เศรษฐกิจพอเพียงในกระแสโลกาภิวัตน์

Authors

  • วชิรวิชญ์ สิรชัยพงศ์กุล
  • วรอนงค์ โกวิทเสถียรชัย

Keywords:

โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ, เศรษฐกิจพอเพียง, เกษตรทฤษฎีใหม่, การพัฒนาแบบยั่งยืน

Abstract

          เศรษฐกิจพอเพียง เป็นปรัชญาชี้ถึงแนวทางการดำรงอยู่ และการปฏิบัติตนของประชาชนในทุกระดับ ตั้งแต่ระดับครอบครัว ระดับชุมชน จนถึงระดับรัฐ ทั้งในการพัฒนาและบริหารประเทศให้ดำเนินไปในทางสายกลาง โดยเฉพาะการพัฒนาเศรษฐกิจเพื่อให้ก้าวทันต่อโลกยุคโลกาภิวัตน์ ความพอเพียงหมายถึง ความพอประมาณ ความมีเหตุผล รวมถึงความจำเป็นที่จะต้องมีระบบภูมิคุ้มกันในตัวที่ดีพอสมควรต่อการมีผลกระทบใดๆ อันเกิดจากการเปลี่ยนแปลงทั้งภายนอกและภายใน          ขณะเดียวกันจะต้องเสริมสร้างพื้นฐานจิตใจของคนในชาติ โดยเฉพาะเจ้าหน้าที่ของรัฐ นักทฤษฎี และนักธุรกิจในทุกระดับให้มีความสำนึกในคุณธรรมความซื่อสัตย์สุจริต และให้มีความรอบรู้ที่เมาะสม ดำเนินชีวิตด้วยความอดทน มีความเพียร มีสติปัญญา และความรอบคอบ เพื่อให้สมดุลและพร้อมต่อการรองรับการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว          ประเทศไทยประสบกับวอกฤตการณ์ครั้งยิ่งใหญ่ทางเศรษฐกิจเมื่อปีพุทธศักราช 2540 ทำให้ประชาชนชาวไทยทุกภาคส่วนทางสังคม หน่วยงานภาครัฐ และภาคเอกชน ประชาสังคม นักวิชาการต่างๆ ต้องย้อนกลับมาพิจารณาและทบทวนวิถีการดำเอนชีวิตและยุทธศาสตร์ที่จะเลือกเป็นแนวทางใหม่ที่สอดคล้องกับสภาพสังคมไทยอย่างแท้จริง พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระราชทานพระราชดำรัส “ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง” มาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2517 ถือเป็นทางออกที่ดีที่สุดและเหมาะสมสำหรับสังคมไทย          ปัญหาที่สำคัญอันเป็นรากเหง้าของความทุกข์ นั่นคือปัญหาความยากจนที่เป็นปัญหาหลักบ้านเมือง เนื่องจากประชาชนส่วนใหญ่ยังมีชีวิตความเป็นอยู่ที่ไม่พอเพียง การแก้ไขปัญหาความยากจนจึงเป็นนโยบายของรัฐบาลทุกยุคทุกสมัย การแก้ไขปัญหาความยากจนนั้นไม่ใช่เป็นหน้าทีของรัฐบาลเพียงฝ่ายเดียวหรือใครคนใดคนหนึ่ง แต่ทุกคนต้องร่วมมือกันจึงจะสำเร็จได้ชีวิตที่พอเพียงต้องเริ่มจากตัวเองก่อน เศรษฐกิจพอเพียงระบบบุคคล คือ ความสามารถในการดำรงชีวิตได้อย่างไม่เดือดร้อนมีความเป็นอยู่อย่างประมาณตนตามอัตภาพ ไม่พันธนาการอยู่กับสิ่งใด เมื่อเริ่มจากตนเองได้แล้วก็ขยายผลไปสู่ครอบครัว เศรษฐกิจพอเพียงระดับครอบครัว คือ การพอมีพอกินไม่ฟุ่มเฟือยและไม่ฝืดเคืองนัก          ส่วนเศรษฐกิจพอเพียงในระดับชุมชน คือ ชุมชนมีความเข้มแข็งสามารถพึ่งตนเองได้ประชาชนมีการรวมกลุ่มทางด้านเศรษฐกิจ เพื่อต่อรองผลประโยชน์ที่เป็นธรรม การแก้ไขปัญหาความยากจนด้วยความพอเพียง เดินทางสายกลางนั้นสามารถประยุกต์นำไปใช้ได้ทุกอาชีพ โดยยึดหลักการ “พอมีพอกิน-อยู่ดีกินดี-มั่งมีศรีสุข”

Downloads