ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดของน้ำดื่มผสมวิตามินที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการดื่มของวัยรุ่นในเขตเทศบาลนครหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา
The Marketing Mix Factors of Vitamin Water Affecting the Drinking Behavior Among Teenagers in Hatyai Municipality, Songkhla Province
Keywords:
ส่วนประสมทางการตลาด, พฤติกรรมผู้บริโภค , น้ำดื่มผสมวิตามิน, Marketing mix, Consumer behavior, Vitamin waterAbstract
การศึกษาครั้งนี้ได้มุ่งเน้นศึกษาปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดของน้ำดื่มผสมวิตามิน และพฤติกรรมการดื่มของวัยรุ่นในเขตเทศบาลนครหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา รวมทั้งการตรวจสอบความสัมพันธ์เชิงเหตุระหว่างปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่มีอิทธิผลต่อพฤติกรรมด้านความถี่ครั้งต่อสัปดาห์ในการดื่มน้ำดื่มผสมวิตามิน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยคือ วัยรุ่นอายุระหว่าง 17 – 27 ปี ที่เคยซื้อน้ำดื่มผสมวิตามินในระยะเวลา 3 เดือนที่ผ่านมา ในเขตเทศบาลนครหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา จำนวน 400 คน โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าความเบ้ และค่าความโด่ง สถิติที่ใช้ในการทดสอบสมมติฐาน คือ การวิเคราะห์การถดถอยเชิงพหุ ซึ่งผลการศึกษาได้สนับสนุนสิ่งที่ได้นำเสนอเกี่ยวกับพฤติกรรมด้านความถี่ครั้งต่อสัปดาห์ในการดื่มน้ำดื่มผสมวิตามิน โดยปัจจัยส่วนประสมทางการตลาด ประกอบด้วย 4 ปัจจัย ได้แก่ ด้านผลิตภัณฑ์ ด้านราคา ด้านช่องทางการจัดจำหน่าย และด้านการส่งเสริมการตลาด แต่อย่างไรก็ตามมีเพียงสองปัจจัย ได้แก่ ราคา และการส่งเสริมการตลาด ที่มีอิทธิพลเชิงบวกต่อพฤติกรรมด้านความถี่ครั้งต่อสัปดาห์ในการดื่มน้ำดื่มผสมวิตามินของวัยรุ่นในเขตเทศบาลนครหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา สำหรับผลการศึกษาและข้อเสนอแนะเกี่ยวกับพฤติกรรมการดื่มน้ำดื่มผสมวิตามิน ได้ถูกแสดงในบทความเพื่อนำไปประยุกต์ใช่ในธุรกิจต่อไป This study examines the marketing mix factors of vitamin water and drinking behavior among teenagers in Hatyai Municipality, Songkhla Province, and investigates the causal relationship between the marketing mix factors influencing the behavior of the frequency of drinking vitamins water. The sample of this research included four hundred consumers who have ever bought vitamin water three months ago aged between 17 and 27 years in Hatyai Municipality. A questionnaire was used for data collection. The statistics for data analysis included percentage, mean, standard deviation, skewness and kurtosis. The hypothesis testing was multiple regression analysis. The analysis results supported the behavior of drinking vitamin water as follows: (1) there are four factors of the marketing mix; products, prices, place, and promotion. (2) there are two factors; price and promotion had a significant and positive effect on the frequency of drinking vitamins water among teenagers in Hatyai Municipality, Songkhla Province. Managerial implications concerning the frequency of drinking vitamins water are drawn based on the research findings, and suggestions for future researchers are presented.References
กรรณิกา วงศ์เซ็นต์. (2561). ปัจจัยด้านผลิตภัณฑ์ คุณค่าตราสินค้าและพฤติกรรมการบริโภคผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร VISTRA ของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานคร. สารนิพนธ์การตลาดมหาบัณฑิต, บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
จิรฐา มั่นเหมาะ. (2561). รูปแบบการดำเนินชีวิตที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการซื้อเครื่องดื่มน้ำผลไม้สกัดจากพรุนและเบอร์รี่ยี่ห้อแบรนด์วีต้าของผู้บริโภคเพศหญิง ในเขตกรุงเทพมหานคร. สารนิพนธ์การจัดการมหาบัณฑิต, บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
ชูชัย สมิทธิไกร. (2553). พฤติกรรมผู้บริโภค. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ณัฐกฤตา วิจิตรสมบัติ. (2564). การศึกษาพฤติกรรมการบริโภคและความคิดเห็นของผู้บริโภคที่มีต่อผลิตภัณฑ์น้ำดื่มผสมวิตามิน. สารนิพนธ์การจัดการมหาบัณฑิต, วิทยาลัยการจัดการ, มหาวิทยาลับมหิดล.
ธานินทร์ ศิลป์จารุ. (2551). การวิจัยและวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติ SPSS. (พิมพ์ครั้งที่ 9). กรุงเทพฯ: สํานักพิมพ์ บิสซิเนสอาร์แอนด์ดี.
แบรนด์บุฟเฟ่ต์. (2564). สำรวจตลาดน้ำดื่มวิตามิน 9 แบรนด์! “แมนซั่ม” ไม่หวั่นมาทีหลัง ใช้กลยุทธ์ Push & Pull ให้คนดื่มแทนน้ำเปล่า. สืบค้นเมื่อ 20 กันยายน 2564, สืบค้นจากhttps://www.brandbuffet.in.th/ 2021/03/vitamin-water-market-and-tcp-launch-mansome-vitamin-water/.
ผู้จัดการออนไลน์. (2563). ส่องพาเหรด “น้ำดื่มผสมวิตามิน” สวนสนามคึกคัก ชิงตลาด 5.5 พันล้าน ดื่มแล้วดี หรือ แค่โฆษณา!?. สืบค้นเมื่อ 20 กันยายน 2564, สืบค้นจากhttps://mgronline.com/daily/ detail/9630000090954.
โพสซิชั่นนิ้ง. (2564). ยังมาแรง! “ฟังก์ชันนัลดริงก์” เติบโต 20% แม้คนออกจากบ้านน้อยลง “ผู้ใหญ่” นิยมดื่ม. สืบค้นเมื่อ 8 พฤศจิกายน 2564, สืบจาก https://positioningmag.com/1357425.
มาร์เก็ตเธียร์. (2563). น้ำดื่มผสมวิตามินร้อนแรงต่อเนื่อง มีเยอะจนเลือกดื่มไม่ถูก. สืบค้นเมื่อ 20 กันยายน 2564, สืบค้นจาก https://marketeeronline.co/archives/219422.
รัตนาวดี พัชรภูวดล, อัจฉราภรณ์ อมรสิทธินนท์, ทศพร สุขะ, วชิรวิทย์ หอมบุญยงค์ และ ฌานิกา ศรีวรรณวิทย์. (2561). ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่มีผลต่อความจงรักภักดีต่อตราสินค้ากรณีศึกษาคอฟฟี่ช็อปวิทยาลัยดุสิตธานี กรุงเทพฯ. วารสารวิทยาลัยดุสิตธานี, 12(ฉบับพิเศษ), 309-326.
วิภารัตน์ ศรีบุรินทร์. (2560). ระดับผลิตภัณฑ์ และการสื่อสารการตลาดแบบครบวงจร ที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการซื้อเครื่องดื่มน้ำผักผลไม้ยี่ห้อดอยคำของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานคร. สารนิพนธ์การตลาดมหาบัณฑิต, บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
วิรานนท์ ตุ้มสูงเนิน และสุมาลี สว่าง. (2564). การสื่อสารการตลาดแบบบูรณาการและภาพลักษณ์ตราสินค้าที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อเครื่องดื่มวิตามินซี C-vitt ของผู้บริโภคในจังหวัดกรุงเทพมหานคร. รายงานการประชุมนำเสนอผลงานวิจัยบัณฑิตศึกษาระดับชาติครั้งที่ 16 ปีการศึกษา 2564, (น.918 – 931). บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยรังสิต.
ศูนย์วิจัยกสิกรไทย. (2563). น้ำดื่มผสมวิตามิน เซกเมนต์ใหม่…บุกตลาดเครื่องดื่ม. สืบค้นเมื่อ 20 กันยายน 2564, สืบค้นจาก https://kasikornresearch.com/th/analysis/k-social-media/Pages/Vitamin-Water-FB-150920.aspx.
สามารถ ดีพิจารณ์. (2559). รูปแบบกลยุทธ์ส่วนประสมการตลาดที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อชาเขียวพร้อมดื่ม (RTD) ของนักศึกษามหาวิทยาลัยในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล. (รายงานผลการวิจัย). กรุงเทพฯ:สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง
สุภาพร อุ่นเมืองเงิน, เอก บุญเจือ, และธันยานี โพธิสาร. (2560). พฤติกรรมของเจเนอเรชั่นเอ็มในอำเภอเมืองเชียงใหม่ต่อการเลือกซื้อเครื่องดื่มฟังก์ชันนัลดริงก์ (รายงานผลงานวิจัย). เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
สำนักงานบริหารทะเบียน. (2563). จำนวนประชากรอำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา. เข้าถึงเมื่อวันที่ 20 มิถุนายน 2564. สืบค้นจาก https://stat.bora.dopa.go.th/new_stat/webPage/statByAge.php.
เอสเอ็มอีวัน. (2564). ธุรกิจอาหารเสริมเพื่อสุขภาพเติบโตสวนกระแส หลัง COVID-19. สืบค้นเมื่อ 20 กันยายน 2564, สืบจาก https://www.smeone.info/posts/view/204
Ajj, N.S., Djawahir, A.H., & Rofig, A. (2019). The influence of products and promotion on purchasing decision mediated in purchase motivation. Journal of Applied Management (JAM), 17(1), 152-161.
Quansah, F., Okoe, A., & Angenu, B. (2015). Factors Affecting Ghanaian Consumers’ Purchasing Decision of Bottled Water. International Journal of Marketing Studies, 7(5). 76-87
Hair, J. F., Anderson, B. W., Babin, B. J., & Anderson, R. E. (2010). Multivariate data analysis with reading (4th ed.). New Jersey: Prentice-Hall.
Liew, J. Y. & Zain, M. N. (2021). An exploration of the key factors affecting consumer buying behavior of instant food products: A case study of Kota Bharu. Malaysia: Universiti Malaysia Kelantan.
Kim, J. O., & Mueller, C. W. (1978). Factor analysis: statistical methods and practical issues. Beverly Hills: Sage.
Kotler, P., Armstrong, G., & Opresnik, M, O. (2018). Principles of marketing. (17th ed.). Harlow: Pearson.
Patel, L. & Patel, P. (2020). A study on consumer buying behavior towards packed water bottle at Dharti water pvt. Ltd. Year 2020, International Journal of Engineering Development and Research, 8(2) ,73-83.
Arslanagid, M., Peštek, A. & Bečirovid, A. (2012). Influence of Packaging Design on Purchase Decision Making: Comparing Bottled Water Brands on B&H Market. International Journal of Sales, Retailing and Marketing, 1(1), 30-38.