การวิเคราะห์ความแตกต่างในคุณลักษณะของครูที่มีวิทยฐานะต่างกัน
Keywords:
ครู, บุคลากรทางการศึกษา, วิทยะฐานะAbstract
บทคัดย่อ การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับคุณลักษณะของครูเชี่ยวชาญ ครูชำนาญการพิเศษ ครูชำนาญการและครู 2) เปรียบเทียบคุณลักษณะของครูเชี่ยวชาญ ครูชำนาญการพิเศษ ครูชำนาญการและครู 3) ค้นหาคุณลักษณะของครูที่ทำให้เกิดความแตกต่างในครูทั้ง 4 ประเภท ที่สามารถจำแนกเป็นครูเชี่ยวชาญ ครูชำนาญการพิเศษ ครูชำนาญการและครู กลุ่มตัวอย่าง คือ ข้าราชการครูที่สอนในโรงเรียนประถมศึกษา โรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษาและโรงเรียนมัธยม ศึกษาในภาคตะวันเฉียงเหนือ สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวง ศึกษาธิการ จำนวน 320 คน แบ่งเป็น 4 ประเภท ประกอบด้วย 1) ครูเชี่ยวชาญ จำนวน 80 คน 2) ครูชำนาญการพิเศษ จำนวน 80 คน 3) ครูชำนาญการ จำนวน 80 คน 4) ครู จำนวน 80 คน ที่สอนในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2553 การเลือกกลุ่มตัวอย่างใช้ครูเชี่ยวชาญเป็นหลัก ซึ่งมีจำนวน 80 คน จากนั้นเลือกกลุ่มตัวอย่างครูประเภทอื่น ๆ ในโรงเรียนเดียวกันหรือโรงเรียนที่ใกล้เคียงกันในจังหวัดเดียวกันกับครูเชี่ยวชาญ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย เป็นแบบสอบถามวัดระดับคุณลักษณะของครู จำนวน 10 ตัวแปร ประกอบด้วย 1) แบบสอบถามวัดระดับความฉลาดทางอารมณ์ 2) แบบสอบถามวัดระดับคุณธรรมจริยธรรม 3) แบบสอบถามวัดระดับความเป็นผู้นำทางวิชาการ 4) แบบสอบถามวัดระดับการพัฒนาตนเอง 5) แบบสอบถามวัดระดับความมุ่งมั่นในความสำเร็จทางวิชาการ 6) แบบสอบถามวัดระดับแรงจูงใจใฝ่รู้ 7) แบบสอบถามวัดระดับเจตคติต่อวิชาชีพครู 8) แบบสอบ ถามวัดระดับการประดิษฐ์นวัตกรรมการสอน 9) แบบสอบถามวัดระดับความสามารถในการสอน 10) แบบสอบถามวัดระดับการบริการทางวิชาการ สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานและค่าสัมประสิทธิ์ ความแปรผันของระดับคุณลักษณะของครู 10 ประการ จำแนกตามแต่ละวิทยฐานะทั้ง 4 ประเภท คือ 1) ครูเชี่ยวชาญ 2) ครูชำนาญการพิเศษ 3) ครูชำนาญการ 4) ครู และวิเคราะห์เปรียบเทียบระดับ คุณลักษณะของครูที่มีวิทยฐานะต่างกันทั้ง 4 ประเภท ด้วยการวิเคราะห์ความแปรปรวน ทางเดียวของตัวแปรพหุคูณ (One way MANOVA) และวิเคราะห์ความแตกต่างระหว่างกลุ่ม (Discriminant Analysis)ผลการวิจัยพบดังนี้1. ครูเชี่ยวชาญมีคุณลักษณะของครู 9 ประการ ดังนี้ 1) คุณธรรมจริยธรรม 2) ความเป็นผู้นำทางวิชาการ 3) การพัฒนาตนเอง 4) ความมุ่งมั่นในความสำเร็จทางวิชาการ 5) แรงจูงใจใฝ่รู้ 6) เจตคติต่อวิชาชีพครู 7) การประดิษฐ์นวัตกรรมการสอน 8) ความสามารถในการสอน 9) การบริการทางวิชาการ ยกเว้นความฉลาดทางอารมณ์ สูงกว่าครู 3 ประเภท คือ ครูชำนาญการพิเศษ ครูชำนาญการและครู ครูทั้ง 3 ประเภท จะมีลักษณะน้อยกว่ากันและกันตามลำดับประเภทของครู ผู้มีตำแหน่งเป็นเพียงครูมีลักษณะของครู 9 ประการน้อยที่สุด ครูทั้ง 4 ประเภท มีระดับความฉลาดทางอารมณ์เท่ากัน คือ ระดับปานกลาง2. ตัวแปรที่แจกแจงครู 4 ประเภท มี 9 ตัวแปร ดังนี้ 1) คุณธรรมจริยธรรม 2) ความเป็นผู้นำทางวิชาการ 3) การพัฒนาตนเอง 4) ความมุ่งมั่นในความสำเร็จทางวิชาการ 5) แรงจูงใจใฝ่รู้ 6) เจตคติต่อวิชาชีพครู 7) การประดิษฐ์นวัตกรรมการสอน 8) ความสามารถในการสอน 9) การบริการทางวิชาการ ABSTRACT The purposes of this dissertation were 1) to study the level of characteristics of expertise teachers, academician specialist teachers, academician teachers, and teachers, 2) to compare the characteristics of expertise teachers, academician specialist teachers, academician teachers, and teachers, and 3) to find out the characteristics which discriminate four types of teachers : expertise teachers, academician specialist teachers, academician teachers, and teachers. The samples consisted of 320 teachers working in the elementary schools, opportunity extending schools, and secondary schools located in the northeast of Thailand under Office of The Basic Education Commission, Ministry of Education. The samples were divided into four categories : 80 expertise teachers, 80 academician specialist teachers, 80 academician teachers, and 80 teachers who worked in the second semester, during the academic year 2010. The samples were chosen by selecting 80 expertise teachers firstly, and then selected the other three types of teachers who had worked in the same school or in the same province with these 80 expertise teachers.The research instruments were the questionnaires for measuring ten characteristics of teachers which were 1) the questionnaire used for measuring the emotional quotient level of teachers, 2) the questionnaire used for measuring the moral level of teachers, 3) the questionnaire used for measuring the academic leadership level of teachers, 4) the questionnaire used for measuring the self-development level of teachers, 5) the questionnaire used for measuring the level of determination on academic achievement of teachers, 6) the questionnaire used for measuring the level of inquisitive motive of teachers, 7) the questionnaire used for measuring the level of attitude towards teaching profession, 8) the questionnaire used for measuring the level of teaching material innovation, 9) the questionnaire used for measuring the teaching ability level of teachers, and 10) the questionnaire used for measuring the level of public academic service of teachers. The researcher collected all the data by herself. The statistical methods used to analyze the data were mean, standard deviation, coefficient of variation, One way MANOVA, and Discriminant analysis.The research findings were as follows:1. The expertise teachers had more nine characteristics which were; 1) moral, 2) academic leadership, 3) self-development, 4) determination on academic achievement, 5) inquisitive motive, 6) attitude towards teaching profession, 7) teaching material innovation, 8) teaching ability, and 9) public academic service, except emotional quotient of teachers, than the other three types of teachers, which were academician specialist teachers, academician teachers, and teachers. The nine characteristics were found in these three types of teachers in the second, third, and fourth rank, respectively. The teachers had the nine characteristics of teachers at the least. All four types of teachers had the emotional quotient level at a moderate level.2. There were nine variables that discriminated the teachers into four types which were; 1) moral, 2) academic leadership, 3) self-development, 4) determination on academic achievement, 5) inquisitive motive, 6) attitude towards teaching profession, 7) teaching material innovation, 8) teaching ability, and 9) public academic service.Downloads
Issue
Section
Articles