การเป็นหุ้นส่วนเชิงกลยุทธ์ของนักบริหารงานทรัพยากรมนุษย์เพื่อรองรับต่อประชาคมเศรษฐกิจ อาเซียนในเขตนิคมอุตสาหกรรมจังหวัดสมุทรปราการ

Authors

  • ศิริพร แดงเถิน
  • พรรัตน์ แสดงหาญ
  • อภิญญา อิงอาจ

Keywords:

หุ้นส่วนเชิงกลยุทธ์, ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน, นิคมอุตสาหกรรม

Abstract

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการเป็นหุ้นส่วนเชิงกลยุทธ์และความพร้อมของ นักบริหารงาน ทรัพยากรมนุษย์ในเขตนิคมอุตสาหกรรม จังหวัดสมุทรปราการ เพื่อรองรับต่อประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน โดย เปรียบเทียบตามขนาดขององค์การและสัญชาติเจ้าขององค์การ รวมทั้งศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการเป็นหุ้นส่วน เชิงกลยุทธ์ของนักบริหารงานทรัพยากรมนุษย์และความพร้อมของนักบริหารงานทรัพยากรมนุษย์ ในการรองรับต่อ ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนกลุ่มตัวอย่างเป็นนักบริหารงานทรัพยากรมนุษย์ จำนวน 120 คน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบพหุตัวแปร และการวิเคราะห์ สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์คาโนนิคอล โดยการเป็นหุ้นส่วนเชิงกลยุทธ์ของนักบริหารงานทรัพยากรมนุษย์ จำแนกได้เป็น 5 ด้าน ได้แก่ การตระหนักรู้และความเข้าใจในธุรกิจ การปฏิบัติงานจริงที่ดำเนินอยู่ การจัดการด้านวัฒนธรรม การทำงาน การจัดการการเปลี่ยนแปลง และการสร้างความน่าเชื่อถือส่วนตัว และความพร้อมของนักบริหารงาน ทรัพยากรมนุษย์ในการรองรับต่อประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน จำแนกได้เป็น 3 ด้าน ได้แก่ 1. ความพร้อมด้านความรู้ เกี่ยวกับประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน 2. ด้านทักษะในการปฏิบัติงาน และ 3. ด้านภาษาต่างประเทศ ผลการวิจัยพบว่า โดยภาพรวมนักบริหารงานทรัพยากรมนุษย์มีการเป็นหุ้นส่วนเชิงกลยุทธ์และความพร้อมในการรองรับต่อประชาคม เศรษฐกิจอาเซียนอยู่ในระดับปานกลาง ส่วนผลการเปรียบเทียบการเป็นหุ้นส่วนเชิง กลยุทธ์และความพร้อมของ นักบริหารงานทรัพยากรมนุษย์ในการรองรับต่อประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนจำแนกตามขนาดขององค์การและ สัญชาติเจ้าขององค์การ พบว่ามีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และการเป็นหุ้นส่วนเชิงกลยุทธ์ และความพร้อมในการรองรับต่อประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนมีความสัมพันธ์กันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05This research aimed at investigating strategic partnership, and readiness of human resource practitioners of business organizations in Samutprakarn Industrial Estate to cater for ASEAN Economic Community by comparing according to the size and the nationality of the organizations, as well as identify the relationship between the practitioners’ strategic partnership and their readiness to cater for ASEAN Economic Community. The samples for the study were 120 human resource practitioners; whereas, the statistics used for analyzing the data were percentage, average score, standard deviation, Multiple Factor Analysis of Variance, and Canonical Coefficient Correlation. In regard to the practitioners’ strategic partnership, it could be divided into five aspects as follows : business awareness and understanding, actual work performance, work culture management, change management and creation of personal credibility, and readiness to cater for ASEAN Economic Community. Regarding the mentioned readiness, it was divided into 3 aspects as follows: knowledge on ASEAN Economic Community, work performing skills, and foreign language. The findings revealed that the human resource practitioners, as a whole, possessed the strategic partnership, as well as the readiness to cater for ASEAN Economic Community rated at the ‘medium’ level. Besides, in regard to the comparisons between the practitioners’ strategic partnership and their readiness to cater for ASEAN Economic Community, as classified according to the size and the nationality of the organizations, there were differences with statistical significance at the .05 level. In addition, there were relationship between the practitioners’ strategic partnership and their readiness to cater for ASEAN Economic Communitywith statistical significance at the .05 level as well.

Downloads