ปฏิสัมพันธ์ภายในทีมและสภาพแวดล้อมของทีมที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการทำงานของทีมข้ามสายงาน: กรณีศึกษาโรงเรียนอัสสัมชัญศรีราชา
Keywords:
โรงเรียนอัสสัมชัญศรีราชา, การทำงานเป็นทีม, สภาพแวดล้อมการทำงาน, กลุ่มทำงานAbstract
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่สามารถร่วมกันทำนายประสิทธิผลการทำงานของทีมข้ามสายงานของโรงเรียนอัสสัมชัญศรีราชา กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ บุคลากรครูสายการสอนและสายสนับสนุนการเรียนการสอน ที่ปฏิบัติงานในโรงเรียนอัสสัมชัญศรีราชา ปีการศึกษา 2555 จำนวน 200 คน ได้มาโดยวิธีการสุ่มแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามมาตรส่วนประมาณค่า 5 ระดับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลประกอบด้วย สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน (Pearson’s Product-moment Correlation Coefficient) และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน (stepwise Multiple Regression Analysis) ผลการวิจัยพบว่า ความสัมพันธ์รพหว่าปัจจัยด้านปฏิสัมพันธ์ภายในทีม และปัจจัยด้านสภาพแวดล้อมของทีม และประสิทธิพลการทำงานของทีมข้ามสายงานของโรงเรียนอัสสัมชัญศรีราชา ทุกด้านมีความสัมพันธ์กันทางบวกในระดับสูง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 จากสมการพยากรณ์ที่ดีที่สุดพบว่า ตัวแปรพยากรณ์ของปัจจัย ด้านความฉลาดทางอารมณ์ของทีม (X1) ด้านความเหนียวแน่นในทีม (X3) ด้านความไว้วางใจในทีม (X2) สมการพยากรณ์ประสิทธิพล การทำงานของทีมข้ามสายงานของโรงเรียนอัสสัมชัญศรีราชา (Ŷ ) ได้ร้อยละ 65.2 และสามารถร่วมกันทำนายได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ .01 และได้สมการพยากรณ์ ดังนี้ Ŷ = .719 + .361(X1) + .271(X3) + .182(X2) หรือเขียนในรูปคะแนนมาตรฐาน Zy = .380Zx1 + .289Zx3 + .253Zx2 The purpose of this research was to determine factor that can predict all aspects of cross-functional team effectiveness: a case study of Assumption College Sriracha. The sample consisted of 20 teachers of Assumption College Sriracha. The research instrument used for collecting data were five level rating scale questionnaire. The statistics devices used in analyzing the data included pearson product moment correlation coefficient and stepwise multiple regression analysis. The findings were the follow: There was positive relationship between factors and cross-functional team effectiveness: a case study of Assumption College Sriracha. According to the best prediction equation, it indicated that factors of the team emotional intelligence (X1) team effectiveness of Assumption College Sriracha. As a whole at 65.2 percent with statistical significance of .01. The raw data predicable equation could be written as follows: Ŷ = .719 + .361(X1) + .271(X3) + .182(X2) And in the form of standard score as Zy = .380Zx1 + .289Zx3 + .253Zx2Downloads
Issue
Section
Articles