การพัฒนารูปแบบการเรียนรู้แบบนำตนเองโดยใช้ปัญหาเป็นฐานในการสอนวิชาฟิสิกส์วิทยาศาสตร์ชีวภาพ

Authors

  • กาญจนา จันทร์ประเสริฐ
  • มานิต บุญประเสริฐ
  • พรรณราย ทรัพยะประภา.

Keywords:

การเรียนรู้ด้วยการนำตนเอง, การเรียนที่ใช้ปัญหาเป็นฐาน, ฟิสิกส์, การศึกษาและการสอน, อุดมศึกษา, วิทยาศาสตร์ชีวภาพ

Abstract

บทคัดย่อ         การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบการเรียนรู้แบบนำตนเองโดยใช้ปัญหาเป็นฐานในการสอนวิชาฟิสิกส์วิทยาศาสตร์ชีวภาพ และเพื่อวิเคราะห์ประสิทธิภาพของรูปแบบการเรียนรู้แบบนำตนเองโดยใช้ปัญหาเป็นฐานในการสอนวิชาฟิสิกส์วิทยาศาสตร์ชีวภาพ  กลุ่มตัวอย่างเป็นนักศึกษาชั้นปีที่ 1 จากวิทยาลัยแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต ปีการศึกษา 2553 การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงทดลองที่มีกลุ่มควบคุมและกลุ่มทดลอง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แผนการจัดการเรียนการสอน แบบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน แบบสำรวจความพร้อมในการเรียนรู้แบบนำตนเองและแบบสำรวจความพึงพอใจของผู้เรียน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน t-test และ one-way ANOVA การดำเนินการวิจัยแบ่งออกเป็น 3 ระยะได้แก่ ระยะที่ 1 พัฒนารูปแบบการเรียนรู้แบบนำตนเองโดยใช้ปัญหาเป็นฐานโดยนำทฤษฎีสรรคนิยมเป็นพื้นฐานในการพัฒนา ระยะที่ 2 ทดลองใช้รูปแบบที่พัฒนากับกลุ่มทดลองและใช้วิธีสอนแบบบรรยายกับกลุ่มควบคุม และระยะที่ 3 ประเมินประสิทธิภาพของรูปแบบที่พัฒนาโดยการเปรียบเทียบคะแนนหลังเรียนของกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมโดยทดสอบค่า t-test วิเคราะห์ค่าสหสัมพันธ์ระหว่างคะแนนหลังเรียนของกลุ่มทดลองกับค่าเฉลี่ยความพร้อมในการเรียนรู้แบบนำตนเอง และวิเคราะห์ค่าสหสัมพันธ์ระหว่างคะแนนหลังเรียนของกลุ่มทดลองกับค่าเฉลี่ยความพึงพอใจของผู้เรียนผลการวิจัยแสดงว่า1. รูปแบบการเรียนรู้แบบนำตนเองโดยใช้ปัญหาเป็นฐานในการสอนวิชาฟิสิกส์วิทยา ศาสตร์ชีวภาพที่พัฒนา มีองค์ประกอบ 4 ด้านได้แก่ 1) หลักการของรูปแบบ 2) วัตถุประสงค์ของรูปแบบ 3) กระบวนการจัดการเรียนการสอน ประกอบด้วย 8 ขั้น คือ (3.1) การเตรียมผู้เรียน (3.2) การเผชิญปัญหา (3.3) การวิเคราะห์ปัญหา (3.4) การวางแผนงาน (3.5) การสืบค้น (3.6) การสังเคราะห์ (3.7) การสรุป (3.8) การประเมินการเรียนรู้ และ 4) การประเมินผล2. ประสิทธิภาพของรูปแบบแสดงด้วยการทดสอบค่า t-test ของคะแนนหลังเรียนของกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมพบว่าแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.05 และจากการวิเคราะห์ค่าสหสัมพันธ์และทดสอบทางสถิติโดยใช้ one-way ANOVA ระหว่าง 1) คะแนนหลังเรียนของกลุ่มทดลองมีความสัมพันธ์กับค่าเฉลี่ยความพร้อมในการเรียนรู้แบบนำตนเองรายด้าน และ 2) คะแนนหลังเรียนของกลุ่มทดลองมีความสัมพันธ์กับค่าเฉลี่ยความพึงพอใจรายด้าน ABSTRACT        The purposes of this research were to develop an instructional model focusing on a self-directed learning process by using a problem-based learning approach in Life Science Physics and to study the effectiveness of this model. The subjects were first year students of College of Medicine, Rangsit University, academic year 2010. The research design was a true experiment using a control group and an experimental group. Research instruments were lesson plans, achievement tests, self-directed learning readiness (SDLR) scale and the questionnaire on learners’ satisfactions. Descriptive statistics, t-test, one-way ANOVA were used to analyze data. The research process was divided  into three phases; the first phase was development of  the instructional model  based on constructivism theory; the second phase was experiment of the instructional model focusing on a self-directed learning process by using a problem-based learning approach in Life Science Physics with the experimental group and the lecture method with the control group; and the third phase was analysis  of the effectiveness of the model  by comparing performance of students on the posttest between the experimental group and the control group by using t-test, analysis of the correlation between posttest achievement scores of the experimental group  and SDLR means , analysis of the correlation between achievement scores of the experimental group  and the  satisfaction questionnaire means.The findings were as follows:1.  An instructional model focusing on a self-directed learning process by using a  problem-based learning approach in Life Science Physics consisted of four components; 1) rationale of the instructional model  2) the objectives of the instructional model, 3) learning activity process which comprised eight steps. They were (3.1) introduction to the lesson, (3.2) study the problem, (3.3) analysis of the problem, (3.4) planning to solve the problem, (3.5) investigation, (3.6) synthesis, (3.7) conclusion, (3.8) assessment, and 4) evaluation.2. The analysis of the effectiveness of the model from the t-test showed that the posttest scores of the experimental group and the control group were significantly different at .05 level and the correlation between; 1) achievement scores of the experimental group and the SDLR means on each item were positive and 2) achievement scores of the experimental group and the means of the satisfaction levels on each item were positive by one-way ANOVA.

Downloads