ยุทธศาสตร์การพัฒนาการเดินทางและขนส่งอัจฉริยะ เพื่อการท่องเที่ยวในพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก

Authors

  • วิสาขา ภู่จินดา
  • ปรียานารถ สดากร

Keywords:

Tourism, Eastern Economic Corridor, EEC

Abstract

          งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ปัจจัยภายในและปัจจัยภายนอกที่มีผลต่อการพัฒนาการเดินทางและขนส่งอัจฉริยะเพื่อการท่องเที่ยว และเสนอยุทธศาสตร์การเดินทางและขนส่งอัจฉริยะเพื่อการท่องเที่ยวที่ยั่งยืน โดยทำการเก็บข้อมูลสัมภาษณ์เชิงลึกกับตัวแทนผู้กำหนดนโยบายทั้งระดับประเทศและท้องถิ่น ผู้ประกอบการที่เกี่ยวกับการท่องเที่ยว หน่วยงานละ 1 คนจากจังหวัดชลบุรี ระยอง และเชิงเทรา และสนทนากลุ่มกับกับตัวแทนผู้กำหนดนโยบายทั้งระดับประเทศและท้องถิ่น ผู้ประกอบการที่เกี่ยวกับการท่องเที่ยว ผู้นำชุมชน (อบต.หรือผู้ใหญ่บ้าน) และประชาชนในพื้นที่รวมทุกหน่วยงานจำนวนจังหวัดละ 30 คน โดยแบ่งกลุ่มละ 6 คน จำนวน 5 กลุ่ม และวิเคราะห์ข้อมูลโดยวิเคราะห์เชิงเนื้อหาและการจับกลุ่มประเด็น วิเคราะห์ปัจจัยภายในและภายนอกเพื่อกำหนดร่างยุทธศาสตร์ ผลการศึกษาเสนอประเด็นยุทธ์ศาสตร์ทั้ง 5 ด้าน ตามหลัก บาลานซ์ สกอร์การ์ด (Balanced Scorecard) ได้แก่ การพัฒนาเส้นทางการเดินทางและขนส่งอัจฉริยะเชื่อมโยงสู่แหล่งท่องเที่ยวอย่างสมบูรณ์แบบ (มิติประสิทธิผล) การสร้างและสนับสนุนชุมชนท้องถิ่นและภาคีเครือข่ายให้มีส่วนร่วมออกแบบ พัฒนาและใช้ประโยชน์ด้านการเดินทางและขนส่งอัจฉริยะเพื่อการท่องเที่ยว (มิติกลุ่มเป้าหมาย) การพัฒนาระบบและกลไกการบริหารจัดการเส้นทางการเดินทางและขนส่งอัจฉริยะเพื่อการท่องเที่ยวที่มั่นคง มั่งคั่งและยั่งยืน (มิติการบริหารจัดการ) การสร้างและสนับสนุนการใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่น องค์ความรู้ นวัตกรรมและเทคโนโลยีในการพัฒนาการเดินทางและขนส่งอัจฉริยะ (มิติการเรียนรู้และพัฒนา) และการพัฒนาศักยภาพของคนในพื้นที่รวมถึงเครือข่ายในการพัฒนาการเดินทางและขนส่งอัจฉริยะ (มิติการเรียนรู้และพัฒนา)           This study aimed to analyze internal and external factors affecting the tourism development in term of strategies smart mobility and to propose sustainable smart mobility in the Eastern Economic Corridor (EEC). In depth interview and focus group to policy makers in national and local levels, tourism entrepreneurs, community leaders and villagers in the EEC area covering Rayong, Chonburi and Chachoengsao for 30 people each province. Data obtained was analyzed by using content analysis and main point summary. SWOT analysis and TOWS Matrix were used to propose smart mobility for tourism strategies. Internal factors used for the SWOT analysis include man, money, materials, management, information and technology and external factors involve PESTLE (politic, economic, social, technology, legal and environment. Balanced Scorecard was used as a concept to construct the strategies. There are five strategies for the smart mobility for tourism: to develop traffic route access to tourist attractions (effectiveness), to encourage local community to design smart mobility for tourism with participation (Stakeholder), to develop system and mechanism for managing smart mobility for tourism (Internal Management), to encourage use of local wisdom, knowledge, innovation and technology for developing smart mobility for tourism (Learning & Growth) and to improve local people competencies as well as networks for smart mobility for tourism (Learning & Growth)

Downloads