รูปแบบการพัฒนาและการประเมินองค์การแห่งการเรียนรู้ของสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน

Authors

  • อนุชธิดา เซี่ยงฉี

Keywords:

การบริหารองค์ความรู้, การเรียนรู้องค์การ, โรงเรียน, การประเมิน

Abstract

บทคัดย่อ        การวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อพัฒนาและตรวจสอบความตรงของโมเดล องค์ประกอบและตัวบ่งชี้ที่ส่งผลต่อการเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ของสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน 2) เพื่อสร้างและศึกษาผลการใช้รูปแบบการพัฒนา และการประเมินองค์การแห่งการเรียนรู้ของสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย กลุ่มผู้บริหารสถานศึกษา ของโรงเรียนในฝัน จำนวน 400 คน สำหรับการตรวจสอบความตรงของโมเดล และกลุ่มผู้บริหารและครู จำนวน 10 คน ในโรงเรียนบ้านท้าวบุญเรือง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา เชียงใหม่ เขต 4 สำหรับการทดลองใช้รูปแบบ เครื่องมือวิจัยเป็นแบบสอบถาม รวม 3 ชุด มีค่าความเชื่อมั่นสูง การวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติบรรยาย และการวิเคราะห์ความสัมพันธ์โครงสร้างเชิงเส้น ผลการวิจัย สรุปได้ว่า 1) โมเดลการองค์ประกอบและตัวบ่งชี้ที่ส่งผลต่อการเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ของสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ประกอบด้วย 4 องค์ประกอบหลัก 13 องค์ประกอบย่อย และ 74 ตัวบ่งชี้ มีความตรงเชิงประจักษ์ 2) รูปแบบการพัฒนา และการประเมินองค์การแห่งการเรียนรู้ของสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน มีส่วนประกอบที่สัมพันธ์กัน 5 ส่วน ได้แก่ องค์ประกอบและตัวบ่งชี้สำหรับการพัฒนาและการประเมิน เป้าหมายของการพัฒนาและการประเมิน กระบวนการพัฒนา กระบวนการประเมิน และการให้ข้อมูลย้อนกลับเพื่อการพัฒนา ผลการทดลองรูปแบบ พบว่า ทุกองค์ประกอบมีผลการพัฒนาดีขึ้น ผู้เข้าร่วมทดลองรูปแบบส่วนใหญ่เห็นว่ารูปแบบมีประโยชน์ มีความเป็นไปได้ มีความเหมาะสม และมีความถูกต้อง อยู่ในระดับมาก และส่วนใหญ่มีเจตคติที่ดีมากต่อรูปแบบ ABSTRACT         The objectives of this research were 1) to develop and validate the model of factors and indicators affecting the learning organization of basic education schools, 2) to study the implementation results of the learning organization development and evaluation model. The research sample consisted of 400 exemplary district school (Lab school) administrators for the model validation, 13 experts for examining the model quality and appropriateness, and 10 administrator and teachers at the Thaobunruang school, Office of Chiang Mai Primary Educational Service Area 4 for the model implementation. The research instruments were 3 sets of questionnaires with high reliability. The data analysis used descriptive statistics and confirmatory factor analysis. The data analysis used descriptive statistics and confirmatory factor analysis. The research findings were as follows: 1) the model of factor and indicators affecting the learning organization of basic education schools, consisting of 4 principal factors, 13 sub-factors, and 74 indicators, was empirically valid; 2) the learning organization of basic education model consisted of 5 factors, namely: factors and indicators for development and evaluation, the development and evaluation target, the development process, the evaluation process, and the feedback for development. The model implementation results indicated that the development of all factors yielded better results. Most of the participants in the model implementation thought that the model was useful,feasible, appropriate and accurate, and had very high attitude towards the model.

Downloads