ความเป็นไปได้ในการบริหารจัดการส่งเสริมการท่องเที่ยวในจังหวัดพิษณุโลก
The Possibility of Tourism Management at Phitsanulok Province
Keywords:
พิษณุโลก, อำเภอ, แผนพัฒนาการท่องเที่ยว, ศักยภาพ, การวิเคราะห์สภาพแวดล้อม, Phitsanulok, Province, Tourism Marketing Plan, Possibility, Environmental AnalysisAbstract
จังหวัดพิษณุโลกมีแหล่งท่องเที่ยวหลากหลายและมีความอุดมสมบูรณ์ทั้งทางด้านทรัพยากรธรรมชาติ ทั้งภูเขา น้ำตก แหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตร เชิงวัฒนธรรม เชิงนิเวศ อีกทั้งเป็นจังหวัดที่มีประวัติศาสตร์ยาวนานมีพระบรมธาตุที่เป็นที่สักการะของพุทธศาสนิกชนทั่วโลกและเป็นแหล่งผลิตถือเป็นจุดแข็งที่เอื้อต่อการพัฒนาด้านการท่องเที่ยว รวมถึงโอกาสจากนโยบายรัฐบาลที่ส่งเสริมการท่องเที่ยวในประเทศ ระเบียบวิธีวิจัยแบบผสม ได้ถูกดำเนินการในการค้นคว้าตอบโจทย์ความเป็นไปได้ในการจัดการท่องเที่ยวในระดับจังหวัด ผ่านการรวบรวมข้อมูล และการสำรวจกลุ่มเป้าหมายเฉพาะ รวมถึงการจัดประชุมกลุ่มย่อยและการสัมภาษณ์เชิงลึกได้ดำเนินการในการศึกษาครั้งนี้ด้วย ทั้งนี้ได้ทำการศึกษาทบทวนยุทธศาสตร์ และลงพื้นที่ร่วมกับสำนักงานท่องเที่ยวและกีฬา จำนวนผู้เข้าร่วม 80 คน ของแต่ละอำเภอ รวมจำนวนทั้งสิ้น 720 คน ประชุมกลุ่มย่อย และนำข้อมูลที่ได้มาทำการสังเคราะห์ ผลการศึกษาพบว่า ยุทธศาสตร์และแผนพัฒนาจังหวัดพิษณุโลกมีประเด็นยุทธศาสตร์เพื่อยกระดับครอบคลุม 9 อำเภอของจังหวัดพิษณุโลกในด้านการท่องเที่ยวเชิงนิเวศวัฒนธรรมและประวัติศาสตร์ สำหรับเป้าประสงค์เชิงยุทธศาสตร์ ได้แก่ การเป็นศูนย์กลางด้านการท่องเที่ยวเชิงเศรษฐกิจสร้างสรรค์ ด้านการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ ศิลปวัฒนธรรมและประวัติศาสตร์ โดยมีการกำหนดตัวชี้วัดและกลยุทธ์ที่สอดคล้องกับวิสัยทัศน์และประเด็นยุทธศาสตร์ด้านการท่องเที่ยวของจังหวัด รวมถึงแนวทางการขับเคลื่อนสู่การวางแผนงาน โครงการและกิจกรรมที่เกี่ยวข้องรายประเด็นเพื่อการพัฒนาด้านการท่องเที่ยวเชิงเศรษฐกิจสร้างสรรค์ของจังหวัดพิษณุโลกอย่างยั่งยืนต่อไป Phitsanulok province has a variety of tourist attraction sites including many natural resources, hills, waterfalls and agricultural, cultural and natural tourist attractions. Phitsanulok has a dramatic history which includes Buddhist relics which are respected in global Buddhism. The province has a number of strong Point which could be important in tourism development including government policy to promote domestic tourism. The mixed method was employed to explore the possibility of tourism management at provincial-level through data collection and surveyed at area-based targets. The focus group discussion and in-depth-interview were organized. and The Phitsanulok Vision has been proposed as a plan to develop and promote tourism and the creative economy of the Indochina interjunction. The strategic issues are to stimulate arts, culture and ecological tourism. The strategic and key performance indicator has been correlated to provincial strategic issues which cover the directions of related plans, projects and activities to develop sustainable tourism and the creative economy of Phitsanulok.References
กรมการปกครอง. (2561). ข้อมูลสถิติประชากรปี พ.ศ.2561. กรุงเทพฯ: กรมการปกครอง.
กรวรรณ สังขกร, ไพรัช พิบูลย์รุ่งโรจน์, สุรีย์ บุญญานุพงศ์, อาชว์บารมี มณีตระกูลทอง และจิราวิทย์ ญาณจินดา (2558). การเชื่อมโยงห่วงโซ่อุปทานการท่องเที่ยวในภาคเหนือตอนบนเพื่อรองรับนักท่องเที่ยวผู้สูงอายุ.(รายงานการวิจัย). สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม.
กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา. (2563). สถานการณ์การท่องเที่ยวในประเทศ รายจังหวัด. กรุงเทพฯ: กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา.
กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา. (2564). สถิติการท่องเที่ยว. กรุงเทพฯ: กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา.
กฤติมา อินทะกูล และ ณัฐพร ตั้งเจริญชัย. (2563). การศึกษาศักยภาพของชุมชนเพื่อการจัดการ ท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมกรณีศึกษา ตำบลวังทอง อำเภอวัง ทองจังหวัดพิษณุโลก. วารสารวิทยาลัยสงฆ์นครลำปาง, 9(3), 53-70.
ศิริชัย พงษ์วิชัย. (2556). ศึกษาศักยภาพและมูลค่าของผลิตภัณฑ์การท่องเที่ยวต่อการสร้างรายได้ของจังหวัดชัยนาท สิงห์บุรี สระแก้ว และสมุทรสาคร ในเขตภาคกลาง. (รายงานการวิจัย). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สำนักงานคลังจังหวัดพิษณุโลก. (2565). ประมาณการเศรษฐกิจจังหวัดพิษณุโลก ปี 2565. พิษณุโลก: สำนักงานคลังจังหวัดพิษณุโลก.
สำนักงานจังหวัดพิษณุโลก. (ม.ป.ป.). แผนพัฒนาจังหวัดพิษณุโลก (พ.ศ. 2566 - 2570). สืบค้นเมื่อ 12 มกราคม 2566, สืบค้นจากhttps://www.phitsanulok.go.th/gphitsanulok/components/com_mamboboard/ uploaded/files/plan66_70.pdf.
สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2563). ผลิตภัณฑ์มวลรวมจังหวัดแบบปริมาณลูกโซ่ ฉบับ พ.ศ. 2563. กรุงเทพฯ: สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ.
อดิลล่า พงศ์ยี่หล้า และ ปรีชา ชลวัฒนพงศ์. (2556). แผนการตลาดท่องเที่ยวเชิงเศรษฐกิจสร้างสรรค์ของจังหวัดชัยนาท สิงห์บุรี สระแก้วและสมุทรสาคร ในเขตภาคกลาง. (รายงานการวิจัย). มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.
อินทิรา ซาฮีร์. (2561). การขับเคลื่อนศิลปะและวัฒนธรรมเพื่อการพัฒนาเชิงพื้นที่ อำเภอเขมราฐ จังหวัดอุบลราชธานี. (รายงานการวิจัย). สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม.
ASEAN Secretariat. (2016). ASEAN Community Based Tourism Standard. Jakarta: The ASEAN Secretariat.
Gurel, M., & TAT, M. (2017). SWOT analysis: A Theoretical Review, The Journal of International Social Research, 10(51), 994-1006.
Hitt, M.A., Ireland, R.D., & Hoskisson. (2017). Strategic Management: Competitiveness and Globalization (Concepts and Cases). (8th ed.). Mason: South-Western Cengage Learning.
Yamane, T. (1973). Statistics: An Introductory Analysis. (3rd ed.). New York: Harper and Row.