การศึกษาการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารของผู้ประกอบการขายเครื่องสำอางในจังหวัดสงขลา
Keywords:
เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร, ผู้ประกอบการ, เครื่องสำอาง, สงขลาAbstract
วัตถุประสงค์ของการศึกษานี้ คือ 1) เพื่อศึกษาการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารของผู้ประกอบการขายเครื่องสำอาง และ 2) เพื่อเปรียบเทียบการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล เก็บรวบรวมข้อมูลจากผู้ประกอบการขายเครื่องสำอางในจังหวัดสงขลา จำนวน 200 คน โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บข้อมูล และใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบสองขั้นตอน ขั้นตอนแรกใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบโควตา และขั้นตอนที่สองใช้การสุ่มตัวอย่างแบบบังเอิญ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือ การแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสถิติเปรียบเทียบกลุ่มตัวอย่างสองกลุ่มที่เป็นอิสระต่อกัน ค่าสถิติวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว และทดสอบความแตกต่างเป็นรายคู่ โดยใช้วิธีFisher’s Least Significant Difference (LSD) หรือ Dunnett’s T3 ผลการศึกษาค้นพบว่าการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารของผู้ประกอบการขายเครื่องสำอางในจังหวัดสงขลาอยู่ในระดับน้อย โดยใช้สื่อสังคมออนไลน์มากที่สุดและใช้อีเมลน้อยที่สุด ส่วนผลการวิจัยจากการทดสอบสมมติฐาน พบว่า 1) ผู้ประกอบการที่มีเพศและสถานที่ตั้งร้านต่างกันมีการใช้เว็บไซต์และสื่อสังคมออนไลน์แตกต่างกัน 2) ผู้ประกอบการที่มีรายได้ต่อเดือนต่างกันมีการใช้อีเมลแตกต่างกัน 3) ผู้ประกอบการที่มีประสบการณ์การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารต่างกันมีการใช้เอสเอ็มเอส อีเมล เว็บไซต์ และสื่อสังคมออนไลน์แตกต่างกัน และ 4) ผู้ประกอบการที่มีอายุ สถานภาพ การศึกษา และประสบการณ์การขายเครื่องสำอางมีการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารไม่แตกต่างกัน The purposes of this study were 1) to study using information and communication technology (ICT) of cosmetic entrepreneurs and 2) to compare using ICT which classified to the personal factors. The respondents of this research were 200 cosmetic entrepreneurs in Songkhla province. The data were collected by using a questionnaire with two-stage sampling. The first stage in the sampling process was quota sampling and the second stage was accidental sampling. Statistics used in data analysis were frequency, percentage, mean,standard deviation, independent sample t-test, one way ANOVA and pairwise comparison by Fisher’s Least Significant Difference (LSD) or Dunnett’s T3. The results found that ICT usages of cosmetic entrepreneurs in Songkhla province were at a low level. The most used ICT was social media and the least used ICT was e-mail. The results of hypotheses testing were as follows: 1) entrepreneurs with different gender and location had statistical difference in website and social media usage 2) entrepreneurs with different the monthly income had statistical difference in e-mail usage 3) entrepreneurs with different the experience of using ICT had statistical difference in SMS, e-mail, website, and social media usage and 4) entrepreneurs with different age, status, education, and experience of selling cosmetic had no statistical difference in the using ICT.Downloads
Issue
Section
Articles