รูปแบบความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของวัฒนธรรมองค์การและความเหนื่อยหน่ายในงานที่มีต่อการตั้งใจลาออกของพนักงานในสถานประกอบการนิคมอุตสาหกรรมอมตะซิตี้ จังหวัดระยอง

Authors

  • สิงหา ขาวนวล
  • พรรัตน์ แสดงหาญ
  • อภิญญา อิงอาจ

Keywords:

วัฒนธรรมองค์การ, ความเหนื่อยหน่าย, การตั้งใจลาออก, นิคมอุตสาหกรรมอมตะซิตี้ จังหวัดระยอง, รูปแบบความสัมพันธ์เชิงสาเหตุ

Abstract

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ความคิดเห็นเกี่ยวกับวัฒนธรรมองค์การความเหนื่อยหน่ายและ การตั้งใจลาออกของพนักงาน 2) เปรียบเทียบความคิดเห็นเกี่ยวกับวัฒนธรรมองค์การ ความเหนื่อยหน่ายและการตั้งใจ ลาออกของพนักงาน และ 3) ความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของวัฒนธรรมองค์การและความเหนื่อยหน่ายในงานที่มีต่อ การตั้งใจลาออกของพนักงาน โดยใช้วิธีการวิจัยเชิงสำรวจ ประชากรที่ใช้ในการวิจัย คือ พนักงานในสถานประกอบการ นิคมอุตสาหกรรมอมตะซิตี้ จังหวัดระยอง กลุ่มตัวอย่าง คือ พนักงานที่ปฏิบัติงาน ฝ่ายทรัพยากรมนุษย์ ฝ่ายการตลาด และฝ่ายการผลิต จำนวน 348 ตัวอย่าง โดยวิธีการคัดเลือกตัวอย่างแบบเจาะจง สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ การแจงนับความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียวและทดสอบ รายคู่ด้วยวิธี LSD สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เพียร์สัน การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน และการวิเคราะห์โครงสร้าง ความสัมพันธ์เชิงสาเหตุผลการวิจัยพบว่า วัฒนธรรมองค์การตามความคิดเห็นของพนักงานมีค่าเฉลี่ยโดยรวมอยู่ใน ระดับมาก ส่วนความเหนื่อยหน่ายตามความคิดเห็นของพนักงานมีค่าเฉลี่ยโดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง และการตั้งใจ ลาออกตามความคิดเห็นของพนักงานมีค่าเฉลี่ยโดยรวมอยู่ในระดับมาก สำหรับผลการเปรียบเทียบความคิดเห็น เกี่ยวกับวัฒนธรรมองค์การ ความเหนื่อยหน่ายและการตั้งใจลาออกของพนักงานพบว่า โดยภาพรวมของกลุ่มตัวอย่าง ทั้ง 3 ฝ่าย มีความคิดเห็นไม่แตกต่างกัน และ ผลการ วิเคราะห์ความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของวัฒนธรรมองค์การและ ความเหนื่อยหน่ายในงานที่มีต่อการตั้งใจลาออกของพนักงาน พบว่า มีความสัมพันธ์กัน และความเหนื่อยหน่ายมีอิทธิพลต่อการตั้งใจลาออกมากที่สุดThe research aimed at 1) Investigating employees’ opinions towards organizational culture, job burnout, and turnover intentions. 2) Comparing them with the investigating employees’ opinions towards organizational culture, job burnout, and turnover intentions. 3) Casual relationship of organizational culture and job burnout on turnover intentions among the employees. Survey research was adopted for this study, and its population was the employees in the companies at Amata City Industrial Estate, Rayong province. The samples for the study were 348 employees working in the departments of human resource, marketing, and productions. They were selected through a purposive sampling. Statistics used for analyzing the data for this study were : percentage, average score, standard deviation, one-way analysis of variance; whereas, LSD and Pearson Product Moment Coefficient Correlation were used for the pair tests, as well as confirming factor analyses, and casual relationship structural analyses. The findings revealed that in regard to the organizational culture as perceived by the employees, its average scores were rated, as a whole, at the ‘high’ level; while, the average scores regarding job burnout as perceived by the employees were rated, as a whole, at the ‘medium’ level. However, for the turnover intentions, the average scores were rated, as a whole, at the ‘high’ level. Regarding the comparisons of employees’ opinions towards organizational culture, job burnout, and turnover intentions, it was found that for the employees working in the three mentioned departments, their opinions, as a whole, were not different. Besides, the analyses for the casual relationship of organizational culture and job burnout on the turnover intentions of the employees showed that there was a relationship, and their job burnout had the most influence on their turnover intentions.

Downloads