกปกคลุมไปด้วยรอยนิ้วมือที่ถือเป็นรอยประทับทางอารมณ์ มีจิตวิญญาณของศิลปิน ที่เป็นอิสระในการสร้างผลงาน สามารถระบายจินตนาการและ พลังได้อย่างเต็มที่” ในปี 2007- ปัจจุบัน เป็นยุคสู่สิ่งแวดล้อมอันยิ่งใหญ่ โจวกั๋วเจินได้สร้างเครื่องเคลือบขนาดใหญ่ ก้าวข้ามขีดจำกัด สะท้อนถึงลักษณะของยุคสมัย เป็นอุดมคติ และสุนทรียภาพของคนรุ่นนี้”  Contemporary ceramic art by Zhou Guojin has been of significant interest since the 1950s. Zhou Guojin has played a pivotal role in fostering the transmission of cultural heritage and spiritual values inherent in Chinese ceramics, which have a history spanning over a millennium. Moreover, he has been instrumental in promoting and advancing contemporary ceramic art in China, with a deliberate intention to "inherit without imitation, create anew without forsaking roots." During the period from 1954 to 1959, characterized as "the era of fog," a period of heightened awareness and exploration, Zhou Guojin sought to cultivate artistic ideologies conducive to creative innovation. This creative endeavor during the era of fog involved employing simplistic elements, embracing natural realism, and harmonizing "perspectives, forms, spirits, and emotions." Subsequently, from 1960 to 1981, marked " the era of prosperity," wherein Zhou Guojin embarked on a quest for aesthetic perfection in forms. This period witnessed embellishments through the application of colorful glazes, rendering artworks charming, captivating, and intriguing. Transitioning to " the era of antiquity " from 1981 to 1988, Zhou Guojin delved into the essence of true beauty, expressing reverence towards nature and emphasizing the intrinsic unity between humanity and the natural world, characteristic of Eastern culture. The period spanning from 1988 to 2007 marked " the era of new expression," characterized by transformative shifts and consciousness-raising endeavors. Here, Zhou Guojin advocated for “an art form that embraced evolving outcomes, encouraging perspectives that viewed traditional ceramic craftsmanship as the epitome of purity, marked by emotional imprints akin to the artist's fingerprints, thereby enabling artists to create with unrestricted imagination and vigor”. From 2007 to the present is the era of embracing the vast environment. Zhou Guojin's artistic endeavors have transcended boundaries, as evidenced by his creation of large-scale ceramics, reflective of the expansive nature of contemporary times. This period epitomizes an optimistic outlook and the prosperity emblematic of the current generation's ethos and aspirations.

References

Chen Long.(2014). “การวิจัยรูปแบบทางสุนทรียภาพของศิลปะประติมากรรมเครื่องเคลือบของโจวกั๋ว” เจิน. เจียงซี : สถาบันเครื่องเคลือบจิ่งเต๋อเจิ้น.

Hou Yangyang. (2013) “การวิจัยเกี่ยวกับต้นกำเนิดทางวิชาการศิลปะของโจวกั๋วเจิน”.หรงป่าวจาย (10) : 187-199.

Hou Yangxiang. (2014). “ศิลปะของโจวกั๋วเจิน. ประติมากรรม” (06) : 54-57.

Liu Longcai, & Zhou Guozhen. (2011). “จิตวิญญาณสูงสุดของศิลปะเครื่องเคลือบร่วมสมัย”. เศรษฐกิจอุตสาหกรรมการผลิตประเทศจีน (04),106-108.

Jiang Liping. (2015). “โจวกั๋วเจินที่ฉันรู้จัก” ศาสตร์และศิลปะเครื่องเคลือบ (03),27-43.

Jin Wenwei.(2003). “การรู้จักใหม่อีกครั้งของศิลปะประติมากรรมเครื่องเคลือบของโจวกั๋วเจิน.: การประดับตกแต่ง. (07),69-70.

Sun Chen. (2008). “การมองเห็นความแยบยลจากความอ่อนน้อม” ศิลปแบบศิลปะประติมากรรมรูปทรงสัตว์ของโจวกั๋วเจิน. เจียงซี : สถาบันเครื่องเคลือบจิ่งเต๋อเจิ้น.

Yi Jingming. (2015). “ศิลปินเครื่องเคลือบที่มีชื่อเสียงของจีนร่วมสมัย” ชีวิตของเครื่องเคลือบ. ไถเซิง (04): 26-31.

Zhou Guozhen. (2011) “สมาคมแห่งความฝัน,คอลเล็กชั่นผลงานเครื่องเคลือบสมัยใหม่ของโจวกั๋วเจิน”ปักกิ่ง: สำนักพิมพ์ศิลปะและวัฒนธรรมปักกิ่ง.

Zhou Guozhen. (1980) “พูดคุยถึงประติมากรรมเครื่องเคลือบ”. วารสารสถาบันเครื่องเคลือบ (01 ):43-49

Zhang Hongxia, Lin Langming, & Zhou Guozhen. (2019). ผู้บุกเบิกและประติมากรรมขนาดใหญ่ของเครื่องเคลือบดินเผาจีนสมัยใหม่. ประติมากรรม (06) : 64-71.

Downloads

Published

2024-06-20