ความสัมพันธ์ระหว่างการปฏิบัติตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงกับคุณภาพชีวิตของข้าราชการครูสังกัดสำนักการศึกษา กรุงเทพมหานคร

Authors

  • ณัฐพจน์ ยืนยง

Keywords:

เศรษฐกิจพอเพียง, คุณภาพชีวิต, ข้าราชการครู, ชีวิตทางสังคม, ครู

Abstract

          การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อศึกษาระดับการปฏิบัติตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงและระดับคุณภาพชีวิตของข้าราชการครูสังกัดสำนักการศึกษา กรุงเทพมหานคร (2) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการปฏิบัติตากหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงกับคุณภาพชีวิตของข้าราชการครูสังกัดสำนักการศึกษา กรุงเทพมหานคร (3) เพื่อศึกษาข้อเสนอแนะในการปฏิบัติตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง และ (4) เพื่อศึกษาข้อเสนอแนะในการพัฒนาคุณภาพชีวิต กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ ข้าราชการครูสังกัดสำนักการศึกษา กรุงเทพมหานคร จำนวน 390 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามเกี่ยวกับการปฏิบัติตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงและคุณภาพชีวิตของข้าราชการครูสังกัดสำนักการศึกษากรุงเทพมหานคร ซึ่งผู้วิจัยสร้างขึ้นมีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.93 และ 0.92 ตามลำดับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบ Pearson (Pearson’ Product-moment Correlation Coefficient) การสรุปความและแจกแจงความถี่ ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้          1. ข้าราชการครูมีความคิดเห็นต่อการปฏิบัติตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง โดยภาพรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก เรียงตามลำดับ ได้แก่ ด้านเงื่อนไขคุณธรรม ด้านความมีเหตุผล ด้านเงื่อนไขความรู้ ด้านมีภูมิคุ้มกันที่ดีในตัว และด้านความพอประมาณ สวนคุณภาพชีวิตโดยภาพรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก เรียงตามลำดับ ได้แก่ ด้านสังคม ด้านจิตใจ ด้านสิ่งแวดล้อม และด้านร่างกาย          2. การปฏิบัติตามหลักปฏิบัติเศรษฐกิจพอเพียงมีความสัมพันธ์ทางบวกกับคุณภาพชีวิตของข้าราชการครูสังกัดสำนักการศึกษา กรุงเทพมหานคร ในภาพรวมอยู่ในระดับสูง (r = 0.703) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01          3. ข้าราชการครูมีข้อเสนอแนะในการปฏิบัติตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง เรียงตามลำดับ ดังนี้ ด้านความพอประมาณ ได้แก่ ควรคำนึงถึงรายรับและรายจ่ายก่อนการตัดสินใจดำเนินการใช้จ่ายทุกครั้ง ด้านความมีเหตุผล ได้แก่ควรใช้สิ่งของอยางคุ้มค่าและเกิดประโยชน์สูงสุด ด้านภูมิคุ้มกันที่ดีในตัว ได้แก่ ควรมรวินัยในการใช้จ่ายเงินและรู้จักเก็บออมไว้ใช้ในยามจำเป็น ด้านเงื่อนไขความรู้ ได้แก่ ควรพัฒนาตนเองและศึกษาหาความรู้อยู่เสมอ และด้านเงื่อนไขคุณธรรม ได้แก่ ควรใช้หลักคุณธรรมในการดำเนินชีวิตและปฏิบัติงาน          4. ข้าราชการครูมีข้อเสนอแนะในการพัฒนาคุณภาพชีวิต เรียงตามลำดับ ดังนี้ ด้านร่างกาย ได้แก่ ควรออกกำลังกาย ได้แก่ ควรออกกำลังการอย่างสม่ำเสมอเพื่อให้สุขภาพร่างกายแข็งแรสมบูรณ์ ด้านจิตใจ ได้แก่ ควรทำจิตใจให้เบิกบานมองโลกในแง่ดีและคิดว่าชีวิตของตนมีความหมายและมีคุณค่าด้านสังคม ได้แก่ ควรไปใช้สิทธิ์เลือกตั้งทุกครั้ง และด้านสิ่งแวดล้อม ได้แก่ ไม่ควรก่อหนี้สินหรือกู้ยืมเงินมาใช้โดยไม่มีความจำเป็น           In this study, the researcher in investigates (1) the levels at which performance in accordance with the principle of sufficiency economy philosophy is evinced by selected teachers under the supervision of the Department of Education, Bangkok Metropolitan Administration (BMA) vis-à-vis the quality of life enjoyed by these teachers. The researcher examines (2) the relationships between performance in accordance with the principle of sufficiency economy philosophy and the quality of life as exhibited by the teachers under study. Finally, the researcher offers (3) recommendations made by the teachers under investigation in connection with their comportment in accordance with the principle of the sufficiency economy philosophy in addition to (4) recommendations concerning the quality of life.          The sample population consisted of 390 teachers under the supervision of the Department of Education, Bangkok Metropolitan Administration (BMA). The instruments of research were a questionnaire constructed the researcher eliciting data concerning performance in accordance with the principle of sufficiency economy and a questionnaire regarding the quality of life of the teachers under study. The reliability levels of the two questionnaires were couched at 0.93, and 0.92, respectively.          Using techniques of descriptive statistics, the data collected were analyzed in terms of percentage, mean and standard deviation. Pearson’s product moment correlation coefficient method and frequency distribution were also used by the researcher.          Findings are as follows:          1. The teachers under study exhibited opinions toward performance in accordance with the principle of sufficiency economy philosophy in an overall picture and in each aspect at a high level. In descending order were the aspects of virtue, reasonableness, knowledge. Risk management, and moderation. The quality of life of the teachers in an overall picture and in each aspect was determined by the researcher to be at a high level in descending order as follows: social, mental, environmental, and physical.          2. Performance in accordance with the principle of sufficiency economy philosophy was found to be positively correlated with the quality of life of the teachers under study at a high level in an overall picture (r = 0.703) at the statistically significant level of .01.          3. The teachers under study made the following recommendations in descending order of importance vis-à-vis the principle of the sufficiency economy philosophy: In respect to moderation, they urged talking into consideration income and expenses before making a decision to spend monies at any time. As concerns the aspect of reasonableness, they held that one should engage only in worthwhile activities such they maximum benefits shall be reaped. In respect to risk management, the teachers averred that discipline is required in financial affairs and savings must be amassed in case of emergencies or other untoward contingencies. Concerning the aspect of knowledge, the teachers urged self-development and the constant seeking of knowledge. Finally, insofar as concerns the aspect of virtue, the teachers believed the principles of morality should be followed in the conduct of life and work.          4. The teachers under study also made the following recommendations in descending order o importance: In respect to the physical aspect, good health is dependent upon regular exercise. Concerning the mental aspect, one should strive to e happy, look at things positively, and thing that one’s life has meaning and worth. Insofar as the social aspect is concerned, they opined that one should always exercise one’s right to vote. Finally, regarding the environmental aspect, they assert that one should not incur debts or loans to make unnecessary purchases.

Downloads