การประยุกต์ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงกับการจัดการธุรกิจของผู้ผลิตและจัดจำหน่ายเกษตรอินทรีย์ภาย ใต้สัญลักษณ์ผลิตภัณฑ์เกษตรอินทรีย์ที่ได้มาตรฐานของประเทศไทย
Keywords:
แนวคิดปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงเกษตรอินทรีย์, วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม, ผลิตภัณฑ์เกษตรอินทรีย์, ออร์แกนิคAbstract
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการประยุกต์ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงกับการจัดการธุรกิจเพื่อศึกษา ปัจจัยที่ส่งผลต่อการประยุกต์ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียบกับการจัดการธุรกิจ และศึกษาแนวทางในการพัฒนาการประยุกต์ ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงกับการจัดการธุรกิจของผู้ผลิตและจัดจำหน่ายเกษตรอินทรีย์ภายใต้สัญลักษณ์ผลิตภัณฑ์เกษตร อินทรีย์ที่ได้มาตรฐานของประเทศไทย กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ ผู้ผลิตและจัดจำหน่ายเกษตรอินทรีย์ ภายใต้สัญลักษณ์ผลิตภัณฑ์เกษตรอินทรีย์ที่ได้มาตรฐานของประเทศไทย จำแนกตามภูมิภาคในภาคกลาง ภาคตะวันตก และภาคตะวันออก รวม 148 ราย แบบสอบถามเป็นเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล มีความเชื่อมั่นและ ความถูกต้องอยู่ในระดับสูง คือ .918 การวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนาได้แก่ จำนวน ร้อยละ และค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติอ้างอิงคือ การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One Way Analysis of Variance) ถ้าพบว่ามีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ จะนำค่าคะแนนเฉลี่ยไปทำการทดสอบโดยวิธี LSD ที่ระดับ นัยสำคัญทางสถิติ .05 ผลการศึกษาพบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่มีการประยุกต์ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงกับการจัดการธุรกิจ โดยรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุดคือ ด้านการมีคุณธรรม รองลงมาคือ ด้านความพอประมาณ อันดับที่สามคือ ด้านความมีเหตุผล อันดับที่สี่ ด้านการมีภูมิคุ้มกันที่ดี ส่วนด้านที่มีค่าเฉลี่ย น้อยที่สุดคือ ด้านการมีความรู้ ซึ่งทั้งหมดมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก ปัจจัยที่ส่งผลต่อการประยุกต์ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงกับการจัดการธุรกิจจากผลการทดสอบสมมติฐาน ด้านปัจจัยทางประชากรนั้นพบว่า การประยุกต์ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงกับการจัดการธุรกิจมีความแตกต่างกัน ตามอายุ และสาขาที่จบการศึกษา และในส่วนของปัจจัยการประกอบธุรกิจ นั้นพบว่า การประยุกต์ปรัชญาเศรษฐกิจ กับการจัดการธุรกิจ มีความแตกต่างกันตามลักษณะการดำเนินกิจการ และเงินลงทุนเมื่อเริ่มกิจการ อย่างมีนัยสำคัญ ทางสถิติที่ระดับ .05 ส่วนปัจจัยอื่นๆ ไม่ได้ทำให้การประยุกต์ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงกับการจัดการธุรกิจแตกต่างกันThis research objective is aim to study the application of philosophy of sufficient economy with the entrepreneurship management and to study and compare entrepreneurship management by the population factor, business factor and study the guideline to develop application of philosophy of sufficient economy with the management, study the entrepreneur, producers and distributors under the standard of organic Thailand’s brand. The samples for the study were 148 persons who were organic agricultural producers and distributors under the standard of organic Thailand’s brand as classified according to the central, western and eastern regions. Questionnaires with the reliability and validity rated at the ‘high’ level (86) were used as an instrument for collecting the data. The analysis tools of descriptive statistics are percentage, arithmetic mean, and standard deviation was performed, and the reference statistic is (One Way Analysis of Variance) if the significant different was found, the average will be tested by LSD methodology with the .05 level of statistical significance. The findings revealed that most of the questionnaire respondents applied sufficiency economy philosophy for small and medium enterprise management rated, as a whole, at the ‘high’ level. When considering aspect by aspect, it was found that ‘the moral aspect’ was rated at the ’highest’ level with the highest average score, and the next one was ‘sufficiency aspect’ rated at the ‘high’ level; whereas, the third was ‘aspect of logic or rationale’ also rated at the ‘high’ level, and the fourth was ‘aspect of immunity or protection’ rated at the’ high’ level, respectively. However, the aspect with the lowest average score was ‘possession of knowledge’ also rated at the ‘high’ level. In regard to the factor affecting the applications of sufficiency economy philosophy for SME business management, it was found that, for the population factor, there were differences in accordance with their age and graduation majors: whereas, there were differences in terms of business operations and cost investment at the beginning of the operations with statistical significance at the .05 level, for the business entrepreneurship factor. However, for other factors, there were no differences regarding the applications of sufficiency economy philosophy for business management.Downloads
Issue
Section
Articles