ความพึงพอใจและความสัมพันธ์ของจัดการศึกษาดูงานเพื่อการพัฒนานิสิต

Authors

  • ธนภณ นิธิเชาวกุล
  • กีรติกร พุฒิวิญญ

Keywords:

ความพึงพอใจ, การศึกษาดูงาน, การจัดการผลิตและการดำเนินงาน, ทุนมนุษย์

Abstract

การศึกษาวิจัยคร้ังนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ทำให้ทราบถึงความพึงพอใจของนิสิตที่มีต่อการจัดการศึกษาดูงานในรายวิชาการจัดการผลิตและการดำเนินงาน (2) ศึกษาถึงความสัมพันธ์ของกระบวนการ การจดัการศึกษาดูงานกับความพึงพอใจของนิสิตที่มีต่อการจัดการศึกษาดูงานในรายวิชาการจัดการผลิตและการดำเนินงาน และ (3) นำข้อมูลไปเป็นฐานข้อมูลในการบูรณาการและพัฒนานิสิตซึ่งเป็ นทุนมนุษย์ของทางคณะการจดัการและการท่องเที่ยว ประชากรในการวิจัย คือ นิสิตคณะการจัดการและการท่องเที่ยวที่เรียนวิชาการจดัการผลิตและการดำเนินงานปี การศึกษา 2556 สำหรับการเก็บข้อมูลเชิงปริมาณด้วยแบบสอบถาม โดยเลือกทุกหน่วย ประชากรจำนวน 722คน แต่สามารถเก็บแบบสอบถามได้เพียง 586 ชุด และทำการวิเคราะห์ข้อมูลโดยการใช้สถิติเชิงพรรณนา ประกอบด้วยการแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย เลขคณิต ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทำการวิเคราะห์ความแตกต่างด้วยการทดสอบค่าที (t-test Independent) การวิเคราะห์ความแตกต่าง เป็นรายคู่ใช้วิธี Least Significant Difference (LSD) และการคำนวณหาค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เพียร์สัน (Pearson Correlation Coefficient) ผลการศึกษาวิจัย พบว่าความพึงพอใจของนิสิตที่มีต่อการศึกษาดูงานใน 4 ด้าน ประกอบด้วย ด้านวิทยากรด้านกิจกรรมและสามารถนำไปประยุกต์ใช้ด้านกระบวนการจัดโครงการ และด้านความปลอดภัย ในการเดินทางนิสิตพอใจอย่างยิ่งและได้รับประโยชน์จากการศึกษาดูงานอย่างยิ่ง ส่วนในด้านกิจกรรมและการนำไปใช้ นิสิตพอใจมากและได้รับประโยชน์จากการศึกษาดูงานมาก และจากการทดสอบสมมติฐาน พบว่า นิสิตที่มีเพศแตกต่างกัน มีความพึงพอใจของการศึกษาดูงานไม่แตกต่างกัน ในด้านช้้นปีการศึกษาของนิสิตและสาขาวิชาของนิสิตที่แตกต่างกัน มีความพึงพอใจของการศึกษาดูงานแตกต่างกัน ส่วนด้านวิทยากร และด้านกระบวนการจัดศึกษาดูงานที่มีความแตกต่างกัน เป็นรายคู่อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหวา่งกระบวนการจดัการศึกษาดูงานมีความสัมพันธ์กับความพึงพอใจของการศึกษาดูงานมีความสัมพันธ์ในทิศทางบวกที่ระดับนัยสำคัญที่ 0.01 และมีระดับความสัมพันธ์กันในระดับสูง โดยมีค่า r เท่ากับ 0.832 จึงสรุปได้ว่าการจัดการศึกษาดูงานเพื่อพัฒนานิสิตซึ่งเป็นทุนมนุษย์นั้น ต้องมีความสอดคล้องกับบริบทของสาขาวิชาชีพและสามารถนำไปบูรณาการและประยุกต์ใช้ได้ต่อไปในอนาคตThis study aims (1) to examine factors that satisfaction of students with the visual education in production and operations management (POM) (2) to study the relationship management process and satisfaction of students with the visual education in POM, and (3) to the information are into a database for the integrated and development of human capital, a student of the Faculty of Management and Tourism. The samples of this study consist of all students of Faculty of Management and Tourism enrolling in the POM in semester 2 of academic year 2013. The quantitative data is collected through questionnaire, and the data are analyzed using descriptive statistics including frequency distribution, percentage, mean, and standard deviation and correlation, while statistics differences are analyzed by t-test Independent. One Way analysis of Variance and pair comparison are arranged by Least Significant Difference (LSD), and Pearson product moment correlation coefficient. The findings show that the satisfactions of students with the visual education are considered from 4 aspects: knowledge giver, project management, activity and implementation, and travelling safety. The overall student’s satisfaction test shows that the students are satisfied with the project and they have obtained a lot of knowledge. The students are highly satisfied with the activity and implementation. The result of the hypothesis test shows that sex difference does not affect the achievement of the visual education. The difference of student’s study year and major affects the achievement of the visual education especially in terms of knowledge giver and project management with statistical significance of 0.05. And correlation analyses between the project management are related to the satisfaction of the visual education relationship in a positive direction. Significant at the 0.01 level and has a high correlation value equal to 0.832. Conclude that, the visual education for the development of human capital, a student must be consistent with the context of professional fields. And can be integrated and applied in the future.

Downloads